สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 26 พ.ค. ว่า ก่อนหน้านี้เพียงไม่กี่วัน รัฐบาลของสหราชอาณาจักร ประกาศชุดมาตรการจำกัดการรับนักศึกษาต่างชาติ รวมถึงสมาชิกครอบครัวบางคน ซึ่งซูแน็กเชื่อว่า สิ่งนี้จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการลดจำนวนคนเข้าเมือง
ด้านนางเจย์ ลินดอป ผู้อำนวยการศูนย์การย้ายถิ่นฐานระหว่างประเทศ ของสำนักงานสถิติแห่งชาติของสหราชอาณาจักร (โอเอ็นเอส) กล่าวว่า เหตุการณ์ระดับโลกต่างๆ เช่น การระบาดของโรคโควิด-19 ที่สิ้นสุด และสงครามในยูเครน ส่งผลให้ระดับการย้ายถิ่นฐานระหว่างประเทศ มายังสหราชอาณาจักร สูงเป็นประวัติการณ์
Net migration to the UK at record level of 606,000 in 2022
— BBC Breaking News (@BBCBreaking) May 25, 2023
Live updates https://t.co/XBfIXAvx58
นอกจากนี้ การถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป (อียู) ของสหราชอาณาจักร หรือเบร็กซิต ยังเป็นการยุตินโยบายเสรีภาพในการเคลื่อนย้าย สำหรับแรงงานภายในอียู ทำให้หลายภาคส่วนของสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการเกษตร และภาคการบริการสุขภาพกับสังคม ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานทักษะสูงที่มีประสบการณ์
ขณะที่ นางอีเวตต์ คูเปอร์ โฆษกหญิงประจำกระทรวงมหาดไทยของสหราชอาณาจักร จากพรรคแรงงาน ซึ่งเป็นพรรคแกนนำฝ่ายค้าย ระบุว่า ตัวเลขคนเข้าเมืองล่าสุด “มากเกินปกติ” และมันเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลไม่มีแผนการ และประสบความล้มเหลวในการจัดการปัญหานี้
แม้ซูแน็กจะอยู่ภายใต้แรงกดดันของการจำกัดการอพยพเข้าเมือง แต่เขาเชื่อว่า ชุดมาตรการที่รัฐบาลของเขากำลังใช้ในปัจจุบัน เพื่อลดการย้ายถิ่นฐานอย่างถูกต้องตามกฎหมายนั้น จะทำให้จำนวนคนเข้าเมืองลดลงเมื่อเวลาผ่านไป
อย่างไรก็ตาม นักวิจารณ์หลายคนกล่าวว่า การดำเนินการที่คั่งค้าง คือปัญหาที่รัฐบาลลอนดอนก่อขึ้นมาเอง อีกทั้งนโยบายจำกัดการอพยพอย่างกฎหมายผ่านเส้นทางปลอดภัยนั้น รังแต่จะทำให้ปัญหาของการอพยพด้วยเรือลำเล็ก แย่ลงกว่าเดิม.
เครดิตภาพ : AFP