เมื่อวันที่ 5 ส.ค. ที่ เอ็มซีซีฮอลล์ ช้ัน 3 ห้างฯ เดอะมอลล์ จ.นครราขสีมา นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ประธานพรรคชาติพัฒนา อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงานมหกรรมการเงินโคราช ครั้งที่ 16 “Money Expo Korat 2022” โดยระบุว่าการจัดงานมหกรรมการเงินโคราช ครั้งที่ 16 “Money Expo Korat 2022” ภายใต้แนวคิด “Wealth to Wellness” ต้องขอบคุณที่ได้มาช่วยดูแลเศรษฐกิจและกระตุ้นเศรษฐกิจ และนำความรู้และสินเชื่อความรู้และสภาพคล่องต่างๆ มาช่วยนักธุรกิจ ผู้ประกอบการ SME และชาวเกษตรกร สืบเนื่องแล้ว 15 ปี และปีนี้เป็นปีที่ 16 ไม่เฉพาะชาวโคราช แต่มีพี่น้องประชาชนในจังหวัดใกล้เคียงก็มาเป็นจำนวนมากซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจและปีนี้ถือว่าเป็นปีที่มีความสำคัญ เป็นปีของ Wealth to Wellness ซึ่งมีความผันผวนทางด้านเศรษฐกิจของโลกอย่างไม่เคยมีมาก่อน เหมือน Perfect Storm พายุลูกใหญ่ๆ เศรษฐกิจโลกเข้ามาแล้วมากระทบต่อประเทศไทยรุนแรงมาก เราจะต้องติดตามผลกระทบกัน 2 ปีกว่า เราคิดว่าลองโควิดจะ 5-6 เดือน นี่ก็ลาก 2 ปีครึ่ง ตอนนี้ยังไม่จบ ทำให้เกิดการใช้จ่ายของประเทศทั่วโลก เพื่อที่จะมาต่อสู้โควิดเพื่อมีการใช้จ่ายเยอะก็มีการกู้เงิน และมีมาตรการต่างๆ เพื่อให้มีสภาพคล่อง ก็ได้มีการกู้เงินมาก ก็เลยเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อ (demand-pull inflation) ใช้จ่ายเงินเยอะ กู้เงินกันเยอะ ทั่วโลก บางประเทศ 100% ของ GDP

แต่ประเทศไทยเรา 60 % ของ GDP เพื่อที่จะเอาโควิดให้อยู่ และไม่ใช้เงินเฟ้อจากโควิดอย่างเดียวที่เผชิญ มีเงินเฟ้อจากสงครามยูเครน-รัสเชีย ที่ทำให้เกิดปัญหาพลังงาน ทำให้แก๊ซ น้ำมันราคาพลังงานสูงขึ้นมาก ผลผลิตทางด้านการเกษตรอาหาร อย่างข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต กว่า 30% ของโลกต้องหยุด หรือพวกโปแตชที่ผลิต 60% ของโลกที่มาทำปุ๋ย ทำให้ปุ๋ย ราคาแพง อย่างข้าวโพด ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ผลกระทบเรื่องอาหารแพงก็ตามมาอีก และห่วงโซ่ของการผลิตก็ตามมาอีก ปัญหาต่างๆ เลยทำให้เกิดเงินเฟ้อสินค้าราคาแพง หรือเรียกว่า cost-push inflation ทำให้เกิดเงินเฟ้อที่รุนแรงขนาดนี้

