จากกรณีที่ ทนายเดชา กิตติวิทยานันท์ แถลงปมโทรศัพท์มือถือแตงโม ว่าคุณแม่ของแตงโม ยอมรับเป็นคนส่งโทรศัพท์ของลูกสาวให้ บังแจ็ค ถึงสหรัฐอเมริกา และบังแจ็ค คือมือปริศนาที่โพสต์ภาพและข้อมูลแตงโมในเฟซบุ๊กและอินสตาแกรมของแตงโม จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงไปนั้น

ล่าสุดเมื่อวันที่ 26 พ.ค. ทนายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ ได้ออกมาแสดงความเห็น ระบุว่า “สงสัยรอบนี้แม่จะติดคุกเองแล้วมั้งเนี่ย เอาโทรศัพท์ของลูกตัวเองไปให้คนอื่นโพสต์ แล้วเป็นรูปภาพลับ ภาพส่วนตัวของลูกสาว รอบนี้โยนความผิดให้คนอื่นไม่ได้แล้ว จะรับผิดชอบยังไงกับชีวิตลูกสาวตัวเอง ตายไปแล้วแต่ชื่อเสียงเขาอาจจะพังเพราะเรื่องนี้ก็ได้”

จะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม แต่เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่าคุณแตงโมเกิดความเสียหาย ถึงแม้จะตายไปแล้วก็ตาม ถ้าว่ากันตามกฎหมาย สามารถเอาผิดได้อยู่แล้ว แม่เป็นแม่ตามกฎหมาย จะเลี้ยงหรือไม่ก็เป็นคนคลอดออกมา มีสิทธิทุกประการอยู่แล้ว เป็นคนตัดสินใจเพียงคนเดียว ว่าจะใช้กฎหมายเอาผิด

ทั้งนี้ สำหรับ “วิธีป้องกันแม่ไม่ให้เอามือถือเราไปขายแลกเงินแสน หลังจากเราตาย คือทำพินัยกรรม” ถ้าไม่ได้ทำพินัยกรรมทรัพย์มรดกจะตกทอดแก่ทายาท ดังนี้
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1599 เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท วรรคสอง ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น
มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่ง ต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรส (จดทะเบียนสมรส) ที่ยังมีชีวิตอยู่ก็ถือว่าเป็นทายาทโดยธรรม..

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก @ทนายคู่ใจ