บริษัท วรุณา (ประเทศไทย) จำกัด หรือ วรุณา (VARUNA) ผู้เชี่ยวชาญด้านการขับเคลื่อนคาร์บอนอย่างยั่งยืน ในกลุ่มบริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี (ARV) ร่วมแบ่งปันวิสัยทัศน์ในงาน “Achieving Net-Zero: The Critical Role of Nature-Based Solutions and Technology” ซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมมือกับ เครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (Thailand Carbon Neutral Network: TCNN) ภายใต้องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO ซึ่งจัดขึ้นเพื่อสนับสนุนความรู้และอัปเดตสถานการณ์ของโครงการคาร์บอนเครดิต ภาคป่าไม้ โดยมีผู้เข้าร่วมจากหลากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ที่สนใจด้านสิ่งแวดล้อม
พณัญญา เจริญสวัสดิ์พงศ์ ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท วรุณา (ประเทศไทย) จำกัด ได้ร่วมแสดงวิสัยทัศน์และทิศทางการรักษาสิ่งแวดล้อมของโลก ภายใต้หัวข้อ “Tech-Driven Pathways to Net-Zero: Forest Monitoring and Verified Carbon Credits” โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ป่าไม้ผ่านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และรักษาสมดุลของระบบนิเวศ ว่า ในยุคที่เรากำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนถือเป็นกุญแจสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและ รักษาสมดุลของระบบนิเวศ โดยเฉพาะการอนุรักษ์ป่าไม้ ซึ่งเป็นป้อมปราการสำคัญในการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ เราจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่ทันสมัยและแม่นยำ
โดยเฉพาะเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (Geographic Information System: GIS) ดาวเทียมและอากาศยานไร้คนขับที่มีบทบาทสำคัญในการติดตามการเปลี่ยนแปลงของผืนป่าอย่างใกล้ชิด ช่วยในการประเมินความสมบูรณ์และการเติบโตของป่า คำนวณปริมาณคาร์บอนที่ถูกกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ ประเมินความเสี่ยงจากไฟป่าหรือการสูญเสียพื้นที่ป่า รวมถึงสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการรายงานข้อมูล ทั้งนี้ยังช่วยส่งเสริมการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ภายในองค์กร และนำข้อมูลมาประกอบรายงานก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Report: GHG Report) หรือรายงานความยั่งยืนตามแนวทาง ESG (Environmental Social Governance) ซึ่งสามารถติดตามผลได้อย่างต่อเนื่อง และช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย Net Zero ได้อย่างยั่งยืน

โดย Smart Forest Platform จากวรุณา เป็นแพลตฟอร์มเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียว (Grreen Area Management) ที่ใช้เทคโนโลยีดาวเทียมโดรนมัลติสเปกตรัม และแพลตฟอร์มบริหารจัดการพื้นที่สีเขียว เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เน้นการบริหารจัดการแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Management) โดยสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงในแต่ละจุดอย่างแม่นยำ พร้อมทั้งสามารถระบุพื้นที่ที่มีปัญหา ซึ่งช่วยผู้พัฒนาโครงการลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการลงพื้นที่ อีกทั้งการแสดงผลของข้อมูล สนับสนุนการตัดสินใจ และการวางแผนพัฒนาพื้นที่สีเขียวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งวรุณาหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการผสานการทำงานระหว่างบุคคลและเทคโนโลยี เพื่อการดูแลรักษาป่าและฟื้นฟูป่าที่เสื่อมโทรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน Smart Forest Platform เข้ามาช่วยองค์กรในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- การวิเคราะห์พื้นที่เพื่อวางแผนการพัฒนาโครงการป่าไม้ (Area Assessment)
- การติดตามการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่สีเขียว (Green Area Monitoring)
- การตรวจจับและแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า (Wildfire Hotspot Detection and Notification)
- การป้องกันการบุกรุกและทำลายพื้นที่ป่า (Prevention of Deforestation)
- การให้ชุมชนและหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการดูแลพื้นที่สีเขียว (Community Management for Forest Protection and Biodiversity Preservation)
- การวางแผนเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยภาพถ่ายทางอากาศ (Forest Replantation Planning by Aerial Survey)
- การประเมินชีวมวลและคาร์บอนกักเก็บในพื้นที่สีเขียว (Biomass and Carbon Sequestration)
นอกจากนี้ ทีมงานวรุณาได้ร่วมเสวนาในหัวข้อ “Smart Forest Platform: To Increase Transparency of Nature-based Project Development” เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความโปร่งใสในการพัฒนาโครงการที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและส่งต่อโลกที่อุดมสมบูรณ์ให้กับคนรุ่นหลังต่อไป