เมื่อวันเสาร์ที่ 21 พ.ย.ที่ผ่านมา มีการชุมนุมของกลุ่มนักเรียนเลว ซึ่งผู้ใหญ่หัวโบราณบางคนก็
ปรามาสว่า
“ก็คงจะดีแต่พูดเรื่องไม่ต้องสวมชุดนักเรียน อนุญาตให้ไว้ผมยาว หรือยกเลิกอะไรที่เคยเป็นระเบียบวินัย” บางคนก็แสดงความปริวิตกออกมาว่
า แล้วสังคมมันจะสับสนวุ่
นวายขนาดไหนถ้าสมมุติว่า
“วินัย” ที่ใช้ในการควบคุ
มความประพฤติของแต่ละคน แต่ละองค์กรถูก“แหก”เสียหมด มันก็อยู่ในภาวะไร้ระเบียบ เป็นอนาธิปไตย
เด็กนักเรียนบางคนก็สวนกลับว่า ช้าก่อน ไอ้เรื่องวินัยที่เราต้องการให้
มีการทบทวนคือ
“การใช้อำนาจกดดัน โดยไม่สามารถอธิบายถึงความจำเป็นได้ นอกจากการอ้างตรรกะของอำนาจผู้เหนือกว่าในการมาควบคุม ซึ่งบางเรื่องมันไม่เป็นธรรมกับเด็ก” พร้อมทั้งยกตัวอย่างพอเจ็บๆ แสบๆ ว่า หน่วยงานที่ธำรงวินัยเยอะที่สุ
ดนั่นแหละทำลายวินัยมากที่สุด คือทหาร เพราะกี่รอบมาแล้วล่ะที่
ทหารเคร่งวินัยออกมาฉีกรั
ฐธรรมนูญ
วินัย คือการที่คนเราถูกควบคุมร่างกาย หรือเราควบคุมตัวเองในระดับจิ
ตสำนึก นักสังคมศาสตร์สมัยก่อนอย่างมิ
เชล ฟูโกต์ เขาเปรียบเทียบกับคุก คือในคุกมีการตรวจตรานักโทษอย่
างไม่เป็นเวลา ทำให้นักโทษไม่กล้าฝ่าฝื
นกฎระเบียบที่มีการออกไว้เพื่
อควบคุม ประมาณว่าไม่รู้ละเมิ
ดตอนไหนจะโดนแจ็คพอต ...แต่ทีนี้ เรามาดูเรื่องวินัยแบบไทยๆ ในโรงเรียนที่กลุ่มนักเรี
ยนเลวเขาพูดกัน อันดับแรก กลุ่มนักเรียนเลวเขามองเรื่
องความเป็นคนที่เท่าเทียมกัน
เมื่อมีความเป็นคนที่เท่าเที
ยมกัน ทำไมวินัยถึงไม่ถูกกำหนดด้วยวิ
ธีที่เป็นประชาธิปไตยให้ได้รั
บการยอมรับ มันมีการเปลี่ยนแปลงได้ แต่กลับยึดถือกันมารุ่นต่อรุ่น สำหรับบางสถานศึกษากลายเป็
นบรรทัดฐานที่เคร่งครัดมาก วินัยที่นำมาบังคับใช้ถู
กกำหนดโดยผู้มีอำนาจ (ครู ฝ่ายปกครอง) เท่านั้น และไม่มีเหตุผลในการอธิ
บายอะไรให้ดีไปกว่า
“เพื่อความเรียบร้อย” คือไม่ใช่เหตุผลอันเป็นประโยชน์
ที่กลุ่มนักเรียนเลวยอมรับได้
เมื่อเกิดการให้อำนาจแก่ผู้มี
อำนาจในการกำหนดกฎเกณฑ์อะไรต่
างๆ สิ่งที่ตามมาคือการบังคับใช้วิ
นัยนั้นในการล่วงละเมิดสิทธิ
ในร่างกาย เป็นเรื่องน่าตกใจและน่
าสนใจมากว่า ทำไมกลุ่มนักเรียนเลวที่ออกมาจึ
งมีผู้หญิงเยอะกว่าผู้ชาย (จากภาพเห็นผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่) เพราะผู้หญิงถูกวินัยบงการในร่
างกายมากว่าชาย โดยบรรทัดฐานที่นำมาใช้ควบคุมวิ
นัยหญิงนั้นถูกกำหนดโดยบรรทั
ดฐานแบบชายเป็นใหญ่หรือปิตาธิ
