สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงมาดริด ประเทศสเปน เมื่อวันที่ 29 พ.ค. ว่า นายกรัฐมนตรีเปโดร ซานเชซ ผู้นำสเปน แถลงเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา รับรองอธิปไตยของรัฐปาเลสไตน์อย่างเป็นทางการ โดยยืนยันว่า “ไม่ใช่การต่อต้านฝ่ายใด รวมถึงอิสราเอล” แต่การดำเนินการของสเปน “จำเป็นสำหรับกระบวนการสร้างสันติภาพ” และเน้นย้ำว่า “ความมั่นคงและสันติภาพเท่านั้น” ที่จะช่วยให้ทุกฝ่ายบรรลุแนวทางทางสองรัฐได้
ขณะเดียวกัน ผู้นำสเปนกล่าวด้วยการ การยอมรับเอกราชของปาเลสไตน์ คือการปฏิเสธจุดยืนของกลุ่มฮามาส ที่ยังคงไม่ยอมรับแนวทางสองรัฐ
Spain has formally recognised Palestine as a state in a ‘historic move towards justice and the only route to achieve peace’ according to PM Pedro Sanchez.
— Al Jazeera English (@AJEnglish) May 28, 2024
Spain joins Ireland, Norway and 144 other countries to acknowledge Palestinian statehood. pic.twitter.com/WelVXMKmRb
ด้านนายกรัฐมนตรีไซมอน แฮร์ริส ผู้นำไอร์แลนด์ กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการที่ไอร์แลนด์ให้การยอมรับปาเลสไตน์ “เพื่อรักษาความหวังแห่งสันติภาพ” และเรียกร้องอิสราเอล “ยุติการสร้างหายนะทางมนุษยธรรม” ในฉนวนกาซา
ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศนอร์เวย์ออกแถลงการณ์ ว่าการที่รัฐบาลออสโลรับรองอธิปไตยของปาเลสไตน์ “คือวันพิเศษสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างนอร์เวย์กับปาเลสไตน์”
Spain, Norway, and Ireland have recognized a Palestinian state to support the two-state solution and end Israeli attacks on Gaza.
— TRT World (@trtworld) May 28, 2024
They hope this will prompt other European countries to join, aiming for a ceasefire and the release of hostages pic.twitter.com/mUUQyMCVBS
ทั้งนี้ ทั้งสามประเทศพร้อมใจกันประกาศเรื่องนี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สร้างความไม่พอใจอย่างหนักให้แก่อิสราเอล ซึ่งเรียกเอกอัครราชทูตกลับจากทั้งสามประเทศ
อีกด้านหนึ่ง สถานกงสุลใหญ่สเปนประจำเมืองเยรูซาเลม จะสามารถให้บริการได้เฉพาะกับประชาชนซึ่งมีถิ่นพำนักอยู่ในเมืองแห่งนี้เท่านั้น ไม่สามารถให้บริการกับพลเมืองปาเลสไตน์ได้อีกต่อไป นับตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. นี้ ตามคำสั่งของกระทรวงการต่างประเทศอิสราเอล
นายอิสราเอล คัตซ์ รมว.การต่างประเทศอิสราเอล กล่าวว่า มาตรการดังกล่าวเป็นการลงโทษในเบื้องต้น ต่อการที่สเปนเตรียมรับรองอธิปไตยของปาเลสไตน์ และอิสราเอลจะไม่มีทางเพิกเฉยต่อ “อันตราย” ที่อาจเกิดขึ้นกับอธิปไตยและความปลอดภัยของอิสราเอล
ความเคลื่อนไหวของทั้งสามประเทศ ทำให้ตอนนี้มีสมาชิกสหประชาชาติ (ยูเอ็น) รับรองอธิปไตยของปาเลสไตน์เพิ่มเป็นอย่างน้อย 145 จาก 193 ประเทศ โดยสวีเดนเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) ประเทศแรก ที่ยอมรับปาเลสไตน์ เมื่อปี 2557 ตามด้วยบัลแกเรีย ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ก ฮังการี โปแลนด์ และโรมาเนีย.
เครดิตภาพ : AFP