ที่ตลาดชุมชนห้วยเดื่อ ต.โนนทัน อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู นายสุวิทย์ จันทร์หวร ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู เปิดโครงการเสริมสร้างพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวสู่ Smart Tourism เชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมวิถีลุ่มภู (Press Tour) จังหวัดหนองบัวลำภู โดยมีนายศศิน พัฒนภิรมย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู นางฐพัชร์รดา ธนินท์จิรานนท์ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดหนองบัวลำภู นางแสงตะวัน แก้วอำไพ รักษาราชการแทนพัฒนาการจังหวัดหนองบัวลำภู พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ผู้ประกอบการธุรกิจและการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดอีสานตอนบน สื่อมวลชน ร่วมกันเปิดกิจกรรมวิถีลุ่มภู ฤดูชวนเที่ยว “เสน่ห์นครสามธรรม ลอดถ้ำ กินลม ชมอุทยาน ตระการตาผ้าพื้นเมือง ลื่อเลื่องวิถีชุมชน” ทริปที่ 1 ระหว่างวันที่ 6-7 สิงหาคม 2566

นางแสงตะวันฯรักษาราชการแทนพัฒนาการจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวว่าจัดกิจกรรมเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมวิถีลุ่มภู (Press Tour) ภายใต้โครงการโครงการเสริมสร้างพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวสู่ Smart Tourism ในครั้งนี้ จังหวัดหนองบัวลำภู โดย สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดหนองบัวลำภู ได้จัดโครงการเสริมสร้าง พัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวสู่ Smart Tourism กิจกรรมเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมวิถีลุ่มภู (Press Tour) ภายใต้ชื่อกิจกรรม วิถีลุ่มภู ฤดูชวนเที่ยว “เสน่ห์นครสามธรรม ลอดถ้ำ กินลม ชมอุทยาน ตระการตาผ้าพื้นเมือง ลื่อเลื่องวิถีชุมชน” โดยมีสาระสำคัญเพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดหนองบัวลำภูและประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างให้บรรลุวิสัยทัศน์การพัฒนา จังหวัดหนองบัวลำภู “หนองบัวลำภู เมืองผ้า น่าอยู่ น่าเที่ยว” ตลอดจนส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดหนองบัวลำภู และเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง

นางแสงตะวันฯกล่าวต่อว่า โดยในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ทริปๆละ 2 วัน 1 คืน ซึ่งทริปแรกจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 – 7 สิงหาคม 2566 โดยมีนายสุวิทย์ จันทร์หวร ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู พร้อมด้วย นายศศิน พัฒนภิรมย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นหัวหน้าคณะในการนำเที่ยว ตามเส้นทางที่กำหนดตั้งแต่ตลาดชุมชนห้วยเดื่อ เริ่มสัมผัสอาหารป่าหรือพืชผักผลไม้จากธรรมชาติที่หาได้ในพื้นที่และจากป่าเขา จากนั้นเที่ยวพิพิธภัณฑ์หอยหิน 150 ล้านปี ชมหินที่มีลักษณะคล้ายหอย สวยงามและแปลกตาเป็นจำนวนมาก พร้อมฟอสซิลหอยกาบคู่อายุประมาณ 150 ปี และฟอสซิลไดโนเสาร์บรรพบุรุษที-เล๊กซ์ หุ่นจำลองไดโนเสาร์ที่สามารถเคลื่อนไหวได้ประมาณ 8 อริยบท พร้อมส่งเสียงร้องได้ทั้งภายในห้องแสดงและสวนอุทยานไดโดเสาร์(กลางแจ้ง)

จากนั้น ผู้ว่าฯจังหวัดหนองบัวลำภู นำคณะเดินทางสู่วัดถ้ำกลองเพล สักการะอัฐิธาตุและอัฏฐบริขารของหลวงปู่ขาว อนาลโย และหลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต พร้อมกลองโบราณ หรือที่เราเรียกว่า กลองเพล จากนั้นเดินทางไปสัมผัสอาหารอีสานที่ร้านส้มตำบุญรอดที่มีอาหารพื้นบ้านอย่างหลาย ก่อนที่จะเดินทางไปสัการะอนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จากหลักฐานตำนานเล่าว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้เสด็จมาพร้อมพระมหาธรรมราชา ได้ยกทัพไปตีกรุงศรีสัตนาคณหุต และได้ทรงพักแรม ณ หนองน้ำแห่งที่อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู ในปัจจุบัน

จากนั้น นายศศินฯรอง ผวจ.หนองบัวลำภู นำคณะเดินทางต่อไปที่กลุ่มทอผ้าบ้านถิ่น อำเภอโนนสังซึ่งเป็นกลุ่มท่อผ้า การยอมผ้า การมัดหมี่ ที่มีการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ที่กำลังเจริญรุดหน้าในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังเป็นกลุ่มทอผ้า ECO Print ที่ได้รับมาตรฐาน มผช.เป็นผ้า ECO Print รายแรกของจังหวัดหนองบัวลำภู แล้วเดินทางต่อไปสัมผัสสวนอินทผาลัมของคุณอนันต์อินทผาลัม บ้านหนองแวง และไปชื่นชมพระอาทิตย์ตกดิน ณ สกายวอล์คภูแอ่น – อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ ซึ่งเป็นจุดเช็คอินแห่งใหม่ของจังหวัดหนองบัวลำภู โดยสามารถมองไปเห็นเทือกเขาและแม่น้ำเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น

ในขณะที่ นายสุวิทย์ฯผวจ.หนองบัวลำภู กล่าวว่าการนำหัวหน้าส่วนราชการ ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชนร่วมเดินทางในครั้งนี้ เป็นไปตามที่รัฐบาลกำหนดนโยบายการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว ออกเป็น 5 ประเด็น คือการพัฒนาคุณภาพและความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยว 2.การดึงดูดนักท่องเที่ยว ที่มีคุณภาพ รายได้สูง โดยมุ่งเน้นขยายตลาดคุณภาพพร้อมกับรักษาตลาดเดิม รวมทั้งนำระบบดิจิทัลมาใช้ 3. เป็นการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว 4.ต้องดูแลความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวอย่าง เข้มงวดและ 5. ส่งเสริมให้เกิดการกระจายรายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวสู่ชุมชน โดยพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจหลัก ธุรกิจรอง ธุรกิจสนับสนุน และพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ของท้องถิ่น ชุมชน และสถาบันการศึกษาเพื่อสนับสนุนการพัฒนาและทำธุรกิจการท่องเที่ยว ในพื้นที่ให้มากขึ้น จึงขอเชิญชวนมาเที่ยวชมและสัมผัสบรรยาการจริงในโอกาสต่อไป