สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 12 เม.ย. ว่า นพ.มาร์ติน มาคารี กรรมาธิการเอฟดีเอ กล่าวว่า ความริเริ่มนี้ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ในการทดลองยา มีเป้าหมายเพื่อลดการทดลองในสัตว์ ปรับปรุงวิธีการ หรือแทนที่ด้วย “New Approach Methodologies” (เอ็นเอเอ็ม) หรือแนวทางวิธีการใหม่ ซึ่งรวมไปถึงการใช้แบบจำลองที่อ้างอิงตามเอไอ เพื่อคาดการณ์พฤติกรรมของยา และผลข้างเคียง รวมถึงการทดสอบในโครงสร้างคล้ายอวัยวะมนุษย์ ที่สร้างขึ้นในห้องปฏิบัติการ
Today, the FDA is taking a groundbreaking step to advance public health by replacing animal testing in the development of monoclonal antibody therapies and other drugs with more effective, human-relevant methods.https://t.co/m8vsOah6qx pic.twitter.com/Jkruz8PGV7
— U.S. FDA (@US_FDA) April 10, 2025
ข้อมูลจากสมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาติ (เอ็นเอบีอาร์) ระบุว่า ปัจจุบัน ยังไม่มีสิ่งทดแทนการทดสอบในตัวอย่างสัตว์ ทั้งในงานวิจัยชีวการแพทย์และการพัฒนายา แม้เอไอจะมีแนวโน้มช่วยเร่งความเร็วในหลายด้านของการวิจัย
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยส่วนใหญ่ของการทดลอง ล้วนขึ้นอยู่กับการใช้ข้อมูลที่มีอยู่ ดังนั้น ตัวแปรที่ไม่รู้จักอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้ป่วยได้ จึงถือเป็นการทดลองน่าสนใจ เพื่อที่จะได้เห็นว่า เอไอสามารถทดแทนสิ่งมีชีวิตทางชีวภาพตัวไหนได้หรือไม่
ด้านเอฟดีเอกล่าวว่า พวกเขาจะเริ่มนำแนวทางใหม่นี้มาใช้ทันที โดยสนับสนุนการใช้ข้อมูลจากเอ็นเอเอ็ม แทนข้อมูลจากการทดลองในสัตว์ ขณะที่บริษัทต่าง ๆ ซึ่งส่งข้อมูลความปลอดภัยจากการทดลองที่ไม่ได้ใช้สัตว์ อาจได้รับการตรวจสอบแบบรวดเร็ว เพื่อจูงใจให้เกิดลงทุนในการทดสอบที่ทันสมัย.
เครดิตภาพ : GETTY IMAGES