นายอเล็กซานเดอร์ สตุกเลฟ (Alexander Stuglev) ประธานคณะกรรมการและซีอีโอของมูลนิธิรอสคองเกรส เปิดเผยว่า มูลนิธิรอสคองเกรส ได้ร่วมกับสถานทูต และคณะผู้แทนการค้าของรัสเซียประจำประเทศไทยจัดการประชุมส่งเสริมศักยภาพธุรกิจและการลงทุนของรัสเซียเป็นครั้งแรกในประเทศ เพื่อรวมชุมชนธุรกิจรัสเซียและไทยเข้าด้วยกันเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันในบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันจะสร้างโอกาสใหม่ๆ สำหรับการติดต่อทางธุรกิจ ข้อตกลง และการพัฒนาผลประโยชน์ร่วมกัน ขณะเดียวกันถือเป็นก้าวสำคัญในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียและไทย และส่งเสริมการพัฒนาโครงการร่วมกัน
ประเทศไทยยังคงรักษาความสัมพันธ์อันดีกับรัสเซียท่ามกลางการคว่ำบาตรจากกลุ่มประเทศตะวันตก โดยในปี 2566 ความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างรัสเซียและไทยยังคงพัฒนาต่อเนื่อง ซึ่งมีมูลค่าการค้าถึง 1,500 ล้านดอลลาร์ โดยเชื่อมั่นว่า ตัวเลขดังกล่าวมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมองว่ารูปแบบความร่วมมือในอนาคตควรเป็นความร่วมมือระดับประเทศของทั้งไทยและรัสเซียผ่านการเจรจาที่ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการในรัสเซียพร้อมร่วมมือกับประเทศไทยในโครงการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนระบบการบริหารสาธารณะให้เป็นดิจิทัล ความปลอดภัยทางไซเบอร์ โทรคมนาคม และเทคโนโลยีการสื่อสาร ในปี 2023 การส่งออกสินค้าเกษตรกรรมของรัสเซียมายังประเทศไทยมีมูลค่าเกิน 20 ล้านเหรียญสหรัฐ และเพิ่มขึ้นสองเท่าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2024 เพราะตลาดไทยมีความสำคัญโดยเฉพาะผู้ส่งออกธัญพืชของรัสเซีย เนื่องจากภาคปศุสัตว์ของไทยบริโภคอาหารสัตว์มากกว่า 21 ล้านตันต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการนำเข้า

นอกจากนี้ รัสเซียยังสามารถขยายการส่งออกข้าวสาลีและปลาแช่แข็ง ซึ่งรัสเซียเป็นผู้นำในตลาดโลกอยู่แล้ว ในขณะที่สินค้าการส่งออกหลักจากรัสเซียมายังไทย ได้แก่ โลหะและผลิตภัณฑ์โลหะ สินค้าอุตสาหกรรมเคมี ผลิตภัณฑ์แร่ และไม้รวมถึงผลิตภัณฑ์เยื่อกระดาษและกระดาษ การทำงานร่วมกันที่สำคัญคือความร่วมมือในการจัดการกับภัยคุกคามทางอาญาต่างๆ สภาความมั่นคงในรัสเซียและไทยหารือเกี่ยวกับการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศ อาชญากรรมข้ามชาติ การค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ การลักลอบค้าอาวุธ การฟอกเงินและอาชญากรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ
ตามที่ได้มีการระบุไว้ใน International Business Forum “World of Opportunities: Russia-ASEAN” ที่ผ่านมาว่า ความร่วมมือกับประเทศในกลุ่มอาเซียนยังคงดำเนินต่อไปและเป็นหนึ่งในกลุ่มความร่วมมือที่รัฐบาลรัสเซียให้ความสำคัญ ซึ่งประเทศไทยในฐานะหนึ่งในเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียนมีความน่าสนใจเป็นพิเศษในมุมมองของภาคธุรกิจรัสเซีย โดยหน้าที่ของมูลนิธิรอสคองเกรส คือรวบรวมโอกาสทั้งหมดเพื่อความร่วมมือระหว่างธุรกิจรัสเซียและไทย ซึ่งเป็นเวลากว่า 15 ปีแล้ว,ที่มูลนิธิฯให้การสนับสนุนทั้งธุรกิจระหว่างประเทศไทยและรัสเซียในการสร้างความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพ ค้นหาพันธมิตร และระบุผู้มีโอกาสเป็นนักลงทุน
ทั้งนี้ ประเทศไทยให้ความสนใจในแหล่งพลังงานของรัสเซียรวมถึง LNG น้ำมัน ปิโตรเคมี และการผลิตไฟฟ้า ความร่วมมือยังขยายออกไปในด้านวิทยาศาสตร์ เกษตรกรรม และการจัดซื้อผลิตภัณฑ์ของรัสเซีย รวมถึงอาหารทะเล สินค้าจากตะวันออกไกลของรัสเซีย เนื้อวัว และผลิตภัณฑ์จากนม ขณะเดียวกันประเทศไทยยังคงเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางยอดนิยมในเอเชียสำหรับนักท่องเที่ยวชาวรัสเซีย รัสเซียอยู่ในอันดับที่ 5ในกลุ่มนักท่องเที่ยวระดับชาติที่มาเยือนประเทศไทยและเป็นตลาดยุโรปที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการท่องเที่ยวของไทย
