เรื่องนิคมอุตสาหกรรมจะนะ จ.สงขลา คงเป็นเรื่องที่หลายคนรับรู้ผ่
านหูผ่านตามาแล้วว่า มีการประท้วงไม่ให้ตั้
งโครงการเพราะเหตุผลต่างๆ อาทิ
ผลกระทบต่อวิถีชีวิตชาวบ้านดั้งเดิม หรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งล่าสุด ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ได้
มีการสั่งให้ทบทวน โดยให้ศูนย์อำนวยการบริหารจั
งหวัดชายแดนภาคใต้ ( ศอ.บต.) ทบทวนร่วมกับสำนักงานสภาพั
ฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ( สศช.)
เรื่องของนิคมอุ
ตสาหกรรมจะนะเป็นอย่างไร ได้ลองพูดคุยกับ
พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต.คนปัจจุบันถึงสิ่งที่
จะดำเนินการและเป้าหมาย เลขาธิการ ศอ.บต.ได้เล่าว่า "จุดเริ่มต้
นของโครงการมาจากความพยายามในกา
รแก้ปัญหาเศรษฐกิจในภาคใต้ ซึ่งเป็นโครงการที่ออกมาเมื่อปี พ.ศ.2557 ที่จะให้เขตภาคใต้มี
เขตสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยังยืน เพื่อดึงดูดการลงทุนในพื้นที่ โดยเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2559 ครม.มติให้ขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิ
จในพื้นที่ภาคใต้ที่ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ในเรื่องเกษตรอุตสาหกรรมก้าวหน้
า ที่ อ.เบตง จ.ยะลา ในเรื่องท่องเที่ยว และที่ อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ในเรื่องการค้าชายแดนระหว่
างประเทศ ซึ่งพื้นที่เศรษฐกิจเหล่านี้ จะให้มีสิทธิพิเศษด้านการลงทุน”
“หลังจากนั้นก็ว่ากันว่า ต้องมีการเชื่อมโยงการพั
ฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ไปจนถึงช่
วงรอยต่อระหว่างภาคใต้ตอนล่างกั
บภาคใต้ตอนกลางและตอนบน
ส่วนที่เป็นรอยต่อสำคัญคือ อ.จะนะ และ อ.เทพา จ.สงขลา จึงวางกรอบให้พื้นที่ตรงนั้นเป็
น
‘เมืองอุตสาหกรรมอนาคต’ ซึ่
งจะส่งเสริมการประกอบอุ
ตสาหกรรมใหม่ให้เหมือนระเบี
ยงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ( อีอีซี ) เพื่อบรรลุเป้าหมายตามเกณฑ์
การบริหารพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ 5
จังหวัด ที่รวมถึงสงขลาและสตูลด้วย”
พล.ร.ต.สมเกียรติระบุว่า “ความจำเป็นที่ต้องพัฒนาพื้นที่
ตรงนี้ก็
เพื่อการรองรับเยาวชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่จบมาเขาจะได้ทำงานในพื้นที่
ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของเขา เรามีการคาดการณ์ว่า ค่าเฉลี่ยเยาวชนที่จบตั้งแต่
ระดับ ปวช.ถึงปริญญาโทในพื้นที่ต่อปี 5-6 หมื่นคน พวกเขาเหล่านี้ไม่อยากทิ้งถิ่
นฐานของตัวเอง แต่ก็ต้องมาทำงานที่ กทม.หรือไม่ก็ไปทำงานที่มาเลเซี
ย ซึ่งเราอยากให้เกิดการจ้
างงานในพื้นที่มากกว่าเพราะใน
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นี่มีปั
ญหาเรื่องความยากจนมาก ต้องมีการ
ช่วยกันคิดโครงการให้เกิดพื้นที่จ้างงาน”
“มันจึงมีความคิดในปลายปี พ.ศ.2561 ที่ ศอ.บต.จะขยับการพัฒนาเมืองข้
างเคียง 3 จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาสออกไป ซึ่งต้องบอกว่า ศอ.บต.ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติโดยตรง แต่เป็นผู้เตรียมการเรื่องการจั
