สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 29 พ.ค. ว่าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอินเดียรายงานว่า จำนวนผู้เสียชีวิตจากอิทธิพลของพายุไซโคลนริมาลในประเทศ เพิ่มเป็นอย่างน้อย 48 ราย นับตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยรัฐมิโซรัม ที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ได้รับผลกระทบมากที่สุด มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 28 ราย ขณะที่ในบังกลาเทศมีการยืนยันผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 17 ราย
JUST IN | The incessant rainfall brought by Cyclone #Remal has caused landslides and flash floods in Senapati district, #Manipur, @rahconteur reports.
— The Hindu (@the_hindu) May 28, 2024
????: Special Arrangement pic.twitter.com/4dQ7EvYjFG
ขณะที่ข้อมูลจากสำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติบังกลาเทศระบุว่า ไซโคลนริมาลถือเป็นหนึ่งในพายุซึ่งมีกำลังลมคงอยู่นานที่สุดในประวัติศาสตร์ของบังกลาเทศ คือเป็นเวลานานกว่า 36 ชั่วโมงแล้ว ทำลายสถิติพายุไซโคลน “ไอลา” ซึ่งพาดผ่านบังกลาเทศ เมื่อปี 2552
ขณะเดียวกัน มีรายงานว่า ภูมิภาคบางแห่งในบังกลาเทศมีปริมาณน้ำฝนสะสมไม่ต่ำกว่า 200 มิลลิเมตร นับตั้งแต่พายุริมาลขึ้นฝั่ง
"I have never seen such a long cyclone in decades… I don’t know when it will end."
— DW News (@dwnews) May 28, 2024
Cyclone Remal has killed several people in Bangladesh and India, while damaging houses and flooding villages. pic.twitter.com/r7JPd8kXjb
นอกจากนี้ การที่พายุเคลื่อนที่ช้ามาก ย่อมหมายความว่า ขอบเขตความเสียหายอาจเกิดขึ้นมากตามไปด้วย และข้อมูลของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาบังกลาเทศระบุด้วยว่า พายุริมาลเป็นไซโคลนซึ่งก่อตัวเร็วที่สุด ในรอบหลายทศวรรษ เท่าที่บังกลาเทศเคยเก็บข้อมูลได้
ทั้งนี้ ภาวะความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลกน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญ เนื่องจากโดยปกติแล้ว พายุที่ก่อตัวบริเวณตอนใต้หรือตะวันตกเฉียงใต้ของอ่าวเบงกอล จะใช้เวลาประมาณ 7-8 วัน แต่พายุริมาลใช้เวลาเพียง 3 วัน ในการสะสมกำลังลมจากการเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ สู่การเป็นพายุ.
เครดิตภาพ : AFP