วันที่ 10 ก.ย. ที่ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรม นิว แทรเวิลลอด์จ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานเปิดการประชุมตามโครงการเสริมสร้างการรับรู้ ให้กับนายจ้าง สถานประกอบการแรงงานต่างด้าว และองค์กรภาคีเครือข่าย จำนวน 200 คน เข้าร่วมโครงการ
นายมนต์สิทธิ์ กล่าวว่า แรงงานต่างด้าวมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคม ทั้งในระดับประเทศและระดับจังหวัด ซึ่งจังหวัดจันทบุรี มีการจ้างแรงงานต่างด้าวทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรมและการบริการ การจัดอบรมในครั้งนี้ เป็นการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับนายจ้างสถานประกอบการ แรงงานต่างด้าว องค์กรภาคีเครือข่ายได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการการทำงานของแรงงานต่างด้าว ข้อกฎหมายที่กับการทำงานของคนต่างค้าว ระเบียบชั้นตอนแนวทางการขอรับใบอนุญาตทำงานให้แก่แรงงานต่างด้าว เพื่อสร้างความตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและแรงงานต่างด้าว เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และการปฏิบัติที่ถูกต้องตามกฎหมาย อันจะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ทั้งนายจ้าง สถานประกอบการ แรงงานต่างด้าว และภาคีเครือข่าย อาทิ กอ.รมน. ตำรวจ ตรวจคนเข้าเมือง สถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
นางสาวอนงค์นุช มีศิริ จัดหางานจังหวัดจันทบุรี กล่าวเพิ่มเติมว่า จังหวัดจันทบุรี มีแรงงานต่างด้าวจำนวนทั้งสิ้น 61,170 คน โดยส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าวกลุ่มมาตรา 64 จำนวน 27,778 คน รองลงมาเป็นกลุ่ม MOU จำนวน 16,094 คน กลุ่มมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 16,021 คน กลุ่มที่เช้ามืองถูกกฎหมาย จำนวน 947 คน และกลุ่มบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน/พื้นที่สูง จำนวน 330 คน ตามลำดับ โดยเป็นแรงงานสัญชาติกัมพูชามากที่สุด จำนวน 45,904 คน คน รองลงมาเป็นสัญชาติลาว จำนวน 10,631 คน สัญชาติเมียนมา จำนวน 3,368 คน คน สัญชาติจีน จำนวน 305 คน และสัญชาติอื่น จำนวน 962 คน
“สำหรับโทษที่จะได้รับจากการฝ่าฝืนกฎหมายคือ นายจ้างรับคนต่างด้าวเข้าทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน มีโทษปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน หากทำผิดซ้ำมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000-200,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน หรือทั้งทั้งปรับและห้ามจ้างคน ต่างด้าวทำงานอีก 3 ปี ส่วนคนต่างด้าวที่ลักลอบทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตทำงาน มีโทษปรับตั้งแต่ 5,000-50,000 บาท ถูกส่งตัวกลับประเทศต้นทาง” จัดหางานจังหวัดจันทบุรี กล่าวปิดท้าย