สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานจากเมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 2 ก.ย. ว่า แถลงการณ์ขององค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูเอชโอ) เมื่อวันพฤหัสบดี ระบุว่า ปัจจุบันมีประชาชนทั่วโลก เป็นโรคสมองเสื่อม ประมาณ 55 ล้านคน และคาดว่าจำนวนจะเพิ่มขึ้น 40% เป็น 78 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2573 และ 139 ล้านคนในปี 2593

ภาวะสมองเสื่อม อาจเกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง สมองบาดเจ็บ หรือจากโรคอัลไซเมอร์ ทั่วโลกต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยโรคนี้ จำนวนมหาศาลถึง 1.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ($1.3 trillion) ต่อปี

นพ.เทดรอส แอดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก กล่าวว่า เพียงแค่ 1 ใน 4 ของประเทศทั่วโลก ที่รัฐบาลมีนโยบายแห่งชาติ สนับสนุนผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม และญาติ พร้อมกับเรียกร้องต่อรัฐบาลแต่ละประเทศ ให้เพิ่มความพยายาม รับมือกับหนึ่งในความท้าทายสำคัญ ด้านสาธารณสุขของโลก

ที่ประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุข ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ตกลงในแผนปฏิบัติการร่วม ในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งรวมถึง การตรวจวิเคราะห์หาโรคแต่เนิ่นๆ และการให้บริการรักษา แต่คาดว่าจะไม่สามารถเป้าหมาย ที่กำหนดไว้ในปี 2568

ทางด้าน นางแคทรีน ซีเฮอร์ ผู้เชี่ยวชาญประจำแผนกสุขภาพจิตขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่า โรคสมองเสื่อมถือเป็นวิตกด้านสาธารณสุขโลกอย่างแท้จริง และไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะกลุ่มประเทศรายได้สูงเท่านั้น ซึ่งตามความเป็นจริง กว่า 60% ของผู้ป่วยโรคนี้ อาศัยอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ต่ำถึงปานกลาง.

เครดิตภาพ – REUTERS