เมื่อวันที่ 30 พ.ย.67 ที่ผ่านมา ณ.โรงแรม โฮเทล วิสมา ราชบุรี กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดกิจกรรมประชุมออกแบบหลักสูตรการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากร ที่ทำงานด้านวิทยุชุมชน โดยมี ดร.เนตรดาว ยั่งยุบล จากศูนย์นวัตกรรมทางสังคมเพื่อการบริหารและการพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี ผู้ประสานโครงการฯ พร้อมด้วย ดร.ทองหยาด ทองผือ นายกสมาคมวิชาชีพวิทยุโทรทัศน์ภาคตะวันตก และสถานีวิทยุชุมชน ในเขตภาคตะวันตก ซึ่งประกอบไปด้วย สุพรรณบุรี นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม จำนวน 40 สถานี เข้าร่วม

ดร.เนตรดาว ยั่งยุบล ผู้ประสานโครงการฯ กล่าวว่ากิจกรรมประชุมออกแบบหลักสูตรการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากร ที่ทำงานด้านวิทยุชุมชน มีวัตถุประสงค์สำคัญคือเพื่อยกระดับมาตรฐานการทำงานของวิทยุชุมชนให้มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น ด้วยการสร้างมาตรฐานทางจริยธรรมของเครือข่ายกลุ่มของวิทยุชุมชนในการกำกับดูแลกันเอง โดยตัวมาตรฐานทางจริยธรรมที่จัดทำขึ้น จะเป็นตัวที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของวิทยุชุมชนกับวิทยุทดลองประกอบกิจการอื่นๆ ทำให้วิทยุชุมชนเกิดความ น่าเชื่อถือจากสังคมภายนอก และเป็นการสร้างเครือข่ายวิทยุชุมชนในการฝึกการกำกับดูแลกันเอง ให้ข้อมูล ข่าวสารที่สื่อสารมีประโยชน์กับประชาชนในชุมชนจริงๆ ประชาชนในพื้นที่สามารถมีช่องทางร้องเรียนหากพบว่า วิทยุชุมชนของตนมีการนำเสนอข้อมูลที่บิดเบือนจากความเป็นจริง เป็นข้อมูลที่ไม่เป็นประโยชน์กับ ชุมชน หรือมีการทำผิดหลักการหรือเจตนารมณ์ของวิทยุชุมชน ขึ้นในมิติการรู้เท่าทันสื่อ เพราะในปัจจุบันจากการที่ภูมิทัศน์สื่อได้เปลี่ยนไป การสื่อสารได้เข้าสู่ยุคหลอมรวม ข้อมูลข่าวสารเชื่อมถึงกัน การพัฒนาให้เครือข่ายวิทยุชุมชนสามารถปรับตัวและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปจึงมีความจำเป็น รวมทั้งการทำให้เครือข่ายวิทยุชุมชนสมารถวิเคราะห์สื่อต่างๆให้เกิดความรู้เท่าทัน เพราะสถานีวิทยุชุมชน มีหน้าที่ในการกระจายข่าวสารสู่ชุมชนและสังคม หากนักจัดรายการวิทยุชุมชน ไม่สามารถวิเคราะห์และรู้เท่าทันถึงข้อมูลหรือข่าวสารที่รับมาได้ เมื่อสื่อสารออกไปก็จะทำให้ชุมชนหรือผู้รับสารรับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องไปได้ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในช่วงที่ผ่านมา


