สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 23 ต.ค.ว่าสภาประชาชนแห่งชาติ (เอ็นพีซี) ในกรุงปักกิ่ง ผ่านกฎหมายแก้ไขบางมาตราของกฎหมายการศึกษาฉบับปัจจุบัน มีเนื้อหาสำคัญว่า รัฐบาลท้องถิ่น “มีพันธกิจ” ในการ “บรรเทาความตึงเครียดสองทาง” ให้กับเด็ก หมายถึง การบ้านจากที่โรงเรียน และแบบฝึกเพิ่มเติมจากโรงเรียนกวดวิชา และการกำหนดนโยบายสำหรับใช้ในท้องที่ของตัวเอง “ขอความร่วมมือ” ให้ผู้ปกครองบริหารจัดการเวลาของบุตรหลาน ให้สามารถทำกิจกรรมอื่นได้อย่างเหมาะสมตามวัย ไม่ว่าจะเป็น การเล่นกับเพื่อนวัยเดียวกัน การออกกำลังกาย และการผ่อนคลายในรูปแบบอื่น
China passes law to cut homework pressure on students https://t.co/KElMveYfQw pic.twitter.com/WkumPryPTa
— Reuters (@Reuters) October 23, 2021
ขณะเดียวกัน เอ็นพีซีเตรียมพิจารณาร่างกฎหมายแก้ไข “การศึกษาภายในครอบครัว” ฉบับใหม่ โดยประเด็นที่มีการพิจารณา รวมถึงการที่ผู้ปกครอง “อาจถูกประณาม” หรือต้องเข้าสู่ “กระบวนการแนะแนวเกี่ยวกับครอบครัว” หากพนักงานสอบสวนมีความเห็นว่า การที่เด็กและเยาวชน “มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม รุนแรงและเลวร้าย” เป็นผลจากการอบรมสั่งสอน และการเลี้ยงดูของบุคคลนั้น อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความชัดเจน ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะใช้หลักการใดตรวจสอบ
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเรียกได้ว่า เป็นสัญญาณล่าสุดของ “การปฏิรูปสังคม” ในจีน โดยเมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาลปักกิ่งกำหนดวันและเวลาในการเล่นเกมออนไลน์ของผู้เยาว์ เหลือเพียง 3 วันต่อสัปดาห์ คือ ศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ และสามารถใช้เวลาที่หน้าจอได้ไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมง
Tutors, parents and students are bearing the brunt of China’s crackdown on private tutoring that put the brakes on a once-bustling industry offering off-campus classes. pic.twitter.com/hhKfrAAsK9
— South China Morning Post (@SCMPNews) August 6, 2021
นอกจากนี้ ยังมีการยกเลิกสอบข้อเขียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ส่วนนักเรียนในระดับชั้นสูงกว่านั้นของระบบการศึกษาภาคบังคับ “ต้องไม่เกิน 1 ครั้งต่อ 1 ภาคการศึกษา” โดยการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นยังสามารถมีการสอบกลางภาคและการสอบย่อยแบบอื่นได้ ส่วนสถาบันกวดวิชาห้ามจัดการสอนออนไลน์ ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ และในช่วงปิดภาคเรียน.
เครดิตภาพ : GETTY IMAGES