ปไตย
สิ่งที่เป็นความน่าเจ็บแสบคือผู้
หญิงจำนวนหนึ่งสมยอมกับสิ่งที่
ปิตาธิปไตยกำหนดจนกลายเป็นจิ
ตใต้สำนึกไปแล้วว่านั่นคือสิ่
งที่ถูกต้อง..ในยุคหลังๆ กลุ่มเฟมินิสต์จึงต้องลุกขึ้นมา
“สอน” ผู้หญิงเหล่านั้นให้เคารพตัวเอง ให้ความสำคัญกับการที่คนอื่นต้
องเคารพตัวเอง ไม่ใช่พอเกิดอะไรขึ้นกับตั
วเองก็โทษว่าเป็นเพราะเราเองที่
ฝ่าฝืนบรรทัดฐานสังคม หรือเราเองต้องยอมรับถ้อยคำติฉิ
นนินทา หรือยอมรับวัฒนธรรมโทษเหยื่อที่
ยังคงมีอยู่
ในการชุมนุมของนักเรียนเลว เราได้เห็นสาวแว่นคนหนึ่งแต่งตั
วเป็นนักเรียน พร้อมเอาเทปกาวสีดำปิดปาก และชูป้ายทำนองว่า โรงเรียนไม่ใช่ที่ปลอดภัย เขาถูกล่วงละเมิดทางเพศในโรงเรี
ยน ...เป็นที่น่าขนลุกว่า เรื่องนี้แทนที่เราจะมองในเชิ
งมนุษยธรรม กลับถูกกลุ่มป้าย่ายายที่
ชอบโพสต์ธรรมะรายวัน โพสต์ข้อความถึงในทำนองโทษเหยื่
อว่า คงแต่งตัวยั่วยวนหรืออะไรต่อมิ
อะไรให้ต้องโดนล่วงละเมิดเอง นั่นคือการที่สมยอมกับความคิดปิ
ตาธิปไตย
เรายังไม่ต้องพูดถึงเรื่องขั้
วความคิดทางการเมืองที่แตกต่าง แต่พูดถึงแค่ความเห็
นใจในความเป็นเพศเดียวกัน มันก็น่าเศร้าแล้วที่ยังมีคนมี
ความคิดโทษเหยื่อ หรือทำให้เหยื่อรู้สึกด้อยค่า อย่างที่บอกคือ ความคิดเหล่านี้มาจากการที่
มองว่าเพศสรีระของผู้หญิงด้
อยกว่าผู้ชาย หรือผู้หญิงเป็นสมบัติของผู้ชาย ทำให้มีการกำหนดกฎเกณฑ์อะไรที่
จะประเมิน “ผู้หญิงดี” ขึ้นมาโดยผู้ชาย ( ถ้ายกตัวอย่างคลาสสิคที่สุ
ดในไทยก็สุภาษิตสอนหญิงของสุ
นทรภู่นั่นแหละ)
การที่เหยื่อสักคนลุกขึ้นมาส่
งเสียง ประกาศว่า เราไม่ได้ด้อยคุณค่า เราต้องเคารพตัวเอง และคนอื่นต้องเคารพเราด้วย (ตามแคมเปญ don’t tell me how to dress) มันเป็นสิ่งที่ผู้หญิงควรจะคิด เข้าใจ และเห็นอกเห็นใจกัน พร้อมทั้งสร้างพลังบวกต่อกั
นและกัน ต่อต้านการใช้อำนาจที่ล่วงละเมิ
ดในเรือนร่าง เช่นครูที่ลงโทษโดยดึงสายเสื้
อในนักเรียนที่ไม่ใส่เสื้อคลุ
มทับ หรือครูที่หาช่องละเมิดทางเพศนั
กเรียนหญิง เพื่อสร้างโรงเรียนให้เป็นพื้
นที่ปลอดภัยจริงๆ
เรื่องการล่วงละเมิ
ดทางเพศในโรงเรียนนั้น ทาง
นางมุกดา พงษ์สมบัติ ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานกรรมาธิการ (กมธ.) กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ สภาผู้แทนราษฎร ระบุว่า กมธ.จะไม่ปล่อยผ่านเรื่องนี้
แน่นอน กมธ. ได้รับการร้องเรียนปัญหาความรุ
นแรงในสถานศึกษาจำนวนมาก และมีการพิจารณาในเรื่องดังกล่
าวมาอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่
น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ เปิดเผยว่า กระทรวงศึกษาธิการได้เปิดศูนย์
คุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียนนั
กศึกษาซึ่งถูกล่วงละเมิดทางเพศ (ศคพ.) เพื่อแก้ปัญหาการล่วงละเมิ
ดทางเพศในสถานศึกษา โดยดำเนินการขั้นเด็ดขาดกับข้
าราชการครูและบุคลากรทางการศึ
กษาในสังกัดที่กระทำผิด และเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกระทำได้
ร้องเรียน ผ่านขั้นตอนที่รวดเร็วและมี
ประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 3 มาตรการ คือ
1.มาตรการด้านการป้องกัน ให้สถานศึกษาดูแลนักเรียน นักศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา และสภาพแวดล้อมในโรงเรียนไม่ให้
เอื้อต่อการล่วงละเมิ
ดทางเพศและการกระทำผิดอื่นๆ 2.มาตรการด้านการปราบปราม หากมีการร้องเรียนการล่วงละเมิ
ดทางเพศในสถานศึกษา ให้เขตพื้นที่สั่งย้ายผู้ถูกกล่
าวหาไปประจำเป็นการชั่วคราว และแต่งตั้
งคณะกรรมการตรวจสอบให้แล้วเสร็
จภายใน 24 ชั่วโมง
เมื่อพบว่ามีมูลความจริง ให้ตั้งกรรมการวินัยร้
ายแรงและให้ผู้กระทำผิ
ดออกจากราชการไว้ก่อน แล้วรายงานต่อหน่วยงานตันสังกัด และ ศคพ. เพื่อเสนอพักใช้ใบอนุ
ญาตประกอบวิชาชีพของผู้กระทำผิ
ดเป็นการชั่วคราว นอกจากนี้ยังเร่งรัดให้เร่งรั
ดให้มีการดำเนินการทางวินั
ยควบคู่กับการดำเนินการด้านคดี
อาญา 3 มาตรการด้านการคุ้มครองและช่
วยเหลือนั้น กำหนดให้สถานศึกษาต้
องประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้
องเข้ามาช่วยเหลือเยียวยาผู้ถู
กกระทำอย่างรวดเร็ว
สำหรับนักเรียนหรือผู้ปกครอง สามารถโทรแจ้งเหตุ ที่
ศูนย์ ศคพ. โทร.02-007-0001 หรือ
สายด่วนการศึกษา โทร.1579 นี่คือสิ่งที่เราต้องรู้กันไว้
บ้าง ทั้งพ่อแม่ เด็กเอง ไม่ใช่การยอมรับในการใช้
อำนาจในโรงเรียนแล้วทนต่อการล่
วงละเมิดเพราะความกลัวเรื่
องอะไรต่างๆ มันยังมีอีกหลายเรื่องที่จะต้
องพูดถึงการรื้อวินัยที่ไม่เป็
นธรรม ไปจนถึงกำหนดเรื่องการปฏิรู
ปการศึกษาอย่างไรก็ตามให้เกิ
ดการกระจายทรัพยากรไปยังภูมิ
ภาคให้ทั่วถึง ไว้จะพูดถึงต่อไป
น่าดีใจที่กลุ่มนักเรียนเองลุ
กขึ้นมาพูด ด้วยหัวใจที่อยากพัฒนาการศึกษา พื้นที่โรงเรียน ผู้ใหญ่ก็ต้องรับฟัง.
..........................................
คอลัมน์ : ที่เห็นและเป็นอยู่
โดย "บุหงาตันหยง"