รศ. นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ สาขาวิชาโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ออกมาให้ความรู้ถึงวิธีการดูแลผู้ป่วยโรคไต หากเป็นแล้วดูแลกันอย่างไร
อาการของโรคไตเป็นอย่างไร
สำหรับ โรคไต อาการ สามารถแบ่งออกได้ 2 ระยะหลัก ๆ ได้แก่
1. โรคไตอาการเริ่มต้น อาการของผู้ป่วยโรคไตระยะแรก มักมีอาการ ดังนี้
- ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- เหนื่อยง่ายมากกว่าปกติ
- บางรายอาจมีอาการน้ำหนักลดลงผิดปกติ
- ผิวหนังแห้งซีดและมีจ้ำเลือดตามร่างกาย
- เบื่ออาหาร และคลื่นไส้อาเจียน
- มือเท้าชา ปวดบริเวณบั้นเอว
- ปวดศีรษะบริเวณขมับหรือท้ายทอย
- ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
2. โรคไตระยะสุดท้าย อาการของผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายมีอาการ ดังนี้
- ปัสสาวะลดน้อยลงหรือแทบไม่ปัสสาวะเลย
- เลือดออกหรือเป็นแผลในกระเพาะอาหาร
- หายใจเองลำบาก
- กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
- ปอดบวมและไอหรืออาเจียนเป็นเลือด
- มีอาการชักหรือหมดสติบ่อยครั้ง
- กระดูกแตกหักได้ง่าย
- เลือดหยุดไหลยาก เนื่องจากการทำงานของระบบเลือดผิดปกติ
- มีอาการติดเชื้อหรือเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย
วิธีดูแลตัวเองเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วย โรคไต
โรคไตหากเป็นมาจนถึงระยะเรื้อรังแล้วอาจไม่สามารถทำการรักษาให้หายขาดจากโรคได้แต่สามารถประคองและรักษาให้อาการดีขึ้นได้ ขึ้นอยู่ที่คนไข้ดูแล และรักษาสุขภาพร่างกายของตัวเองได้ดีแค่ไหน
ทั้งนี้วิธีการดูแลตัวเองหรือคนรอบข้างเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคไต สามารถทำตามได้ ดังนี้
- ใส่ใจในเรื่องอาหารการกินมากขึ้น ไม่รับประทานอาหารรสจัดเป็นประจำ
- ไม่ควรหายามารับประทานเองอย่างเด็ดขาด ควรอยู่ในการดูแลและคำแนะนำของแพทย์เป็นหลัก
- หากมีโรคแทรกซ้อนควรระมัดระวัง และควรทราบถึงวิธีการดูแลอาการของโรคเหล่านั้น
- รักษาความสะอาดของร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดโอกาสของการติดเชื้อ
- รู้จักเฝ้าสังเกตความผิดปกติของร่างกาย หากพบว่ามีอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นควรรีบไปพบแพทย์
- ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อรักษาอย่างต่อเนื่อง
การดูแลเบื้องต้นเหล่านี้สามารถทำได้ง่าย ๆ
ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไต เพื่อหลีกเลี่ยงและลดอัตราการป่วยที่รุนแรงขึ้นกว่าเดิม ซึ่งสามารถบรรเทาการเกิดโรคแทรกซ้อนและส่งผลให้อาการของโรคดีขึ้นได้ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตควรได้รับการรักษาและทราบถึงวิธีรักษาโรคไตอย่างถูกต้อง นอกจากนี้การรักษาที่ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด คือการเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เช่น แพทย์เฉพาะทางหรืออายุรแพทย์โรคไต การเข้ารับรักษาในโรงพยาบาลที่มีประสิทธิภาพก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้การรักษาเป็นไปอย่างดีมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงสิ่งสำคัญอย่างการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้ดูแลอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูและดีขึ้นในที่สุด