เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ยังต้องจับตามองการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง สำหรับ “ปลาหมอคางดำ” ที่กำลังแพร่ระบาดเป็นอย่างหนักอยู่ในขณะนี้ ซึ่งมีการเสนอวิธีแก้ปัญหากันอย่างหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือการใช้ “ไซยาไนด์” โดย รศ.ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ อาจารย์คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระบุว่าถึงจะเป็นวิธีที่โหดแต่จบ พร้อมย้ำไซยาไนต์มีอยู่ในธรรมชาติ หากจัดการดีก็ไม่ต้องกลัวผลกระทบนั้น
-ไซยาไนด์คือทางรอด! อ.แม่โจ้ ยันมีวิธีเดียว เร่งจัดการก่อนกระจาย 4 ภาคทั่วไทย
ล่าสุดเมื่อวันที่ 26 ก.ค. รศ.ดร.วีระชัย พุทธวงศ์ นักวิชาการสาขาเคมีอินทรีย์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือที่หลายคนรู้จักดีคือ อ.อ๊อด ได้แสดงความเห็นผ่านรายการเรื่องเด่นเย็นนี้ ช่อง 3 โดยระบุว่า ไม่ควรจะใช้เลย ถึงจะบอกว่าไซยาไนด์เป็นประจุลบ แต่เมื่อแตกตัวมันก็เข้าไป
“ในกรณีที่เสนอให้ใช้สารไซยาไนด์ในการจัดการกับปลาหมอคางดำ อ.อ๊อดคิดว่ายังไม่เหมาะ ยังไม่ควรที่จะใช้วิธีนี้ ถือว่าเป็นวิธีสุดท้ายที่หมดหนทางแล้วถึงจะมาใช้”
ไซยาไนด์มันไปจับกับเหล็กและเม็ดเลือดแดงในตัวปลา ก็จะทำให้ปลาเวลาแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนผ่านน้ำเข้าไปที่เหงือก ออกซิเจนจะไม่สามารถจับกับเลือดของปลาได้ ก็ทำให้ปลาเสียชีวิต “แต่มันก็จะมีผลกระทบในเรื่องสิ่งแวดล้อม แล้วตัวไซยาไนด์ที่แตกตัวเป็นประจุลบก็จะจับกับเลือดที่อยู่ในปลา เพราะฉะนั้นมันก็ตกค้างอยู่ในปลา หมายความว่ามันจะตกค้างในตัวปลา ใครเอาไปกินจะได้รับสารไซยาไนด์ไปด้วย”..
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก @เรื่องเด่นเย็นนี้,@3PlusNews