สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองฮูฮอต เมืองเอกของเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน เมื่อวันที่ 2 พ.ย. คณะนักบรรพชีวินวิทยาจีนประกาศการค้นพบไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ที่มีส่วนหน้าสุดของกระดูกสันหลังช่วงกลางหลัง (dorsal vertebrae) เป็นรูปผีเสื้อ ซึ่งจัดเป็นลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากไดโนเสาร์กลุ่มโทรโอดอนทิด (troodontids) ตัวอื่น

ทีมวิจัยพบตัวอย่างต้นแบบของไดโนเสาร์ดังกล่าวในเขตปกครองตนเองมองโกเลียในทางตอนเหนือของจีน ประกอบด้วยกะโหลกสภาพเกือบสมบูรณ์ ความยาวรวม 12 เซนติเมตร และชิ้นส่วนกระดูกหลังกะโหลกศีรษะ (postcranial bones) ขณะส่วนลำตัวยาวถึง 1 เมตร

เผยรุ่ย นักวิจัยจากสถาบันบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังและมานุษยวิทยาบรรพกาล (IVPP) สังกัดสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน (CAS) ระบุว่าไดโนเสาร์ข้างต้นอาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลายเมื่อประมาณ 83-70 ล้านปีก่อน โดยอยู่ในขั้นโตเต็มวัย ซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญทั้งในแง่การพัฒนาเชิงปัจเจกและวิวัฒนาการของประชากรไดโนเสาร์กลุ่มใหญ่

อนึ่ง การค้นพบฉบับออนไลน์ได้รับการเผยแพร่ในวารสารครีเทเชียส รีเสิร์ช (Cretaceous Research) เมื่อเดือนตุลาคม

เครดิตภาพ : ซินหัว