เมื่อวันที่ 29 พ.ย.ที่ห้องประชุมศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 8 พล.ต.ท.สุรพงษ์ ถนอมจิต ผบช.ภ.8 พร้อมด้วย พล.ต.ต.เสริมพันธุ์ ศิริคง ผบก.ภ.จว.สุราษฎร์ธานี พ.ต.อ.ศิริชัย สุขศาตต์ รอง ผบก.ภ.จว.สุราษฎร์ธานี พ.ต.อ.ไพศาล สังข์เทพ รอง ผบก.ภ.จว. สุราษฎร์ธานี พ.ต.ท.ณัฐพงษ์ ร่มไทร รอง ผกก.สอบสวน สภ.กาญจนดิษฐ์ ช่วยราชการศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติและแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย(ศปชก.) ภ.จว. สุราษฎร์ธานี ร่วมกันแถลงผลการปฎิบัติงานการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติและแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย หลังจากที่ ศปชก.ภ.จว. สุราษฎร์ธานี ได้ทำการสืบสวนสอบสวนและรวบรวมพยาน จนสามารถดำเนินคดีอาญาจำนวน 8 คดี ประกอบด้วย บริษัทนอมินี จำนวน 8 บริษัท ,สำนักงานกฎหมาย 2 ราย,ชาวต่างชาติ 2 ราย และคนไทย 16 ราย ในความผิดร่วมกันกระทำผิดเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542

ผู้การสุราษฎร์ ตั้งคณะทำงานสางคดี ‘นอมินี’ เซ่นปมแม่บ้านมรดกร้อยล้าน

พล.ต.ท.สุรพงษ์ กล่าวว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ. กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผบ.ตร.มีนโยบายสำคัญเกี่ยวกับการกวาดล้างจับกุมผู้กระทำความผิดของคนต่างด้าว เช่น การกระทำความผิดตาม พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 การทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต ตลอดจนการกระทำผิดกฎหมายอื่นๆ ที่มีคนต่างด้าว เป็นผู้กระทำผิด โดยเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2567 เทศบาลนครเกาะสมุย ได้ร่วมกับสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ตรวจพบว่ามีการก่อสร้างอาคารบนพื้นที่เขาสูง จำนวน 15 แปลง เชื่อว่าเป็นการก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สภ.บ่อผุด อ.เกาะสมุย ให้ดำเนินคดีกับ บริษัทต่างๆหลายบริษัท ที่ก่อสร้างอาคารบนที่ดินดังกล่าว ในความผิด ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522

ต่อมา พล.ต.ต. เสริมพันธุ์ ศิริคง ผบก.ภ.จว. สุราษฎร์ธานี ในฐานะ ผอ.ศปชก.ภ.จว. สุราษฎร์ธานี จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานโดยมอบหมายให้ พ.ต.อ.ศิริชัย สุขศาตต์ รอง ผบก.ภ.จว. สุราษฎร์ธานีเป็นหัวหน้าคณะ ทำการสืบสวนสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน เนื่องจากการตรวจสอบในเบื้องต้นพบว่าบริษัทที่ถูกกล่าวหา อาจเข้าข่ายการกระทำความผิดเกี่ยวกับการเปิดบริษัทโดยใช้คนไทยถือหุ้นแทน (คดีนอมินี )

ซึ่งจากการสืบสวน พบว่า นายโฮลเกอร์ แอส สัญชาติเยอรมัน ได้เดินทางเข้ามาประเทศไทยเมื่อปี 2554 ด้วยวีซ่านักท่องเที่ยว ต่อมาได้ มีการจัดตั้งบริษัทนิติบุคคลและทำธุรกิจวิลล่าให้เช่า โดยมี ลูกจ้างเป็นคนไทย 5 คน และใน 2558 นายโฮลเกอร์ได้ จัดตั้งบริษัทนิติบุคคลจำนวน 2 บริษัท โดยใช้คนไทยซึ่งอดีตเคยเป็นคนงานในวิลล่าเป็นกรรมการบริษัท เพื่อซื้อที่ดินบนเขาเฉวงน้อย ต.บ่อผุด เนื้อที่ 10 ไร่ ได้ก่อสร้างวิลล่าเพื่อขายให้กับลูกค้าชาวต่างประเทศ ชื่อโครงการ “ซีบรีซ” และแบ่งแยกที่ดินตามวิลล่าที่สร้าง นำชื่อบริษัท นอมินี