อย่างสหรัฐอเมริกา ตอนนี้เกิดเงินเฟ้อ 9% กว่า ในรอบ 40 ปีของสหรัฐอเมริกา ยุโรปเกือบ 8% ตั้งแต่มีเงินยูโร ประเทศไทยตอนนี้ประมาณ 7.6% โลกทั้งโลกตอนนี้ประมาณ 8% แล้วยังมาเจอดอกเบี้ยแพงอีก ก็เป็นเรื่องปกติ เป็นการแก้ไขเงินเฟ้อ ในนโยบายการขึ้นดอกเบี้ย เพื่อดึงเงินกลับ ก็ทำให้นักลงทุนดึงการลงทุน ไปลงทุนที่เงินดอลลาร์ ซึ่งค่อนข้างที่จะปลอดภัยเป็นเงินที่ใช้กับการค้ามากว่า 40-50% และมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ 60% เมื่อมีภาวะดอกเบี้ยแพงก็มีการย้ายการลงทุนไปที่เงินดอลลาร์ จะเห็นว่าเงินดอลลาร์จะเข็งมาก ตอนนี้ดอลลาร์ 1 เท่ากับ 36 บาท ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยบางประเทศเล็กๆ มีปัญหาล้มละลาย GDP แต่ละประเทศ ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย อย่างสหรัฐอเมริกา GDP ถดถอยมาแล้ว 2 ไตรมาส วันนี้โลกอยู่ในภาวะที่ไม่ดี และตอนนี้ยังห่วงเรื่องสถานการณ์ไตหวันกับจีน ไม่รู้ว่าจะเป็น storm พายุทางเศรษฐกิจอีก 1 ลูกหรือเปล่า ที่จะมาทำให้เกิดภาวะไม่แน่นอนหรือเปล่ากับเศรษฐกิจของโลก

นายสุวัจน์ กล่าวว่า เราเป็นส่วนหนึ่งของโลก เมื่ออะไรเกิดขึ้นกับโลกก็เกิดกับไทย เราจะได้รับผลกระทบอย่างมากแน่นอน เราต้องดึงเงินมาใช้จ่ายเยอะ ตอนนี้ 60% ของGDP และหนี้ครัวเรือนก็ค่อนข้างจะสูง GDP ปีนี้อาจจะประมาณ 3% หรืออาจจะไม่เป็นไปตามเป้าหมาย โควิด 2 ปีก่อน GDP ติดลบ 6% ปีที่แล้วบวก 1.5% ปีนี้ขยับมาหน่อย ค่าเฉลี่ยเราก็ยังขาดทุนอยู่ งบประมาณแต่ละปี 3 ล้านล้าน ก็ต้องกู้เงินมาปิดประมาณ 7-8 แสนล้านบาท ทุกปีเงินที่เหลือจากเงินงบประมาณเหลือเพียง 20% ที่มาก่อสร้างและพัฒนาเรื่องต่างๆ ซึ่งเราอยู่ในสภาวะที่ยากลำบาก โดยเฉพาะภาคเอกชนผู้ประกอบการ เป็นสิ่งที่น่าเห็นใจมากยิ่งสถานการณ์เราหวังการลงทุน ค่อนข้างจะลำบาก ความผันผวนเรื่องเงินเฟ้อ ค่าเงิน คิดว่าเป็นการทำให้นักลงทุนกังวลมาก การส่งออกอาจจะใช่ เพราะค่าเงินทำให้เราได้เปรียบ การท่องเที่ยวแน่นอน เป็นจุดแข็งเพราะเขาไม่ต้องการความเชื่อมั่นมากนัก เพราะมาระยะสั้น ถ้ามองความปลอดภัย การท่องเที่ยวยังเป็นเศรษฐกิจหลักกับการส่งออกที่จะเป็นไม้ค้ำยันให้กับเศรษฐกิจประเทศ

แต่ตอนนี้การท่องเที่ยวก็ยังไม่ปกติ เปิดประเทศมาได้ 2 เดือน ตัวเลขนักท่องเที่ยวประมาณ 2 ล้านคน ของครึ่งปี อีก 6 เดือนที่เหลือ ถ้าเดือนละ 1 ล้านคน อีก 8 ล้าน ซึ่งเป็น 20% ของ 40 ล้าน ภาวะต่างๆยังไม่เป็นใจ ซึ่งต้องเห็นใจ ผู้ประกอบการ และกลุ่มSME พ่อค้า แม่ค้า โอทอป รากหญ้า เพราะเจอทั้งเรื่องของแพง ต้นทุน ห่วงโซ่ต่างๆอย่างวันนี้ มีงาน Money Expro เราต้องกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน คนไทยช่วยคนไทย ไทยทำไทยใช้ไทยเจริญ ลงทุนในประเทศไทย Made in Thailand เพื่อสร้างกำลังซื้อภายในประเทศทดแทนจากต่างประเทศ เศรษฐกิจเราจะได้ประครองตัวได้ เราต้องช่วยกัน ไทยช่วยไทย เพื่อรอเวลา เพื่อให้ประเทศชาติอยู่รอด

