สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงโรม ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 31 ต.ค.ว่าที่ประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ “จี20” ที่กรุงโรม บรรลุฉันทามติร่วมกัน เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ในการจัดทำกลไกพหุภาคี ที่เป็นฐานการเสียภาษีนิติบุคคลสำหรับบริษัทข้ามชาติ
Day one of the G20 Summit in Rome, Italy, included leaders from the world's 20 largest countries — who all endorsed a new 15% global minimum corporate tax, designed to prevent companies from moving abroad in search of the lowest rate. pic.twitter.com/TlH0h4jGI4
— CBS Evening News (@CBSEveningNews) October 30, 2021
ทั้งนี้ หลักการบังคับใช้ฐานภาษีดังกล่าว คือการที่รัฐบาลของประเทศซึ่งเป็นสถานที่ตั้งสำนักงานของบริษัทข้ามชาติแห่งนั้นต้องเก็บภาษีอย่างน้อย 20% จากอัตรากำไร 10% หรือการที่รัฐบาลของแต่ละประเทศร่วมกันกำหนดอัตราภาษีนิติบุคคลสำหรับบริษัทข้ามชาติ ให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน คือที่ระดับ 15% เพื่อป้องกันการตัดอัตราภาษีกันเอง
#G20: President Biden and other world leaders take the 2021 G20 Summit family photo. pic.twitter.com/m1CqH1yn69
— Forbes (@Forbes) October 30, 2021
มติดังกล่าว สอดคล้องกับที่ประชุมกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก 7 แห่ง หรือ จี7 เห็นชอบเมื่อเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา แม้ฐานภาษียังน้อยกว่าที่สหรัฐเรียกร้องไว้เล็กน้อย คือไม่ต่ำกว่า 21% แต่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แสดงความพึงพอใจกับมติของจี20
ปัจจุบันบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่หลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นแอมะซอน กูเกิล ไมโครซอฟท์ และเฟซบุ๊ก เน้นเปิดสาขาในประเทศซึ่งเรียกเก็บภาษีนิติบุคคลในอัตราต่ำ เช่น ไอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก แล้วให้สำนักงานที่นั่นเป็นผู้ทำรายงานผลประกอบการ เพื่อจ่ายภาษีตามอัตราที่รัฐบาลของประเทศนั้นเรียกเก็บ ซึ่งในทางทฤษฎี “ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย”.
เครดิตภาพ : AP