นายโฮลเกอร์ แอส รับโอนที่ดินที่แบ่งแยก เป็น หลายบริษัท โดยในโครงการดังกล่าว ได้มีการยื่นขออนุญาตอนุญาตก่อสร้างอาคาร 19 หลัง ปัจจุบันสร้างแล้วเสร็จและมีผู้อยู่อาศัย 13 หลัง ซึ่งในการสืบสวนของเจ้าหน้าที่พบว่า ในการขายวิลล่าทั้ง 13 หลัง มีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยหลังละ 30 ล้าน แต่กลุ่มบริษัทของนายโฮลเกอร์ จะใช้วิธีเพิ่มหุ้นส่วนในบริษัทนิติบุคคลสัญชาติไทยที่จัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นการหลบเลี่ยงภาษี และไม่ต้องทำนิติกรรมที่สำนักงานที่ดิน ในการทำธุรกิจของ นายโฮลเกอร์ จะมีสำนักงานกฎหมายคอยให้การช่วยเหลือและ แนะนำ

พล.ต.ท.สุรพงษ์ กล่าวด้วยว่า ในขั้นตอนการดำเนินคดี จะมีการตั้งคณะทำงาน เพื่อบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่นปกครองท้องถิ่น ที่ดิน สำนักงานพาณิชย์จังหวัด กองทัพภาคที่ 4 และสำนักผู่ตรวจการแผ่นดิน เนื่องจากมีกฎหมายในหลายส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง และขณะเดียวกันระหว่างที่มีการรวบรวมพยานหลักฐาน และดำเนินคดีจะส่งเรื่องให้ สรรพากร ดำเนินการเกี่ยวกับ ภาษีบุคคลธรรมดา ภาษีนิติบุคคล และภาษีการซื้อขาย ,ส่งเรื่องให้ สำนักงานที่ดิน ดำเนินการเกี่ยวกับที่ดิน รวมถึงการส่งเรื่องให้ฝ่ายปกครองดำเนินการตรวจสอบเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจโรงแรม ของกลุ่มบริษัทนิติบุคคลที่ถูกดำเนินคดีด้วย

“ตำรวจภูธรภาค8 จะนำรูปแบบการสืบสวนสอบ ดำเนินคดีนอมินีกับบริษัทนิติบุคคล ของ ศปชก.ภ.จว. สุราษฎร์ธานี ไปขยายผลใช้กับพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ทั้งที่ จ. ภูเก็ต พังงา และกระบี่ เนื่องจากล่าสุดพบว่าในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญพี่อยู่ในความรับผิดชอบของตำรวจภูธรภาค 8 ก็มีปัญหาลักษณะเดียวกัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาปัญหาการเข้าถือครองที่ดินและการประกอบธุรกิจของชาวต่างด้าว ด้านการท่องเที่ยว ทำให้ประเทศไทยสูญเสียโอกาส สูญเสียรายได้ และเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ท้องถิ่นซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวกลับได้รับผลประโยชน์น้อยมาก หลังจากนี้การทำงานของเราจะบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำงานร่วมกันยับยั้งการก่อเหตุอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ “ พล.ต.ท.สุรพงษ์ ถนอมจิต ผบช.ภ.8 กล่าวในที่สุด

ส่วนกรณีของ นางแคทเธอรีน นักธุรกิจวิลล่าชาวฝรั่งเศสที่ก่อเหตุฆ่าตัวตายบนวิลล่าหรู ใน อ. เกาะสมุย แล้วทำพินัยกรรม ยกทรัพย์สิน ให้ ป้าติ๋ม แม่บ้านคนสนิทมูลค่าร่วม 100 ล้าน ซึ่งต่อมาพนักงานสอบสวน ศปชก.ภ.จว. สุราษฎร์ธานี รวบรวมพยานหลักฐานและดำเนินคดีบริษัทนิติบุคคลรวมถึงนางแคทเธอรีน ตามความผิด พรบ. ประกอบธุรกิจของชาวต่างด้าว พ.ศ.2542 นั้น พ.ต.ท.ณัฐพงศ์ ร่มไทร รอง ผกก.สภ.กาญจนดิษฐ์ ช่วยราชการพนักงานสอบสวน ศป.กล่าวว่า ในส่วน กรณีบริษัทนิติบุคคลเธอรีน ซึ่งเราได้ดำเนินการร้องทุกข์กล่าว

โทษไปแล้วนั้นหากภายหลังศาลมีคำพิพากษา ว่าเป็นการจัดตั้งบริษัทนิติบุคคลโดยผิดกฎหมาย ศาลก็จะมีคำสั่งให้จำหน่ายทรัพย์ของนิติบุคคลออกไป แล้วนำเงินสด กลับคืนสู่หุ้นส่วน ซึ่งในคดีนี้เมื่อเป็นนอมินีคนไทยทั้ง 2 คน จึงไม่มีสิทธิได้รับแบ่งผลประโยชน์ ตามอัตราหุ้น ดังนั้นเงินสดที่ได้จากการขายทอดทรัพย์สินจะต้องตกไปเป็นของนางแคทเธอรีนทั้งหมด ฉนั้นจะต้องไปดูในส่วนของพินัยกรรม ว่าจะครอบคลุมถึงเงินสด ที่ได้จากการขายทรัพย์สินหรือไม่