เมื่อวันที่ 13 ส.ค. ที่เวทีกลาง อาคารชาเลนเจอร์ 2 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (พช.) มอบหมายให้ นายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองอธิบดีพช. เป็นประธานการประกวดและเผยแพร่ผลการดำเนินงานเครือข่ายองค์ความรู้ (Knowledge – Based OTOP : KBO) จังหวัดดีเด่น ประจำปี2565 โดยมีคณะกรรมการการประกวด ดังนี้ 1. นายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองอธิบดีพช. 2. น.ส.ฉัตรประอร นิยม หัวหน้าผู้ตรวจราชการพช. 3. นายวสันต์ ชิงชนะ ผู้ตรวจราชการพช. 4. นายวรงค์ แสงเมือง ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน 5. น.ส.นวภัทร หอมหวล ผู้อำนวยการกลุ่มงานประสานแผนและยุทธศาสตร์ สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน พช. 6. นายพีรวงศ์ จาตุรงคกุล ที่ปรึกษาบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด(มหาชน) 7. รศ.ดร.สาวิตรี วทัญญูไพศาล อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 8. ผศ.ดร.เจริญ เจริญชัย อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 9. ผศ.ดร.รุ่งทิพย์ ลุยเลาอาจารย์สาขาสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 10. ดร.สุภาพ อัจฉริยศรีพงศ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ 

11. ดร.สุภกรรณ จันทวงษ์ นักวิชาการอิสระ สาขาเภสัชกรรมและบริหารสาธารณสุข 12. ดร.สุกิตเอื้อมหเจริญ นักวางแผนยุทธศาสตร์และการปั้นแบรนด์ สถาบันพัฒนาทรัพยากรความรู้ (KBRI) ภายใต้บริษัท เคดีอาร์ โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด 13. นายสักขี แสนสุภา ผู้ทรงคุณวุฒิอิสระด้านบรรจุภัณฑ์ 14. นายสนั่น บุญลา ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้า สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ 15. นายสุรเชษฐ ไชยอุปละ รองคณบดีฝ่ายกลยุทธ์สื่อสารองค์กรและสารสนเทศ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 16. นายปรีชาฉัตรวัฒนานันท์ นักวิชาการอิสระ สาขาเภสัชกรรม 17. น.ส.ภัทรลภา สุริโย ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์และเลขานุการ สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน พช. 18. น.ส.อุดมพร ทับศฤงฆรา นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ ปฏิบัติหน้าที่และผู้ช่วยเลขานุการ ผอ.กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน พช. พร้อมด้วยคณะผู้บริหารพช. ร่วมเป็นเกียรติ ในงานศิลปาชีพ ประทีปไทย OTOP ก้าวไกลด้วยพระบารมี

นายสุรศักดิ์ กล่าวว่า พช. เป็นหน่วยงานหนึ่งที่รับผิดชอบในการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ควบคู่ไปกับการตลาด รวมทั้งการจัดตั้งเครือข่ายองค์ความรู้ (Knowledge – Based OTOP : KBO) จังหวัด เพื่อให้สถาบันการศึกษาในพื้นที่ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภาคประชาชน เครือข่ายผู้ผลิตชุมชนปราชญ์ชาวบ้าน ภายในจังหวัดผนึกกำลังองค์ความรู้ พัฒนาขีดความสามารถของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด เพื่อให้ชุมชนสามารถใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์OTOP โดยรัฐพร้อมที่จะสนับสนุนให้ชุมชนเข้าถึงองค์ความรู้สมัยใหม่ แหล่งเงินทุน และพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการและการตลาด เพื่อยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และสามารถสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่า และเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 

นายสุรศักดิ์ กล่าวว่า พช.ได้กำหนดให้มีการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่คณะกรรมการเครือข่ายองค์ความรู้ KBO จังหวัด เพื่อให้เป็นอีกกลไกหนึ่งในการสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาขีดความสามารถของกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และการพัฒนาผลิตภัณฑ์OTOP สู่การแข่งขันทางการตลาดได้ โดยโครงการส่งเสริมกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้  (Knowledge – Based OTOP : KBO) มีกระบวนการ ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายองค์ความรู้ KBO จังหวัด และกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) หรือระดับ 1 – 3 ดาว จังหวัดละ 20 กลุ่ม กิจกรรมที่ 2 พัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP โดยเครือข่ายองค์ความรู้ KBO จังหวัด เป้าหมาย คือ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการOTOP จังหวัดละ 20 กลุ่มๆ ละ 1 ผลิตภัณฑ์ จำนวน 76 จังหวัด รวมทั้งหมด 1,520 ผลิตภัณฑ์และกิจกรรมที่ 3 ประกวดและเผยแพร่ผลการดำเนินงานเครือข่ายองค์ความรู้ KBO จังหวัด เป้าหมาย ผลิตภัณฑ์ที่มีความเด่น มีนวัตกรรม จังหวัดละ 1 ผลิตภัณฑ์ 

