อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ได้พูดถึงเรื่องนี้ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว “หมอหมู วีระศักดิ์” ซึ่งเปิดผลการศึกษาวิจัยใหม่ล่าสุดว่า “อยากลดความดันโลหิตไหม? แค่ออกกำลังกาย 20 นาทีก็ลดแล้ว”
โดยหมอหมู ระบุข้อความว่า การศึกษาใหม่แสดงให้เห็นว่า การเพิ่มการออกกำลังกายในช่วงสั้นๆ เช่น การเดินขึ้นบันไดหรือการเดินขึ้นเนินเข้าไปในกิจวัตรประจำวัน อาจช่วยลดความดันโลหิตได้ โดยงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Circulation ดำเนินการโดยทีมงานจาก ProPASS (Prospective Physical Activity, Sitting and Sleep) Consortium ซึ่งเป็นความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศที่นำโดยมหาวิทยาลัยซิดนีย์และ University College London (UCL)
นอกจากนี้ การทดแทนการนั่งด้วยกิจกรรมต่างๆ เป็นเวลา 20-27 นาที เช่น การเดินขึ้นบันได การวิ่ง หรือการปั่นจักรยาน อาจช่วยลดความดันโลหิตได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อแรงกดของเลือด ที่กระทบกับผนังหลอดเลือดแดงสูงเกินไปอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้หัวใจและหลอดเลือดต้องทำงานหนัก โดยภาวะนี้สามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และไตวาย
อีกทั้ง ค่าความดันโลหิตสูงโดยทั่วไปคือ 140/90 mmHg หรือสูงกว่า โดยโรคความดันโลหิตสูงซึ่งรู้จักกันในนาม “ฆาตกรเงียบ” ส่งผลต่อผู้ใหญ่ทั่วโลกจำนวน 1.28 พันล้านคน และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไต เพื่อศึกษาว่ากิจกรรมทางกายต่างๆ ส่งผลต่อความดันโลหิต
จนกระทั่ง ทีมวิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลจากอาสาสมัคร 14,761 คน จาก 5 ประเทศ ผู้เข้าร่วมแต่ละคนสวมเครื่องวัดความเร่งที่ต้นขาเพื่อติดตามกิจกรรม และระดับความดันโลหิตของตน โดยนักวิจัยแบ่งประเภทกิจกรรมประจำวันออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่ การนอน การนั่ง การเดินช้า การเดินเร็ว การยืน และการออกกำลังกายที่ต้องออกแรงสูง เช่น การวิ่งและการขึ้นบันได เพราะพวกเขาใช้แบบจำลองทางสถิติ เพื่อประเมินผลกระทบของการทดแทนระยะเวลาที่อยู่นิ่ง ด้วยกิจกรรมทางกายระดับปานกลางถึงเข้มข้น
โดยผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การออกกำลังกายเพียง 20-27 นาทีต่อวัน สามารถลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจได้ถึง 28% และการออกกำลังกายทุกรูปแบบ แม้แต่การวิ่งขึ้นรถบัสหรือปั่นจักรยาน ไปยังจุดหมายใกล้เคียงก็ล้วนมีประโยชน์ แม้ว่าการเดินจะมีประโยชน์ แต่กิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก จะมีผลกระทบต่อความดันโลหิตมากที่สุด
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทั้งหมดที่หมอหมูนำเสนอ มีการอ้างอิงแหล่งที่มาชัดเจน และได้พยายามอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ แต่บางครั้งอาจมีการโต้แย้งในข้อมูล ซึ่งเป็นเรื่องปกติในแวดวงวิชาการ ดังนั้น จึงขอเรียนทุกท่านว่า โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านบทความของหมอหมู และควรหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความถูกต้องอีกครั้ง
ขอบคุณข้อมูล : หมอหมู วีระศักดิ์