การระดมความคิดเห็น พูดคุยแลกเปลี่ยนและจัดทำข้อเสนอสื่อวิทยุชุมชนในการกำกับติดตามและมุมมองต่ออนาคตภาพของสื่อท้องถิ่นเพื่อสร้างสรรค์สื่อให้ปลอดภัยและสร้างสรรค์โดยมีรูปแบบการสนับสนุนและการกำกับติดตามวิทยุชุมชน ภายใต้ประเด็น การสร้างสรรค์รายการวิทยุ สื่อชุมชนให้เป็นสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ วิทยุและสื่อชุมชน ท้องถิ่น ในประเด็นต่อ “การปรับตัว” ทางออก ทางเลือกสำหรับสื่อชุมชน สื่อวิทยุ ข้อเสนอในการขับเคลื่อนวิทยุและสื่อชุมชน ในเรื่องของรูปแบบ เนื้อหา ช่องทาง การสนับสนุน ความต้องการ รวมไปถึง จริยธรรมสื่อ การติดตามและการกำกับดูแลสื่อวิทยุและสื่อชุมชนเพื่อยกระดับมาตรฐานการทำงานของวิทยุชุมชนให้มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น ด้วยการสร้างมาตรฐานทางจริยธรรมของเครือข่ายกลุ่มของวิทยุชุมชนในการกำกับดูแลกันเอง โดยตัวมาตรฐานทางจริยธรรมที่จัดทำขึ้น จะเป็นตัวที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของวิทยุชุมชนกับวิทยุทดลองประกอบกิจการอื่นๆ ทำให้วิทยุชุมชนเกิดความน่าเชื่อถือจากสังคมภายนอก และเป็นการสร้างเครือข่ายวิทยุชุมชนในการฝึกการกำกับดูแลกันเอง ให้ข้อมูลข่าวสารที่สื่อสารมีประโยชน์กับประชาชนในชุมชนจริงๆ เพราะในปัจจุบันจากการที่ภูมิทัศน์สื่อได้เปลี่ยนไป การสื่อสารได้เข้าสู่ยุคหลอมรวม ข้อมูลข่าวสารเชื่อมถึงกัน การพัฒนาให้เครือข่ายวิทยุชุมชนสามารถปรับตัวและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปจึงมีความจำเป็น


ด้านนายสุทพ วิไลเลิศ ผู้ปฎิบัติงานประจำคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ในภาระกิจการปฏิรูปสื่อวิทยุชุมชนในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นรูปธรรมหนึ่ง ที่มีความชัดเจนในมิติของการเปลี่ยนมือการเป็นเจ้าของคลื่นความถี่จากรัฐมาเป็นของประชาชน แต่การพัฒนาให้วิทยุชุมชนเป็นสื่อที่มีคุณภาพ มีศักยภาพในการทำการผลิตข่าวสารดีๆสู่สังคม มีมาตรฐานทางจริยธรรมในการทำงานในการกำกับดูแลกันเองและนำไปสู่การยอมรับของประชาชนในสังคม ถือเป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญ และการสนับสนุนจากหลาย ฝ่าย โครงการพัฒนามาตรฐานจริยธรรมและการรู้เท่าทันสื่อของเครือข่ายวิทยุชุมชนจึงมีความจำเป็น และถือเป็นอีกขั้นหนึ่งของพัฒนาการที่สำคัญ ของเครือข่ายวิทยุชุมชนในสังคมไทย


ในปัจจุบันวิทยุชุมชนมีการสื่อสารที่หลากหลาย ในการนำเสนอข่าว และข้อเท็จจริงคือเครื่องมือเพื่อส่งต่อในการเสริมแรง สร้างพลังในการขับเคลื่อนไปสู่สังคมขนาดใหญ่ในระดับประเทศผ่านการแลกเปลี่ยน แบ่งปันโดยทักษะวิชาชีพ ด้วยการใช้เครือข่ายทำงานในพื้นที่ โดยมีรูปแบบการสื่อสารที่ถูกยกระดับเป็นการสื่อสารเชิงความรู้สิ่งเดิมและสิ่งใหม่ และรูปแบบการสื่อสารบนฐานนวัตกรรมการสื่อสาร เช่น การถ่ายทอดสด การทำสื่อออนไลน์ ที่ทำให้เกิดการแบ่งปัน และเกิดเป็นพลเมืองที่มีความสากลและตื่นรู้และสามารถก้าวข้ามข้อจำกัด ไม่ว่าจะเป็นด้านงบประมาณในการดำเนินงานในสถานี (การต่ออายุสถานี) ที่มีการรวมตัวของสถานีวิทยุและนักข่าวชุมชน และนำไปสู่การบริหารจัดการวิทยุชุมชนที่ยั่งยืน และทำให้ผู้ประกอบการขยายธุรกิจออกไปด้วยการสนับสนุนกองทุนสหกรณ์ที่เกิดจากการรวมตัวของผู้ประกอบการสถานีวิทยุชุมชนเพื่อดำเนินงานให้เกิดต้นแบบของการทำงาน สมารถสร้างพื้นที่ใน 4 ระดับประกอบด้วย “พื้นที่กลาง” ที่สามารถเข้ามาร่วมกำหนดความหมายและร่วมปฏิบัติการร่วมกัน “พื้นที่ปลอดภัย” “พื้นที่สร้างสรรค์” ต่อทั้งตัวเองและครอบครัว เป็นพื้นที่ที่มีความรู้ มีทางออกและสามารถต่อยอดได้ และ “พื้นที่สื่อดี” เพื่อการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี และสร้างคุณค่าให้กับสังคม นายสุเทพ กล่าวทิ้งท้าย.