สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 16 ก.ค. ว่า รัฐบาลสหราชอาณาจักรของนายกรัฐมนตรีริชี ซูแน็ก ผอนุมัติคำแนะนำในการเพิ่มค่าจ้างให้กับครู แพทย์ และตำรวจ ระหว่าง 5-7%
อย่างไรก็ตาม เงินทุนที่ใช้ในการเพิ่มค่าจ้างนั้น ไม่ได้มาจากการขึ้นภาษีหรือการกู้ยืมของรัฐบาล แต่เป็นการเพิ่มค่าธรรมเนียมบริการสุขภาพของผู้อพยพย้ายถิ่น (ไอเอชเอส) และค่าธรรมเนียมวีซ่า รวมประมาณ 1,000 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง (45,000 ล้านบาท)
ด้าน “ดอกเตอร์ส อิน ยูไนต์” ซึ่งเป็นตัวแทนของแพทย์รุ่นเยาว์, แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป และที่ปรึกษาของโรงพยาบาล ระบุว่า รู้สึกตกใจต่อความเคลื่อนไหวดังกล่าว เนื่องจากผู้อพยพต้องจ่ายเงินเป็นสองเท่าเพื่อใช้บริการสุขภาพของประเทศ
How are the govt going to fund paying public sector workers more?
— Sky News (@SkyNews) July 13, 2023
'The fee for migrants applying for visas and accessing the NHS will go up – that will raise over £1bn,' Rishi Sunak explains.
https://t.co/LFse6H317z
???? Sky 501, Virgin 602 pic.twitter.com/ak0JdljWCg
“ผู้อพยพมอบเงินช่วยเหลือให้สำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติ (เอ็นเอชเอส) ผ่านการเก็บภาษีทั่วไป ซึ่งการเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มสองเท่า เป็นมากกว่า 1,200 ปอนด์สเตอร์ลิงต่อปี (ราว 54,000 บาท) ถือเป็นการลงโทษเพิ่มเติมที่ไม่ยุติธรรม” ด็อกเตอร์ส อิน ยูไนต์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวผิดศีลธรรม และทำให้เกิดการแบ่งแยก
ทั้งนี้ การอพยพย้ายถิ่นสุทธิในสหราชอาณาจักรแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 606,000 คน เมื่อปี 2565 ตามตัวเลขอย่างเป็นทางการ ซึ่งเผยแพร่เมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา นับเป็นการสร้างแรงกดดันให้กับรัฐบาลที่ให้คำมั่นว่า จะลดการพึ่งพาแรงงานต่างชาติ โดยซูแน็กอธิบายว่า ระดับการอพยพเข้าเมืองตามกฎหมาย “สูงเกินไป” และพยายามรับมือกับระดับการขอลี้ภัย จากผู้อพยพข้ามช่องแคบด้วยเรือขนาดเล็ก
กระนั้น นักวิจารณ์หลายคนกล่าวเตือนว่า การเพิ่มไอเอชเอส ไม่ว่าจะจ่ายโดยตัวบุคคลหรือบริษัทของพวกเขา อาจทำให้ปัญหาพนักงานไม่เพียงพอในหลายภาคส่วนเลวร้ายกว่าเดิม และผลักดันให้แรงงานทักษะสูง รวมถึงนักศึกษา ไปทำงานที่อื่น
“การเพิ่มขึ้นตามที่เสนอมาเหล่านี้สร้างอุปสรรคเพิ่มเติม สำหรับผู้มีความสามารถทั่วโลก อีกทั้งจะส่งผลเสียต่อสหราชอาณาจักร และวงการวิทยาศาสตร์ระดับโลก” นางซาเรียน บาวเออร์ส หัวหน้าฝ่ายนโยบายของศูนย์วิจัยจีโนมิกส์ “สถาบันเวลล์คัม แซงเกอร์” กล่าว.
เครดิตภาพ : AFP