วันที่ 17 ต.ค. ที่ห้องประชุมศรีปราชญ์ ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช นายสมชาย ลีหล้าน้อย รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรราช เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัดนครศรีธรรมราช (ก.ช.ภ.จ.นศ.) ครั้งที่ 8/2567โดยมีป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครศรีธรรมราช คณะกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช้าร่วมประชุม โดยสรุปการประกาศเขตการให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินจังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม – 15 ตุลาคม 2567 จำนวน 45 ฉบับ เกิดวาตภัย ในพื้นที่ 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสิชล ชะอวด เชียรใหญ่ ช้างกลาง ท่าศาลา พรหมคีรี ขนอม เมือง นศ. ปากพนัง และอำเภอนบพิตำ มีราษฎรได้รับความเดือนร้อน จำนวน 2,343 คน 568 ครัวเรือน ที่อยู่อาศัยประจำเสียหายบางส่วน จำนวน 141 หลัง เกิดอัคคีภัย ในพื้นที่ 5 อำเภอ
ได้แก่ อำเภอชะอวด ปากพนัง สิชลพรหมคีรี และอำเภอทุ่งใหญ่ ราษฎรได้รับความเดือนร้อน จำนวน 30 คน 9 ครัวเรือน (เสียชีวิต จำนวน 1ราย) ที่อยู่อาศัยประจำเสียหายบางส่วน จำนวน 7 หลัง เสียหายทั้งหลัง จำนวน 2 หลัง เกิดไฟป่า ในพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และภัยอื่น ๆ ภัยจากสัตว์ป่า (ช้างป่า) ลงมาจากป่าสร้างความเสียหายในพื้นที่การเกษตรของราษฎรในพื้นที่อำเภอพิปูน ได้รับความเดือนร้อน จำนวน 15 คน 10 ครัวเรือน และเกิดอุทกภัยในพื้นที่อำเภอช้างกลาง ราษฎรได้รับความเดือนร้อน จำนวน 360 คน 120 ครัวเรือน คอสะพานเสียหาย จำนวน 1 แห่ง และไหล่ทางเสียหาย จำนวน 1 สาย และเกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่อำเภอพรหมคีรี ทำให้ราษฎรได้รับความเดือนร้อน 3 คน จำนวน 3 ครัวเรือน เสียชีวิต จำนวน 2 ราย บาดเจ็บ 1 คน “สรุปในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน รวม 209 ฉบับ และ ได้ดำเนินการประกาศสิ้นสุดสถานการณ์ภัยพิบัติครบทุกฉบับเรียบร้อยแล้ว ซึ่งปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตั้งแต่วันที่ 1-15 ตุลาคม 2567 จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน 4 ฉบับ ประกอบด้วย วาตภัย อัคคีภัย น้ำป่าไหลหลาก ซึ่งได้ดำเนินการประกาศสิ้นสุดสถานการณ์ภัยพิบัติครบทุกฉบับเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งได้เน้นย้ำการปฏิบัติงานการดำเนินการของทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ต้องรวดเร็ว ช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันท่วงที
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้ร่วมกันพิจารณารับรองการขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ที่ประชาชนได้รับความเสียหาย เดือดร้อน กรณีเกิดคลื่นลมแรงทำให้เรือประมงของประชาชนจมในทะเล ในพื้นที่อำเภอสิชล และกรณีประชาชนในพื้นที่อำเภอพิปูนได้รับความเดือดร้อนจากเหตุช้างป่าลงมาในพื้นที่การเกษตรของราษฎรในพื้นที่ตำบลเขาพระ ตำบลพิปูน อำเภอพิปูน และ ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ ได้รับความเดือดร้อน รวมทั้งกรณีเกิดน้ำป่าไหลหลากบริเวณน้ำตกวังลอง (สองรัก) อำเภอพรหมคีรี ทำให้นักท่องเที่ยวจำนวน 3 คน ลอยไปกับน้ำ ทำให้มีผู้เสียชีวิต จำนวน 2 รายบาดเจ็บ 1 ราย