จากกรณีที่ ประชุม ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับ ไปแล้วเรียบร้อยนั้น

หลายๆคนอาจจะยังเกิดความสับสนว่า แท้ที่จริงแล้ว พ.ร.บ.คู่ชีวิต กับ การเรียกร้องให้เป็น “สมรสเท่าเทียม” มีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร?

สำหรับร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ. …. จะมีการเน้นไปที่การให้สิทธิและหน้าที่คู่ชีวิต เช่น
1.หน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน
2.อำนาจจัดการแทนผู้เสียหายในคดีอาญาเช่นเดียวกับสามีหรือภริยา
3.สิทธิรับบุตรบุญธรรมร่วมกัน
4.สิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม
5.สิทธิและหน้าที่ในการเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ หากอีกฝ่ายเป็นคนไร้ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
6.สิทธิเซ็นยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่าย
7.สิทธิจัดการศพ

แต่ส่วนที่การมีการเรียกร้องให้แก้เป็น “สมรสเท่าเทียม” จะเน้นไปที่การให้สิทธิเทียบเท่ากับคู่สมรสตามกฎหมาย ซึ่งจะมีการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิข้าราชการ, การรับผลประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม รวมไปถึงการมอบของหมั้นให้แก่กันอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม สำหรับ “พ.ร.บ.คู่ชีวิต” ได้เกิดกระแสวิพากษณ์วิจารณ์ออกมาจากเหล่า LGBTQ+ ว่าจริงๆแล้วอยากให้ พ.ร.บ.คู่ชีวิต นั้นปรับเป็น สมรสเท่าเทียมมากกว่า เพื่อให้ได้สิทธิต่างๆ เท่าเทียมกันเหมือนกับคู่หญิงชายทั่วไป หากมีการจดทะเบียนกัน เพราะมองว่าเป็นเรื่องของสิทธิของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเพศไหน ก็ควรได้รับสิทธิเท่าเทียมกันอีกด้วย..