สำนักข่าวซินหัวรายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 27 ก.พ. ว่า การก่อสร้างเตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 นี้ จะใช้งานซีเอพี1000 (CAP1000) ซึ่งเป็นเครื่องปฏิกรณ์น้ำอัดความดันรุ่นที่ 3 โดยจะผสมผสานการก่อสร้างแบบโมดูลาร์ เทคโนโลยีอาคารดิจิทัล และการเชื่อมอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความปลอดภัยและเศรษฐกิจ
โครงการนี้มีแผนสร้างเตาปฏิกรณ์ทั้งหมด 6 เครื่อง โดยการก่อสร้างเตาปฏิกรณ์หมายเลข 5 และหมายเลข 6 เริ่มขึ้นในปี 2565 และ 2566 ตามลำดับ โดยใช้หัวหลง 1 ซึ่งเป็นเทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์ รุ่น 3 ซึ่งออกแบบในจีน
เมื่อเตาปฏิกรณ์ทั้ง 6 เครื่อง ทำงานเต็มรูปแบบแล้ว คาดว่าโครงการดังกล่าว จะสามารถผลิตไฟฟ้าราว 52,000 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี เทียบเท่าการประหยัดถ่านหินมาตรฐาน 15.77 ล้านตัน และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ราว 42.69 ล้านตันต่อปี.
ข้อมูล : XINHUA
เครดิตภาพ : AFP