“เราต้องช่วยโดยตรง ผู้ประกอบการ SME เพราะเป็นพื้นฐานของอุตสาหกรรมใหญ่ เช่น ถ้าไม่ดูแลผู้ประกอบการ กลุ่มผู้ประกอบการ เค้าไม่อยู่แล้ว ถ้านักท่องเที่ยวมาแล้วไม่มีโรงแรม ที่พัก ร้านค้า สินค้าโอทอป ไม่อยู่ จะทำอย่างไร ต้องช่วยให้เค้าอยู่ได้ เพื่อรอเวลานักท่องเที่ยวเข้ามา เรามีความพร้อม เพื่อรองรับ นักท่องเที่ยว ทันที”

นายสุวัจน์ กล่าวต่อไปว่า จุดที่จะส่งเสริมให้เกิดเศรษฐกิจรุ่งเรืองยุคทองของโคราชอีกครั้งคือ เมื่อไรที่มีการเปิดมอเตอร์เวย์ กทม.-โคราช และเปิดรถไฟความเร็วสูง เช่น ในยุค พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ มีการสร้างถนน 4 เลน จาก 2 เลน นำเศรษฐกิจมากมายมาสู่โคราช ทำให้โคราชเป็นประตูสู่อีสาน ทำให้อีสานประตูสู่อินโดจีนฉะนั้น หลังจากเปิดมอเตอร์เวย์ กทม.-โคราช การเดินทางใช้เวลาประมาณ 1 ชม. 45 นาที ถึงโคราช และ 1 ชม. ถึงเขาใหญ่ มรดกโลก

ถ้ารถไฟความเร็วสูงเปิดเมื่อไร 1 ชั่วโมง 10 นาทีถึงโคราช จังหวัดใหญ่แห่งที่ 2 ของประเทศ ซึ่งมีประชากร 2.5 ล้าน มีฐานทรัพยากรทางเกษตร ทางด้านการท่องเที่ยว ซึ่งมีฐานที่เข้มแข็งมาก ซึ่งมี 3 ฐานเป็นจังหวัดที่มีมรดกโลก “เขาใหญ่” ที่ได้รับการรับรองยูเนสโก และ 2. มีแหล่งพื้นที่สงวนชีวมณฑล ได้รับการรับรองจากยูเนสโก ให้เป็นแหล่งของความอุดมสมบูรณ์ของป่าของพันธ์ุไม้ และ 3. โคราชถ้าได้การรับรองจากยูเนสโก มาตรวจโคราชกำลังจะยกฐานะให้เป็นอุทยานธรณีโลก เป็น World Geo Park เป็น ยูเนสโก จีโอพาร์ค ซึ่งตอนนี้พื้นที่ 5 อำเภอของโคราช คือ อ.สูงเนิน อ.ขามทะเล อ.พิมาย อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.สีคิ้ว ถ้าขุดไปใต้ดินจะเจอแหล่ง ฟอสซิล อย่างมหาศาล เจอซากไดโนเสาร์ เจอซากช้างโบราณ เต่าโบราณ และเจอความอุดมสมบูรณ์

เดือน ก.ย.นี้ ยูเนสโกจะประกาศผล ถ้าโคราช Korat Geo Park ได้รับการยกฐานะ ให้เป็นยูเนสโก จีโอพาร์ค โคราชจะเป็นจังหวัดที่ 3 ในโลก มีแค่ 3 ประเทศ ซึ่งมี เกาหลี อิตาลี และโคราช ที่จะมี 3 มงกุฎ ซึ่งมงกุฎแรก คือ เขาใหญ่ มรดกโลก, พื้นที่สงวนชีวมณฑล สแกราช ที่ปักธงชัย, และมงกุฎที่ 3 คือ อุทยานธรณีโลก ใน 5 อำเภอ โคราชจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบคลาสสิก ไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยวแบบชอปปิง แต่เป็นการท่องเที่ยวแบบวัฒนธรรมโบราณคดี ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเป็นการรองรับการลงทุนของภาครัฐ เช่น การลงทุนรถไฟความเร็วสูง ถนนมอเตอร์เวย์ ไม่เสียเปล่า จะเป็นการลงทุนไว้ล่วงหน้าเพื่อรองรับพื้นฐานการท่องเที่ยวของประเทศ และพื้นฐานการลงทุน