ดทำแผนดำเนินการเกี่ยวกับพื้นที่
ที่เหมาะสม เรื่องนิคมอุตสาหกรรมจะนะดำเนิ
นการอย่างไร จะขึ้นอยู่กับมติ
ของคณะกรรมการที่ปรึกษาและบริ
หารเมืองอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และต่อมานายกฯ ได้มอบหมายให้
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ เข้ามาช่วยดูแล และค่อยๆ ขับเคลื่อนมาตั้งแต่ปลายเดื
อนพฤศจิกายนปี พ.ศ.2563 โดยต้องมีการประชุ
มหารือกำหนดทิศทางว่าจะต้องมี
การใช้พื้นที่อย่างไร แต่ยืนยันว่าเราไม่ทิ้ง
เรื่องการสำรวจผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ( EIA ) และ
ผลกระทบต่อทั้งสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ( EHIA ) เป็นสิ่งที่สำคัญมาก”
เมื่อถามว่าขณะนี้กระบวนการอยู่
ในชั้นไหน พล.ร.ต.สมเกียรติระบุว่า จ
ะต้องมีการปรับเรื่องผังเมืองก่อน โดยองค์กรบริหารส่วนจังหวัด ( อบจ.) ในพื้นที่ที่จะต้องเสนอไปยั
งกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทยเป็นอันดับแรก กระบวนการผังเมืองมีทั้งหมด 8 ขั้
นตอนซึ่งยังอยู่ในช่วงต้นๆ และยังมีคณะกรรมการชุดที่เกี่
ยวข้องพิจารณาเรื่
องความเหมาะสมอีกหลายขั้น ที่สำคัญที่ขาดไม่ได้คือ
การรับฟังความเห็นของคนในพื้นที่
คำถามต่อมาคือ
ถ้าสร้างนิคมอุตสาหกรรมจะนะแล้วจะได้อะไร พล.ร.ต.สมเกียรติชี้ชัดว่า คือการพัฒนาอุตสาหกรรม
“ โครงการนี้รัฐบาลจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เอกชนเข้ามาลงทุนและจ้างงาน ภาคเอกชนเองก็มีหลายทิศทาง เอกชน 1-2 รายที่สนใจในโครงการ เขาต้องการลงทุนเรื่
องอาหารฮาลาลครบวงจรที่ทันสมัย อีกเจ้าก็ต้องการลงทุนเรื่
องเทคโนโลยีอุปกรณ์สื่อสารสมั
ยใหม่ รวมถึงเรื่องเทคโนโลยีพลั
งงานหมุนเวียน พลังงานสะอาดอย่างพลั
งงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานจากก๊าซธรรมชาติที่ไม่มี
การกลั่นปิโตรเคมี
เรื่องนี้มีมติคณะรัฐมนตรี ( ครม.) รองรับไว้อยู่แล้วว่าจะทำอะไรนอกเหนือจากมติไม่ได้ จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ได้”
“และ
งานที่สำคัญคือท่าเรือน้ำลึก ซึ่งปัญหาในภาคใต้คือเรายังไม่
มีท่าเรือน้ำลึก
เรามีท่าเรือสงขลาเป็นท่าเรือกลาง แต่มันมีขนาดเล็กไม่เพียงพอต่อการขนส่งในปัจจุบัน มันกลายเป็นว่า การผลิตสินค้าอะไรก็ตามในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างเฟอร์นิเจอร์นี่ เราต้องใช้รถไฟขนไปยังแหลมฉบั
งเพื่อนำไปขายต่อ หรือไม่ก็ต้องขนส่งไปท่าเรือปี
นัง ประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีอัตราการขนส่งมหาศาล การที่ยังไม่มีท่าเรือน้ำลึ
กทำให้เราไม่มีการขนส่งผ่านเรื
อเดินสมุทรไปข้ามทวีปก็มี
ผลกระทบ อย่างที่
เราลงทุนนิคมเมืองยางพาราหรือ Rubber city ปรากฏว่ามันขยับขยายไปได้ลำบากเพราะนักลงทุนก็ถามว่าจะส่
งออกอย่างไร
จะส่งตู้คอนเทนเนอร์ออกผ่านท่าเรือที่ปีนังก็แพง หรือกระทั่งแหลมฉบังก็ตาม แต่พื้นที่ที่เรากำหนดไว้ว่
าจะเป็นท่าเรือน้ำลึกในจะนะมั
