เมื่อวันที่ 15 ก.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า www.royaloffice.th ได้เปิดเผยข้อมูลการขุดพบประติมากรรมหินสลัก ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง

เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 ในการปรับปรุงเส้นทางเข้าชมภายในพระบรมมหาราชวัง บริเวณประตูมณีนพรัตน์ไปยังประตูสวัสดิโสภา ระหว่างการดำเนินการปรับปรุงก่อสร้าง ได้ขุดพบประติมากรรมหินสลักจำนวนมาก จึงได้ทำการเปิดการขุดค้นทางโบราณคดี จากหลักฐานพบว่าเป็นประติมากรรมรูปบุคคลหลากหลายเชื้อชาติ และสัตว์ในเทพนิยาย ซึ่งจารึกที่พบบนประติมากรรมหินสลักบางตัว ระบุเป็นภาษาจีน ว่าทำที่มณฑลกวางตุ้ง มณฑลกวางโจว

การขุดค้นทางโบราณคดี

จากการสืบค้นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ในเบื้องต้นพบว่า ประติมากรรมหินหลักเหล่านี้ปรากฏในภาพถ่ายเก่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดับตกแต่งอยู่โดยรอบพระอารามและมีการโยกย้ายในรัชสมัยต่อๆ กันมา ซึ่งมีหลักฐานจากภาพที่ตีพิมพ์ในหนังสือทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ภาพถ่ายเก่าภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ที่มา : Joachim K. Bautze,
Unseen Siam Early Photography 1860 – 1910,
River Books, 2016. p 142.
ภาพถ่ายปัจจุบันภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการอนุรักษ์ซ่อมแซมประติมากรรมหินสลัก และนำมาประดับในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม บริเวณตำแหน่งเดิมหรือใกล้เคียงตามหลักฐานที่ปรากฏ

ฮือฮา! ขุดพบ ‘ตุ๊กตาหินโบราณ’นับ100ตัว สร้างสมัยร.5อายุกว่า100ปี

ขอบคุณข้อมูล-ภาพ www.royaloffice.th