จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้มีประกาศจากกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ห้ามเผาในที่โล่งทุกชนิดในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน จึงให้ประกาศห้ามเผาในที่โล่งทุกชนิดในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 15 มาตรา 21 มาตรา 22 และมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 จึงประกาศห้ามเผาในที่โล่งทุกชนิดในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยกำหนดมาตรการและแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

1. ห้ามเผาในพื้นที่การเกษตร ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 25,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 มาตรา 25) กรณีเกษตรกรรายใดมีประวัติการเผาในพื้นที่การเกษตร เกษตรกรรายนั้นจะได้รับสิทธิในการเข้าร่วมโครงการสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพเกษตรกรทุกโครงการ โดยเป็นการขาดคุณสมบัติในการเข้าร่วมโครงการสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพเกษตรกร นับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2568 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2570 (ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม 2568)

2. ห้ามเผาในพื้นที่เอกชน/พื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ชุมชน ผู้ใดฝ้าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 25,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 มาตรา 25)

3. ห้ามเผาในพื้นที่ข้างทางหรือถนน ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท (พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 130)

4. ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของผู้อำนวยการตามมาตรา 21 ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 มาตรา 21 มาตรา 49)

5. ผู้ใดกระทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่วัตถุใดๆ แม้เป็นของตนเอง จนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคอื่นหรือทรัพย์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปีและปรับไม่เกินหนึ่งแสนสีหมื่นบาท ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าว ในวรรคแรก เป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ตามที่ระบุในมาตรา 218 ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2200)

6. ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาทุกคน ทุกสังกัด ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน คณะกรรมการหมู่บ้าน และคณะกรรมการชมชน ให้ถือเป็นหน้าที่ที่ต้องดำเนินการช่วยกันป้องกัน ควบคุม ดูแลแก้ไขปัญหาการเกิดฝุ่นควันและการเผาในที่โล่ง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบแก่ประชาชน