นเหมาะสมเพราะความลึกของน้ำทะเล และความลาดชันก็เหมาะสม ก็จะช่วยตรงนี้ได้”
เมื่อถามถึงกรณีที่มี
การชะลอการศึกษาเรื่องนิคมอุตสาหกรรมจะนะออกไปก่อน เลขาธิการ ศอ.บต.ระบุว่า “เป็นการสั่งให้ศึกษาเกิ
ดความสมบูรณ์ของแผนงานที่สุด ก่อนที่จะเดินหน้าเรื่องผังเมื
องและเดินหน้าเรื่
องการสำรวจ
ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ( EIA ) ผลกระทบทางสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ และศึกษาว่าหน่วยงานที่ต้องเข้
ามาช่วยส่งเสริมการลงทุนมี
อะไรบ้าง ควรจะมีองค์กรเฉพาะเหมือนกรณีอี
อีซีเพื่อช่วยส่งเสริมการลงทุ
นอย่างไร นิคมอุตสาหกรรมจะนะนี่เราต้
องทำรอบคอบ ตามมาตรา 10 ใน พ.ร.บ.บริหารราชการจังหวั
ดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 แถมยังต้องผ่านความเห็
นชอบของคณะกรรมการพัฒนายุ
ทธศาสตร์ชายแดนภาคใต้อีก ที่มีกระทรวงและหน่วยงานต่างๆ
17 หน่วยงานต้องเห็นชอบ เรียกว่าเป็น ครม.ย่อมๆ เลยก็ได้ และ พล.อ.ประวิตรก็ย้ำให้ต้องทำอย่
างรัดกุม”
“การพัฒนาในพื้นที่นี้
เราสนับสนุนให้เอกชนเข้ามาลงทุน โดยรัฐอำนวยความสะดวก และระหว่างนี้ ศอ.บต.ก็ไม่ได้นิ่งเฉย เราศึกษาเรื่องระบบคมนาคมขนส่
งเพื่อเชื่อมโยงการขายสินค้
าในภาคใต้ด้วย เรื่องปัญหาเกี่ยวกับผลกระทบต่
อทรัพยากรธรรมชาติ ก็ยืนยันว่า
เราต้องให้คนในพื้นที่เข้ามาช่วยคิด ช่วยขับเคลื่อนด้วย ไม่ใช่ไม่ให้เขาไม่มีส่วนหรือไม่รับฟังความเห็นเขาเลย แต่เราห่วงปัญหาที่มีคนต่างจั
งหวัดเข้ามาแสดงท่าทีจนการแก้ปั
ญหาความยากจนในพื้นที่ชะงักไป อย่าลืมว่า การพัฒนาพื้นที่นี่ต้องมี
แนวทางที่หลากหลายเพื่อแก้ปั
ญหาความยากจน
เราเน้นแต่เรื่องการเกษตรไม่ได้ เพราะความแปรปรวนของสภาพธรรมชาติ
ทำให้การเกษตรไม่เสถียร อย่างปีก่อน ลองกองก็ออกได้ไม่ถึง 23,000 ตั
น หรือปีนี้ก็เกิดปัญหายางพาราติ
ดโรคใบร่วงกว่า 800,000 ไร่ เราต้องพัฒนาเศรษฐกิจโดยยึดขาอื่
นเช่นอุตสาหกรรมในพื้นที่ด้วย และที่สำคัญคือมันช่วยจ้
างงานให้คนในพื้นที่ เราอยากเห็นเยาวชนในพื้นที่มี
งานทำ แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำได้”
ส่วนที่ว่าหากก่อตั้งนิคมได้
จะมีประโยชน์ในเชิงเม็ดเงินอย่
างไรนั้น พล.ร.ต.สมเกียรติยังไม่ประเมิ
นเรื่องนี้ แต่บอกว่า ขอให้เน้นย้ำ
เป้าหมายที่สำคัญคือการเพิ่มการจ้างงานในพื้นที่ การที่ผลผลิ
ตการเกษตรสามารถแปรรูปขั้นสุดท้
ายในพื้นที่และส่งขายได้เลยไม่
ต้องส่งไปท่าเรืออื่น และเพิ่มอำนาจการแข่งขันได้
“ไม่ว่าอย่างไร กระบวนการขับเคลื่อนมันเป็นขั้นตอนและขอให้มั่นใจว่าทุกคนจะมีส่วนร่วม เพราะเขาต้องอยู่ในพื้นที่ ใช้ประโยชน์พื้นที่ ดังนั้นจึงต้องวางจุดสมดุลที่สุด และพัฒนาเพื่อพื้นที่ได้มากที่สุด” เลขาธิการ ศอ.บต.ทิ้งท้าย
ซึ่งขณะนี้นิคมอุ
ตสาหกรรมจะนะกำลังอยู่ในระหว่
างการชะลอเพื่อศึกษาเรื่
องความคุ้มทุนหรือเรื่
องผลกระทบต่างๆ นี่คืออีกมุมมองหนึ่
งของคนทำงานในพื้นที่ที่หวั
งจะให้เกิดการพัฒนาเพื่อแก้ปั
ญหาความยากจน นำมาเสนอให้ทราบ.
...................................
คอลัมน์ : ที่เห็นและเป็นอยู่
โดย “บุหงาตันหยง”