ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ นายหร่ออ๊บ มุเส็มสะเดา นายอำเภอท่าแพ จ.สตูลเป็นประธานการประชุมชี้แจงการดำเนินงาน “โครงการขับเคลื่อนการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติด” ที่ทางอำเภอท่าแพจัดขึ้นมา มีส่วนร่วมของชุมชน CBTx “ชุมชนล้อมรักษ์” มีนายอาทิตย์ วงมุสิกปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครองท่าแพ พ.ต.ท.เจริญ เลื่อนแก้ว หัวหน้าชุดปฏิบัติการชุมชนบำบัดอย่างยั่งยืน สภ.ท่าแพ นายสาเร็ม รอเกตุ นายก อบต.แป-ระ นายดาโหด สังขาว ส.อบจ.เขต 2 อำเภอท่าแพ ผู้นำดะวะฮในพื้นที่อำเภอท่าแพ และคณะทำงานชุดปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดตำบลแป-ระ และตำบลท่าเรือ เข้าร่วมประชุม ทั้งนี้เพื่อทำความเข้าใจถึงกระบวนการ และแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ และเพื่อให้การขับเคลื่อนการบำบัดรักษา และฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุวัตถุประสงค์ต่อไป
ที่หมู่ที่ 2 บ้านป่าเสม็ด ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล นายหร่ออ๊บ มุเส็มสะเดา นายอำเภอท่าแพ/ในฐานะ ผอ.ศป.ปส.อ.ท่าแพ นางสาวธิระภรณ์ พลรักษ์ ปลัดอำเภอท่าแพ รับผิดชอบประจำตำบลท่าเรือ และชุดปฎิบัติการประจำตำบลท่าเรือหมู่ที่ 2 มาติดตามการขับเคลื่อนการดำเนินงานกระบวนการบำบัดรักษายาเสพติดโดยชุมชนมีส่วนร่วม (CBT x )ในห้วงระยะเวลา เดือน เม.ย-ก.ค 2567 ที่ผ่านมา พบว่า ที่กลับมาสามารถใช้ชีวิตในชุมชนเพื่อติดตามดูแลผู้ผ่านการบำบัดรักษายาเสพติดจากโรงพยาบาลมินิธัญญารักษ์อำเภอท่าแพ
ทั้งนี้ นายกอหรี ชะยานัย ซึ่งผู้ผ่านการบำบัดรักษาได้มีการบำบัดรักษาโดยการติดตาม จาก ผ.อ รพ.สต. บ้านแป-ระใต้ และกระบวนการใช้ชุมชนมีส่วนร่วม(CBTx) โดยเริ่มวางรูปแบบตามที่ นายอำเภอท่าแพ สั่งการเพื่อให้แนวทางการดำเนินงานในครั้งแรก และต่อจากนั้น มีการติดตามดูแลแนะนำให้กำลังใจทั้งการรักษาและการประกอบอาชีพอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้มีผู้นำชุมชน / ปลัดอำเภอท่าแพ / ตำรวจ สภ.ท่าแพ /อบต/อสม.ในพื้นที่ ดูแลอย่างใกล้ชิด
และนายกอหรีฯ แจ้งต่อ นายอำเภอท่าแพ ว่า พร้อมที่จะให้เปิดเผยตนเองและแนวทางที่สามารถเลิกยาเสพติดและได้กลับมาใช้ชีวิตในชุมชนโดยปกติสุขและได้มอบผัก,ข้าวโพด และไข่ไก่ให้ นายอำเภอท่าแพ ซึ่งเป็นผลิตผลที่ได้จากการลงแรงและการสนับสนุนจากครอบครัว และผู้เกี่ยวข้องหลายส่วนในพื้นที่ นับว่า เป็นโมเดลต้นแบบที่ผู้เคยเสพยาเสพติด และมีการบำบัดรักษายาเสพติด ทั้งที่ จ.นราธิวาส จ.ปัตตานี และ จ.สตูล สามารถเลิกยาเสพติดได้เด็ดขาด รวมถึงการใช้แนวทางศาสนบำบัดเข้าร่วมในการดูแลจิตใจ กรณีศึกษา:การที่ครอบครัวชุมชนดูแลใส่ใจส่วนราชการทุกภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องประสานการทำงานสามารถทำให้ผู้ผ่านการบำบัดรักษาได้เริ่มต้นใหม่มีชีวิตใหม่ที่ชุมชนให้การยอมรับเป็นต้นแบบที่แสดงให้เห็นว่า “ชีวิตที่ผิดพลาด แต่กล้ายอมรับและเริ่มต้นใหม่ครอบครัวให้อภัย สังคมให้โอกาส” กำลังใจจากคนรอบตัว ครอบครัว และชุมชน เป็นสิ่งสำคัญที่สุด เป็นการคืนคนดีสู่สังคมต่อไป.