สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 16 มี.ค. ว่า ราคาหุ้นของเครดิตสวิส อยู่ที่ 2.3 ฟรังก์สวิส (ราว 85.60 บาท) ในช่วงแรกของการเปิดตลาดซื้อขายที่ยุโรป เมื่อวันพฤหัสบดี เพิ่มขึ้นมากกว่า 35% จากราคาปิดตลาด เมื่อวันพุธที่ผ่านมา
Credit Suisse is in hot water again.
— Bloomberg (@business) March 16, 2023
Unease about the bank’s mounting problems snowballed and its shares slumped. Now Swiss regulators are offering the troubled lender a financial lifeline. Bloomberg TV reports on how we got here https://t.co/kFQijRSCMP pic.twitter.com/sVeRRA8Eue
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้น หลังธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (เอสเอ็นบี) เตรียมอนุมัติความช่วยเหลือเป็นวงเงินสูงสุด 50,000 ล้านฟรังก์สวิส (ราว 1.85 ล้านล้านบาท) ให้แก่เครดิตสวิส เพื่อรักษาสภาพคล่องให้กับหนึ่งในสถาบันการเงินรายใหญ่และเก่าแก่ที่สุดของประเทศ หลังซาอุดี เนชั่นแนล แบงก์ ซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดของซาอุดีอาระเบีย และถือหุ้นในเครดิตสวิสด้วยสัดส่วน 9.9% ปฏิเสธให้เงินทุนเพิ่ม เนื่องจากจะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของตัวเองเกิน 10% ซึ่งผิดกฎหมายการธนาคาร
ขณะเดียวกัน เอสเอ็นบี และสำนักงานตรวจสอบทางการเงินแห่งชาติของสวิตเซอร์แลนด์ (ฟินมา) ร่วมกันรับประกันว่า เครดิต สวิส เป็นสถาบันการเงินที่มีเสถียรภาพ โดยมีแหล่งทุนและสภาพคล่องในระบบตามมาตรฐานของธนาคารขนาดใหญ่ และสอดคล้องกับกฎหมายของสวิตเซอร์แลนด์ทุกประการ
No more money for Credit Suisse
— Bloomberg TV (@BloombergTV) March 15, 2023
That's what Saudi National Bank Chairman Ammar Abdul Wahed Al Khudairy told @youseftv when asked about more assistance for the troubled lender https://t.co/GFLboCOwyj pic.twitter.com/iSjco40v8D
อย่างไรก็ตาม รานงานวิเคราะห์โดย เจพีมอร์แกน เชส หนึ่งในวาณิชธนกิจรายใหญ่ของโลกจากสหรัฐ ระบุว่า การกู้ยืมสภาพคล่องจากเอสเอ็นบีเพียงแห่งเดียว “ไม่พอ” สำหรับการรักษาเสถียรภาพในระยะยาวของเครดิตสวิส และการที่ภาครัฐหรือสถาบันการเงินแห่งอื่น เข้ามาเทคโอเวอร์กิจการ “คือหนทางเป็นไปได้มากที่สุด”
ทั้งนี้ เครดิตสวิส ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2400 เป็นสถาบันการเงินรายใหญ่ระดับโลกแห่งแรก ที่ขอรับความสนับสนุนจากภาครัฐ นับตั้งแต่วิกฤติการเงินโลก เมื่อปี 2551 แม้ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งโลกเผชิญกับวิกฤติการแพร่ระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ธนาคารกลางของทุกประเทศ ต่างมีนโยบายรักษาสภาพคล่อง ให้กับธนาคารภายในประเทศของตัวเองก็ตาม.
เครดิตภาพ : GETTY IMAGES