ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  เมื่อวันที่ 25 มิ..66 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์หอการค้าไทยจีน เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม นักธุรกิจชาวจีนโลก ครั้งที่ 16 ซึ่งถือเป็นเป็นการรวมตัวร่วมประชุมครั้งสำคัญของนักธุรกิจชาวจีนจากทั่วโลกกว่า 4,000 คน50 ประเทศ ที่เดินทางเข้ามาประชุมในไทย และเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่สิ้นสุดการแพร่ระบาดของโควิด โดยมีพล..สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี และนายเกา หยุนหลง รองประธานสภาที่ปรึกษาการเมืองแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นประธานในพิธี 

ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทยได้มีนักธุรกิจรายใหญ่เข้าร่วมประชุมกันอย่างคับคั่ง นำโดยนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส  เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี)  ในฐานะนายกสมาคมนักธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน  นายณรงค์ศักดิ์ พุทธพรมงคล ประธานกรรมการหอการค้าไทยจีน  เข้าร่วม พร้อมทั้งยังมี นายสนั่น อังอุบลกุลประธานหอการค้าไทย นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุต สาหกรรมแห่งประเทศไทย 

ขณะที่ฝั่งรัฐบาลไทยมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์เป็นผู้แทนนายกรัฐมนตรี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์  ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เข้าร่วม  พร้อมด้วยนักการเมืองไทยเชื้อสายจีนชั้นนำ เข้าร่วมงานอย่างเนืองแน่น อาทิ นายพินิจจารุสมบัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็นต้น

นายณรงศักดิ์ กล่าวว่า ปัจจุบัน โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การประชุมครั้งนี้จึงเป็นการรวมพลัง รับมือการเปลี่ยนแปลง โดยมีการแลกเปลี่ยนมุมมอง ความร่วมมือใกล้ชิด ตลอดจนรับฟังข้อมูลการค้าการลงทุนไทย ซึ่งจีนมีเครือข่ายอุตสาหกรรมทั่วโลก  และนโยบาย 1 แถบ 1 เส้นทางของจีน ซึ่งสามารถสอดรับกับนโยบายรัฐบาลไทยเช่น ไทยแลนด์ 4.0 และ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวเปิดและปาฐกถาในการประชุมนักธุรกิจชาวจีนโลก (World Chinese Entrepreneurs Convention-WCEC) ครั้งที่ 16 พร้อมด้วยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรีนายเกา หยุนหลง รองประธานสภาที่ปรึกษาการเมืองแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน นายณรงค์ศักดิ์ พุทธพรมงคล ประธานหอการค้าไทยจีน นายธนินท์ เจียรวนนท์  นายกสมาคมนักธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ระหว่างวันที่ 24-26 มิถุนายน 2566 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

นายจุรินทร์ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ตนมาเปิดการประชุมนักธุรกิจชาวจีนโลกครั้งที่ 16 ในวันนี้ ซึ่งช่วงเดือน ..ที่ผ่านมา ตนได้รับเชิญจากหอการค้าไทยจีน เป็นประธานแถลงข่าวการจัดงานมาแล้ว วันนี้มีผู้เข้าร่วมกว่า 4,000 คน จาก 50 ประเทศทั่วโลก การประชุมนักธุรกิจชาวจีนโลก (World Chinese Entrepreneurs Convention-WCEC) ครั้งที่ 16 มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักธุรกิจชาวจีนและนักธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเลจากทั่วโลก ใช้เวทีนี้เป็นโอกาสสำคัญในการพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลและโอกาสทางธุรกิจ การค้า การลงทุน เชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างกัน นักธุรกิจเชื้อสายจีนและนักธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเลยังมีบทบาทเสมือนสะพานเชื่อมสำคัญระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนกับภาคธุรกิจเอกชนในนานาประเทศ 

ปัจจุบันต้องถือว่าจีนก้าวมาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับสองของโลก เป็นตลาดขนาดใหญ่ เป็นผู้ส่งออกสินค้าอันดับหนึ่งและเป็นผู้นำเข้าสินค้าอันดับสองของโลกทำให้เศรษฐกิจจีนมีความต่อเศรษฐกิจโลกและประเทศต่างๆเป็นอย่างมาก ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลไทยให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการส่งเสริมและเร่งกระชับความสัมพันธ์ทางการค้า การลงทุนกับจีนในหลายมิติ ทั้งขับเคลื่อน FTA อาเซียนจีนและผ่านความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) มีสมาชิก 15 ประเทศ มีไทยกับจีนอยู่ในนั้นด้วย

ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ตนเร่งรัดขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าให้ลงลึกสู่ระดับมณฑลหรือระดับเมืองของประเทศคู่ค้า ที่เรียกว่า mini FTA ปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์ภายใต้รัฐบาลไทยได้ลงนามกับประเทศคู่ค้าแล้วจำนวนทั้งสิ้น 7 ฉบับ มี 3 ฉบับลงนามกับจีน ประกอบด้วย 1.มณฑลไห่หนาน2.มณฑลการซู่ และ 3.เมืองเซินเจิ้นและในเดือน ..จะลงนามเพิ่มกับมณฑลยูนนานของจีนต่อไป กระทรวงพาณิชย์ไทยได้ทำ mini FTA อีก 4 ฉบับ กับ เมืองโคฟุ ประเทศญี่ปุ่น เมืองปูซานและจังหวัดคยองกีของเกาหลีใต้ และรัฐเตลังคานา ของอินเดีย และประเทศไทยกำลังเจรจาจัดทำ FTA กับอีกหลายประเทศซึ่งกำลังจะสำเร็จคาดว่าไม่เกิน1-2 ปีนี้ กับสหภาพยุโรป 27 ประเทศ กับยูเออี ปากีสถาน ศรีลังกา กลุ่มเอฟตา 4 ประเทศ (สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตน์รวมทั้งกับตุรกี ถ้าสำเร็จจะส่งผลให้ไทยมี FTA กับต่างประเทศรวม 20 ฉบับ กับ 53 ประเทศทั่วโลก

เพื่อเรียนว่าถ้าท่านมาทำการค้ากับประเทศไทยไม่ว่า ส่งออก นำเข้าจากประเทศไทยรวมทั้งมาลงทุนจะได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าและการลงทุนจาก FTA ที่ไทย ทำ 20 ฉบับ กับ 53 ประเทศในอนาคตอันใกล้ด้วย ส่งผลให้การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยโดย IMD (International Institute for Management Development) ล่าสุดในปีนี้เทียบกับปีที่แล้ว ด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจของประเทศไทยลำดับดีขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ เช่น การค้าระหว่างประเทศจากลำดับที่ 37 มาอยู่ที่ลำดับ 29 ดีขึ้น 8 ลำดับ โดยมีจีนเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งติดต่อกันถึง 11 ปี ตั้งแต่ปี2013 และด้านการลงทุนระหว่างประเทศเลื่อนลำดับไทยให้สูงขึ้นถึง 11 ลำดับ จากลำดับที่ 33 เป็นลำดับที่ 22 โดยปี 2022 นักลงทุนชาวจีนมาขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากรัฐบาลไทยสูงถึงเป็นลำดับหนึ่งของโลก

 รัฐบาลไทยมุ่งขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาสำคัญที่สอดคล้องกับจีน ทั้งการเปิดกว้างทางการค้า การลงทุน การเชื่อมโยงเศรษฐกิจเชิงนวัตกรรมสู่ความยั่งยืน ตลอดจนการขยายความร่วมมือในมิติต่างๆ สอดคล้องกับข้อริเริ่ม Belt and Road ที่จีนได้ประกาศไว้ตั้งแต่ปี 2013

สำหรับการประชุมนักธุรกิจชาวจีนโลกครั้งที่ 16 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพในปีนี้ ตนเชื่อมั่นว่าจะเป็นโอกาสและเวลาที่เหมาะสมที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมทราบพัฒนาการทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางการค้า การลงทุนในปัจจุบัน ยังเป็นโอกาสดีที่ประเทศไทยแสดงศักยภาพการเป็นเจ้าบ้านที่ดี การร่วมกันทำงานอย่างใกล้ชิดกับนักธุรกิจชาวจีนรวมทั้งการต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมและครอบครัวอย่างอบอุ่น ตามมิติความสัมพันธ์ที่เราได้ยินตลอดมาว่า ไทยจีนใช่อื่นไกล พี่น้องกัน เพื่อให้เกิดความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นในความสัมพันธ์ การประชุมนี้นอกจากเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและทัศนคติจากนักธุรกิจชั้นนำจากทั่วโลกแล้วประเทศไทยได้จัดโปรแกรมสันทนาการให้ผู้เข้าร่วมประชุมทั้ง การศึกษาดูงานศึกษาลู่ทางทางธุรกิจและการเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ เป็นโอกาสดีที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมเห็นพัฒนาการและศักยภาพของประเทศไทยว่ามีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างไร ประเทศไทยยินดีต้อนรับทุกๆท่านรวมทั้งครอบครัวที่เดินทางมายังประเทศไทย ขอขอบคุณและขอให้มีความสุขตลอดเวลาที่อยู่ในประเทศไทยในการประชุมครั้งนี้