สำนักข่าวซินหัวรายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 24 มี.ค. ว่า คณะนักวิจัยนำโดยมหาวิทยาลัยเป่ยหาง ออกแบบหุ่นยนต์ยาว 50 เซนติเมตร ด้วยแรงบันดาลใจจากรูปแบบการเคลื่อนที่ของปลาค้างคาว โดยหุ่นยนต์นี้สามารถว่ายน้ำ ดิ่งร่อน และคลานเลื้อย ขณะที่หุ่นยนต์กำลังว่ายน้ำ สามารถสร้างแรงขับผ่านครีบหางที่มีความเร็วสูงสุด 5.5 เซนติเมตรต่อวินาที และเคลื่อนที่ 3 เซนติเมตรต่อวินาที ระหว่างการเลื้อยคลานเลื้อยด้วยขาบนพื้นผิวดินทราย


พานเฟย ผู้เขียนผลการศึกษาคนแรกจากมหาวิทยาลัยเป่ยหาง กล่าวว่า คณะนักวิจัยได้สร้างอุปกรณ์กระตุ้นแบบยืดหยุ่นที่ใช้ประโยชน์ จากคุณสมบัติความแข็งแกร่งของวัสดุซิลิโคลนนิ่มภายใต้แรงกดดันสูง โครงสร้างวัสดุดังกล่าว แปรเปลี่ยนแรงกดดันสุดขั้วเป็นความเร็วและแอมพลิจูดสำหรับตัวกระตุ้น นับเป็นการแปลงจุดอ่อนเป็นประโยชน์


คณะนักวิจัยได้ติดสปริงอัลลอยแบบจำรูปร่างเดิม เข้ากับตัวกระตุ้นของหุ่นยนต์ ซึ่งสปริงนี้จะสั่นอย่างรวดเร็วและถี่สูงด้วยความร้อน นำพาจากกระแสน้ำซ้ำคาบในสภาวะอุณหภูมิทะเลลึก 2-4 องศาเซลเซียส


เหวินลี่ ผู้ร่วมเขียนผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเป่ยหาง กล่าวเสริมว่า หุ่นยนต์ขนาดเล็กนี้ที่ถูกติดตั้งอยู่บนยานดำน้ำแบบมีมนุษย์ควบคุม “เซินไห่ หย่งซื่อ” และ “เฟิ่นโต้วเจ่อ” ของจีน ได้ผ่านการทดสอบในร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา ความลึก 10,600 เมตร และทะเลลึกแห่งอื่น รวมถึงถูกเก็บกู้กลับขึ้นมาในสภาพสมบูรณ์.

ข้อมูล-ภาพ : XINHUA