สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 28 พ.ค. ว่า จีนเป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยผลิตเหล็กกล้ามากกว่า 1,000 ล้านตันในปี 2567 และอุปสงค์ภายในประเทศที่ลดลง ทำให้ผู้ผลิตหลายรายต้องมองหาตลาดต่างประเทศ
โออีซีดี ระบุว่า ตลาดเหล็กของโลก ถูกบิดเบือนโดยแรงผลักดันที่ไม่ใช่กลไกตลาด ซึ่งผู้ผลิตที่ไม่ได้รับผลประโยชน์จากเงินอุดหนุน ไม่สามารถแข่งขันได้อย่างเท่าเทียม
Global #steel excess capacity could hit 721M tonnes by 2027—more than all OECD countries produce combined.
— OECD ➡️ Better Policies for Better Lives (@OECD) May 27, 2025
The OECD Steel Outlook 2025 urges action to:
➡️ End market-distorting subsidies
➡️ Boost transparency
➡️ Invest in steel decarbonisation
Read more: https://t.co/gv98ntv9L7 pic.twitter.com/txrgJgqc3Y
“อัตราการอุดหนุนเหล็กของจีน ที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้บริษัท สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศพันธมิตรอื่น ๆ ถึง 5 เท่า” โออีซีดี ระบุเสริม โดยชี้ให้เห็นว่า การส่งออกเหล็กของจีน เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า นับตั้งแต่ปี 2563 และแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 118 ล้านตัน เมื่อปีที่แล้ว ขณะที่การนำเข้าเหล็กลดลงเกือบ 80% เหลือ 8.7 ล้านตัน
นอกจากนี้ ตลาดอสังหาริมทรัพย์จีนที่ซบเซา ยังส่งผลให้ความต้องการเหล็กลดลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งบริษัท อันกัง สตีล ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่อันดับสามของโลก ระบุเมื่อเดือน มี.ค. ที่ผ่านมาว่า บริษัทขาดทุนเกือบ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 32,700 ล้านบาท) ในปีที่แล้ว
อนึ่ง เหล็กกล้าราคาถูกในปริมาณมาก ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความพยายามในการลงทุนเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอุตสาหกรรม จากเดิมที่การผลิตเหล็กเป็นสาเหตุของการปล่อยมลพิษดังกล่าวทั่วโลกถึง 8%.
เครดิตภาพ : AFP