สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร เตือนเกษตรกรระวัง โรคเน่าเละ (เชื้อแบคทีเรีย Pectobacterium carotovorum subsp. carotovorum) Pectobacterium carotovorum subsp. carotovorum ในผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด (เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี ผักกาดขาว ผักกาดหัว ผักฮ่องเต้ ผักหางหงษ์ ผักกวางตุ้ง คะน้า เป็นต้น)

สภาพอากาศในช่วงนี้มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด (เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี ผักกาดขาว ผักกาดหัว ผักฮ่องเต้ ผักหางหงษ์ ผักกวางตุ้ง คะน้า เป็นต้น) ในระยะ ทุกระยะการเจริญเติบโต รับมือโรคเน่าเละ (เชื้อแบคทีเรีย Pectobacterium carotovorum subsp. carotovorum)

อาการเริ่มแรก แผลมีลักษณะเป็นจุดฉ่ำน้ำเล็ก ๆ บนใบหรือบริเวณลำต้น ต่อมาแผลจะขยายลุกลามมีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลเข้ม เนื้อเยื่อพืชบริเวณแผลจะยุบตัวลง มีเมือกเยิ้มออกมา และมีกลิ่นเหม็นเฉพาะของโรคนี้ หลังจากนั้นพืชจะเน่ายุบตายไปทั้งต้นโรคนี้พบระบาดมากในฤดูฝน เชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคสามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของพืช ทั้งที่อยู่ในแปลงปลูกและในโรงเก็บ

สำหรับแนวทางป้องกัน/แก้ไข  1. ควรเลือกพื้นที่ปลูกที่ไม่เคยมีการระบาดของโรคนี้มาก่อน และมีการระบายน้ำที่ดี 2. ก่อนปลูกพืชควรไถพรวนดินให้ลึกมากกว่า 20 เซนติเมตรจากผิวดิน และตากดินไว้นานกว่า 2 สัปดาห์ จะช่วยลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรคในดินลงได้มาก 3. ไม่ควรปลูกพืชแน่นเกินไป เพื่อไม่ให้มีความชื้นสูง เป็นการลดการระบาดของโรค 4. ระมัดระวังไม่ให้ส่วนต่าง ๆ ของพืชเกิดแผล เป็นช่องทางให้เชื้อสาเหตุโรคเข้าทำลายพืช

5. ควรดูแลไม่ให้พืชขาดธาตุแคลเซียม และโบรอน เพราะจะทำให้พืชเกิดแผลจากอาการปลายใบไหม้และไส้กลวง ทำให้เชื้อสาเหตุโรคเข้าทำลายได้ง่าย 6. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นที่แสดงอาการของโรค ให้ขุดต้นที่เป็นโรคนำไปทำลายนอกแปลงปลูก 7. ทำความสะอาดเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการเกษตรหลังใช้กับต้นที่เป็นโรค 8. หลังการเก็บเกี่ยว ควรไถกลบเศษพืชผักทันที และตากดินไว้ระยะหนึ่งแล้วไถกลบอีกครั้ง เพื่อลดการสะสมของเชื้อสาเหตุโรค 9. แปลงที่มีการระบาดของโรค ควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และข้าวโพด เป็นต้น