นายสุรศักดิ์ กล่าวต่อว่า พช. ได้จัดสรรงบประมาณลงไปให้จังหวัด โดยเครือข่าย KBO จังหวัดก็จะประชุมเพื่อกำหนดรูปแบบ คัดเลือกกลุ่มผู้ประกอบการ หรือผลิตภัณฑ์ที่จะทำการพัฒนาจากนั้นก็จะทำแผนการพัฒนา ดำเนินการพัฒนาตามแผน ทำการทดสอบตลาด หลังจากที่กระบวนการดำเนินการพัฒนาของเครือข่าย KBO จังหวัดดำเนินการแล้วเสร็จ พช.จึงได้เชิญเครือข่าย KBO ทุกจังหวัดคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการพัฒนาในปีนี้ มาร่วมประกวดเพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ และเพื่อเป็นช่องทางการตลาดให้กับกลุ่มผู้ประกอบการอีกช่องทางหนึ่ง ภายในงานศิลปาชีพ ประทีปไทย OTOP ก้าวไกลด้วยพระบารมี ระหว่างวันที่ 12- 14 ส.ค. 2565

โดยการประกวดในครั้งนี้แบ่งเป็น 2 รอบ 

          – รอบแรก คัดให้เหลือ 8 จังหวัด จากทั้งหมด 76 จังหวัด

          1. เครือข่ายองค์ความรู้  (Knowledge – Based OTOP : KBO) จ.กำแพงเพชร กลุ่มพญาไพร ผลิตน้ำตบจากสารสกัดเปลือกกล้วยไข่

          2. เครือข่ายองค์ความรู้  (Knowledge – Based OTOP : KBO) จ.ปัตตานี กลุ่มตานีลิเชียสผลิตภัณฑ์แกงไตปลา 5 วัน 5 เมนู

          3. เครือข่ายองค์ความรู้  (Knowledge – Based OTOP : KBO) จ.พระนครศรีอยุธยา กลุ่มละมุด 100 ปี ผลิตภัณฑ์ไอศกรีมละมุดอยุธยา

          4. เครือข่ายองค์ความรู้  (Knowledge – Based OTOP : KBO) จังหวัดพังงา กลุ่มสวนสนุก ผลิตภัณฑ์ลูกจันทน์

          5. เครือข่ายองค์ความรู้  (Knowledge – Based OTOP : KBO) จ.แม่ฮ่องสอน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านทรงไทย ไท ไท แบรนด์ ผลิตภัณฑ์ช๊อคโกมะ ขนมงากลมผสมช็อกโกแลต

          6. เครือข่ายองค์ความรู้  (Knowledge – Based OTOP : KBO) จ.ราชบุรี กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเจ็ดเสมียนโฮมสเตย์ ผลิตภัณฑ์โมกมันราชบุรีเบญจสิริ

          7. เครือข่ายองค์ความรู้  (Knowledge – Based OTOP : KBO) จ.ลำปาง กลุ่มผลิตภัณฑ์ศิรดา ผลิตภัณฑ์กระเป๋าแบบมีกระดุมหน้า

          8. เครือข่ายองค์ความรู้  (Knowledge – Based OTOP : KBO) จ.ศรีสะเกษ กลุ่มทอผ้าไหมบ้านอะลาง ผลิตภัณฑ์ผ้าทอเส้นใยเบญจศรี

        – รอบสอง คัดเลือกผู้ชนะเป็นลำดับ จาก 8 จังหวัดที่เข้ารอบ โดยมีลำดับรางวัล ดังนี้ 

        1.รางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 80,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ 

        2.รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้รับเงินรางวัล 60,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

        3.รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้รับเงินรางวัล 40,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ 

        4.รางวัลชมเชย จำนวน 5 รางวัล ได้รับเงินรางวัลๆ ละ 20,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ 

ทั้งนี้ พช. จะประกาศรางวัลผู้ชนะเป็นลำดับ และมีพิธีมอบโล่รางวัลการประกวดและเผยแพร่ผลการดำเนินงานเครือข่ายองค์ความรู้ (Knowledge – Based OTOP : KBO) จังหวัดดีเด่น ประจำปี 2565 ในงานศิลปาชีพประทีปไทย OTOP ก้าวไกลด้วยพระบารมี ในวันที่ 20 ส.ค. 2565 เวลา 15.00 น. ที่เวทีกลาง ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี อ.ปากเกร็ดจ.นนทบุรี

“ขอเชิญชวนประชาชน แฟนพันธุ์แท้ OTOP มาเที่ยวชมงาน เลือก ชม ช้อป ชิม สนับสนุน ผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP ให้มีช่องทางการตลาด มีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนเพิ่มขึ้นเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและสนับสนุนการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ สู่หมู่บ้านชุมชนทั่วประเทศ ในงาน ศิลปาชีพ ประทีปไทย OTOP ก้าวไกลด้วยพระบารมี “ผ้าทอไทย สายใยแห่งพระเมตตา สร้างอาชีพ ปวงประชาอย่างยั่งยืน” ปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 12 – 20 ส.ค. 2565 เวลา 10.00 – 21.00 น. ที่อาคาร ชาเลนเจอร์ 1-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยตลอดการจัดงานครั้งนี้เรามีมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อย่างเคร่งครัดเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ชมงานทุกท่าน” นายสุรศักดิ์ กล่าว.