จากกรณีที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดสมัครขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้หลากหลายช่องทาง ได้สิทธิความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ถึง 3 ทางเลือก โดยใช้บัตรประชาชนใบเดียว

สำหรับรายละเอียดทั้ง 3 ทางเลือกการจ่ายเงินเยียวยา 70 บาท-100 บาท-300 บาท มีทั้งหมดดังนี้..

ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 70 บาทต่อเดือน ความคุ้มครอง
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้ ดังนี้ ผู้ป่วยในนอกพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป ได้รับวันละ 300 บาท, ผู้ป่วยนอก (ไม่นอน รพ.) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป ได้รับวันละ 200 บาท เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน ไม่เกิน 30 วัน /ปี ผู้ป่วยนอก (ไม่นอน รพ.) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) ได้รับเงินครั้งละ 50 บาท

2.กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ดังนี้ ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาการส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) ได้รับเงิน 500-1,000 บาท ได้รับการทดแทนการขาดรายได้เป็นระยะเวลา 15 ปี เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท 3. กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินผู้จัดการศพได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท จ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม 8,000 บาท โดยทางเลือกที่ 1 จะไม่คุ้มครองในกรณีชราภาพและสงเคราะห์บุตร

ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 100 บาทต่อเดือน ความคุ้มครอง
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้ ดังนี้ ผู้ป่วยในนอกพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป ได้รับวันละ 300 บาท, ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนรพ.) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป ได้รับวันละ 200 บาท เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน ไม่เกิน 30 วัน /ปี ผู้ป่วยนอก (ไม่นอน รพ.) หยุดไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) ได้รับเงินครั้งละ 50 บาท

2.กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ดังนี้ ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาการส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) ได้รับเงิน 500-1,000 บาท ได้รับการทดแทนการขาดรายได้เป็นระยะเวลา 15 ปี เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท 3. กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินผู้จัดการศพได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท จ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม 8,000 บาท 4. กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อน พร้อมดอกผล ดังนี้ สะสมเงินบำเหน็จชราภาพ (เงินออม) จากเงินสมทบ (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปีและสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) เดือนละ 50 บาท ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท จะไม่คุ้มครองในกรณีสงเคราะห์บุตร

ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 300 บาทต่อเดือน ความคุ้มครอง
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้ ดังนี้ ผู้ป่วยในนอกพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป ได้รับวันละ 300 บาท, ผู้ป่วยนอก (ไม่นอน รพ.) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป ได้รับวันละ 200 บาท เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน ไม่เกิน 90 วัน /ปี

2.กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ดังนี้ ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน (ขึ้นกับระยะเวลาการส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) ได้รับเงิน 500-1,000 บาท ได้รับการทดแทนการขาดรายได้ตลอดชีวิต เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท 3. กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินผู้จัดการศพได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท

4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อน พร้อมดอกผล ดังนี้ สะสมเงินบำเหน็จชราภาพ (เงินออม) จากเงินสมทบ (ได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปีและสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) เดือนละ 150 บาท ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน จะได้รับเงินเพิ่ม 10,000 บาท 5. กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด–6 ปีบริบูรณ์ จ่ายเงินสมทบ 24 ใน36 เดือน คนละ 200 บาท คราวละไม่เกิน 2 คน

ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th

เช็กกันพลาด! วันที่จะโอนเงิน 5,000 บาท เยียวยาผู้ประกันตนประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40