เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 67 สานิต ศิริวิศิษฐ์กุล หัวหน้าศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นอร์ทกรุงเทพโพล” มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ เปิดเผยว่า จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม 2567 โดยมีผู้สำรวจจำนวน 1,500 คน จากทั่วภูมิภาค ถึงเรื่อง “เปรียบเทียบความสุขทางการเงินและการดำเนินชีวิตประจำเดือนเดือน กันยายน 2567”
โดยการสำรวจได้สอบถามถึง “ความสุขในฐานะทางการเงินของชีวิต ซึ่งคำนึงถึงภาวะรายรับ รายจ่าย และหนี้สิน” โดยประชาชนผู้ให้สำรวจ มีความสุขเพิ่มขึ้น ร้อยละ 52.8 โดยแบ่งเป็น เพิ่มขึ้นมาก ร้อยละ 26.1 และ ค่อนข้างเพิ่มขึ้นมาก ร้อยละ 26.7 นอกจากนี้ประชาชนผู้ให้สำรวจยังยังมีความคิดเห็นว่ามีความสุขใกล้เคียงเดิม ร้อยละ 17.4 ลดน้อยลง ร้อยละ 17.5 และลดน้อยลงมาก ร้อยละ 12.3
นายสานิต ได้สอบถามต่อว่าถึง “ความสุขในการดำเนินชีวิตของผู้ให้รำรวจ” ได้ข้อสรุปว่า ประชาชนมีความสุขเพิ่มขึ้น ร้อยละ 63.8 แบ่งเป็น มีความสุขเพิ่มขึ้นมาก ร้อยละ 23.4 ค่อนข้างเพิ่มขึ้นมาก ร้อยละ 40.4 และมีความสุขใกล้เคียงเดิม ร้อยละ 16.4 ลดน้อยลงร้อยละ 14.7 และลดน้อยลงมากร้อยละ 5.1
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ ภายในช่วงเดือนกันยายน 2567 มีความสุขในการดำเนินชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน และมีฐานะทางการเงินที่ดีขึ้น ผลจากภาพรวมเศรษฐกิจในประเทศไทยที่พื้นตัว จึงส่งผลต่อรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ขณะเดียวกันความวุ่นวายทางการเมืองยังลดลงอย่างชัดเจน ประกอบกับราคาสินค้าต่างๆ โดยเฉพาะพืชผลทางการเกษตรยังมีความเหมาะสม อีกทั้งความขัดแย้งในสังคมยังคลี่คลายด้วยดี จึงทำให้การดำเนินชีวิตของประชาชนออกมาเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญ โดยระยะยาวยังมองว่า ความสุขในการดำเนินชีวิตและฐานะทางการเงินของประชาชนคนไทย จะฟื้นตัวได้เป็นลำดับ.