สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 29 พ.ค. ว่า แอมเนสตี้รายงานว่า เมื่อปี 2566 มีการประหารชีวิตนักโทษทั่วโลกที่ทราบแล้ว 1,153 ครั้ง ถือเป็นจำนวนสูงสุด เท่าที่ได้รับการบันทึกในรอบเกือบหนึ่งทศวรรษ หลังเริ่มมีการบันทึก เมื่อปี 2558 โดยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในตะวันออกกลาง และมากกว่ารายงานเมื่อปี 2565 ถึงร้อยละ 30
แอมเนสตี้ระบุว่า ตัวเลขดังกล่าว ยังไม่รวมการประหารชีวิตผู้คนอีกมากกว่า 1,000 ราย ในประเทศที่ไม่มีการเปิดเผย อาทิ จีน, เกาหลีเหนือ และเวียดนาม “จำนวนประเทศต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ แต่จำนวนการประหารชีวิตสูงที่สุดในรอบเกือบทศวรรษ” แอมเนสตี้ระบุในรายงาน
Let's make #deathpenalty a thing of the past. pic.twitter.com/jsK4H259xa
— Amnesty International (@amnesty) May 29, 2024
ปัจจัยสำคัญ มาจากการประหารชีวิตในอิหร่าน ซึ่งพุ่งสูงขึ้นเกือบร้อยละ 50 ต่อปี อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเตหะรานอ้างว่า เป็นการประหารชีวิตในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด แต่รายงานของแอมเนสตี้ระบุว่า การประหารชีวิตจะส่งผลกระทบต่อชุมชนชายขอบอย่างไม่เท่าเทียม
อย่างไรก็ตาม จีน, ซาอุดีอาระเบีย, โซมาเลีย และสหรัฐอเมริกา เป็น 4 ประเทศซึ่งมีการประหารชีวิตมากที่สุด เมื่อปีที่แล้ว โดยรายงานได้เปิดเผยว่าจำนวนการตัดสินโทษประหารชีวิตทั่วโลก เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 แต่มีเพียง 16 ประเทศเท่านั้น ที่ทำการประหารชีวิต ถือเป็นระดับต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์
ในทางกลับกัน ปากีสถานยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด และมาเลเซียยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับความผิดหลายประเภท
???? In 2022, 6 countries abolished it either fully or partially
— Amnesty International (@amnesty) May 29, 2024
????In 2023, Pakistan and Malaysia took steps towards restricting the application of the death penalty.
???? In 2024, bills are pending in the parliaments of Kenya, Liberia and Zimbabwe
ในสหรัฐ จำนวนการประหารชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน จาก 18 ครั้ง เป็น 24 ครั้ง โดยทั้ง 5 รัฐ ใช้วิธีการฉีดยาพิษ ขณะที่รายงานของแอมเนสตี้อ้างถึงการบังคับใช้กฎหมายยิงเป้าใน 2 รัฐ และกฎหมายในรัฐเซาท์แคโรไลนา ที่เอื้อให้มีการปกปิดตัวตนของผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการประหารชีวิต “รัฐส่วนหนึ่งแสดงออกถึงความมุ่งมั่นอันเยือกเย็นต่อโทษประหาร” แอมเนสตี้กล่าว อย่างไรก็ตาม รัฐอื่น ๆ อีก 23 รัฐ ได้ยกเลิกโทษประหารแล้วอย่างสมบูรณ์ ขณะที่อีก 14 รัฐ ไม่มีการประหารชีวิตมาแล้วอย่างน้อย 10 ปี
“การใช้โทษประหารอย่างเลือกปฏิบัติและปราศจากเหตุผล มีแต่จะทำให้การละเมิดสิทธิมนุษยชนในระบอบยุติธรรม ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น” ดร.แอกเนส คาลามาร์ด เลขาธิการแอมเนสตี้ ระบุ “ประเทศที่ยืนกรานสนับสนุนการประหารชีวิต ควรปรับเปลี่ยนและยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิต ทันทีและตลอดไป”.
เครดิตภาพ : GETTY IMAGES