จากข้อมูลของกระทรวงกีฬาและการท่องเที่ยวของประเทศไทยชาวรัสเซียมากกว่า 1.2 ล้านคนเดินทางมาประเทศไทยตั้งแต่ต้นปี จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น 15% เป็นผลมาจากการยืดเวลาการพำนักโดยไม่ต้องขอวีซ่าสำหรับชาวรัสเซียเป็น 60 วัน และ ในช่วงฤดูท่องเที่ยว จำนวนนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียเพิ่มขึ้น100% อ้างอิงข้อมูลตามที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยนางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) คาดการณ์ว่าภายในสิ้นปีนี้ นักท่องเที่ยวชาวรัสเซียเดินทางมาเที่ยวประเทศไทย จำนวน 1.7 ล้านคน ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้ให้กับเศรษฐกิจของประเทศไทยประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์
สำหรับ การประชุมครั้งนี้จึงมอบโอกาสให้ธุรกิจไทยในการหาพันธมิตรในฝั่งรัสเซีย เรียนรู้เกี่ยวกับมาตรการสนับสนุนสำหรับนักลงทุนต่างชาติ และเข้าสู่ตลาดรัสเซีย พร้อมมอบเครื่องมือที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้ ตัวอย่างเช่นแพลตฟอร์ม “RC-Investments” สนับสนุนโครงการธุรกิจด้านการลงทุนและการส่งออก เหมาะสำหรับธุรกิจระหว่างประเทศที่กำลังมองหาพันธมิตรการลงทุนในรัสเซีย แพลตฟอร์มนี้เชื่อมโยงนักลงทุนมากกว่า 500 รายและพันธมิตร 80,000 ราย ด้วยการสนับสนุนของเรา มีการลงนามข้อตกลงมากกว่า 60 ฉบับ มีโครงการมากกว่า 300 โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ และดึงดูดการลงทุนทั้งหมดเกิน 22 พันล้านดอลลาร์

ที่ผ่านมามูลนิธิรอสคองเกรสสร้างโอกาสแก่ธุรกิจไทย ในการค้นหาคู่ค้า บรรลุข้อตกลง และหารือเพื่อการร่วมมือในอนาคตและสิ่งสำคัญ คือ ปัจจุบันการพัฒนาความร่วมมือของทั้งสองประเทศได้เริ่มดำเนินการแล้ว โดยรัฐบาลรัสเซียเสนอเงื่อนไขที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจให้แก่ประเทศไทย ตัวอย่างเช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษ อาทิ พื้นที่การพัฒนาขั้นสูงในภาคตะวันออกไกล ผ่านการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและขั้นตอนการบริหารที่ไม่ซับซ้อน โดยประเทศไทยสนใจการส่งออกและความช่วยเหลือใน อุตสาหกรรมท่องเที่ยวจากรัสเซีย นอกจากนี้ การส่งมอบผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรรวมทั้งทรัพยากรด้านพลังงานของรัสเซีย อย่างสม่ำเสมอช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมภายในประเทศของไทยและช่วยลดต้นทุนการผลิตเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ โครงการของมูลนิธิรอสคองเกรส มีส่วนสำคัญในการช่วยสนับสนุนความร่วมมือดังกล่าว และการนำเสนอโครงการข้างต้น ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งนี้ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย อีกทั้งยังได้นำเสนอเวทีเสวนาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น St. Petersburg International Economic Forum, the Russian Energy Week, the Russian Tourism Forum “Let’s travel!”, the St. Petersburg International Legal Forum, the Russian Design Industry Forum และ the Eastern Economic Forum. ที่ผ่านมาภาคธุรกิจไทยเข้าร่วมกิจกรรมของมูลนิธิรอสคองเกรสอย่างต่อเนื่องตัวอย่างเช่น ในปี 2566 นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และตัวแทนจากบริษัทในอุตสาหกรรมต่างๆ ในภาคพลังงานและ เทคโนโลยี จำนวน157 แห่งได้เข้าร่วมวงเสวนา Eastern Economic Forum และในปี 2567 ประเทศไทยได้นำเสนอนิทรรศการ ขนาดใหญ่ ภายใต้ชื่อ the Russian Tourism Forum “Let’s travel!”
ด้านเยฟกินี โทมิคิน (Evgeny Tomikhin) เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ไทยและรัสเซียได้สร้างความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จ ในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ เช่น พลังงานและเกษตรกรรม รวมทั้งกำลังหารือประเด็นการบังคับใช้กฎหมายผ่านสภาความมั่นคงของรัสเซียและไทย นอกจากนี้ทั้งสองประเทศอยู่ในช่วงพิจารณาความเป็นไปได้ของข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับสหภาพเศรษฐกิจ ยูเรเชีย ซึ่งอาจช่วยสนับสนุนการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจได้ อีกทั้งความร่วมมือด้านมนุษยธรรมก็อยู่ในช่วงดำเนินการผ่านโครงการร่วมในด้านวิทยาศาสตร์ การศึกษา และวัฒนธรรม โดยมั่นใจว่าการประชุมครั้งนี้จะกลายเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาโครงการในพื้นที่เหล่านี้ รวมถึง ในเวทีธุรกิจสำคัญในรัสเซีย”