สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย เมื่อวันที่ 23 พ.ย. ว่า นายดมิทรี เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน แถลงเมื่อวันจันทร์ว่า การที่สื่อตะวันตกหลายแห่ง นำโดยสำนักข่าวสหรัฐ พร้อมใจกันนำเสนอรายงานว่า รัฐบาลมอสโกมีแผนรุกรานยูเครน เหตุจากการประจำการทหารและสรรพาวุธจำนวนมาก ประชิดชายแดนทางตะวันตกที่ติดกับยูเครน “คือเจตนาดิสเครดิตรัสเซีย” ทั้งที่การเคลื่อนไหวของทหารรัสเซียอยู่ภายในดินแดนของตัวเองตลอด “จึงไม่น่ารวบกวนใจฝ่ายใด”
อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวกรองทหารของยูเครนยืนยันว่า รัสเซียวางกำลังพลมากกว่า 92,000 นาย ตลอดแนวชายแดนที่ติดกัน และมีความเป็นไปได้สูงมาก ที่ปฏิบัติการทางทหารข้ามพรมแดน จะเกิดขึ้นภายในเดือน ม.ค.ปีหน้า “หรืออย่างช้าที่สุด” คือไม่เกินต้นเดือนก.พ.นี้ โดยกลยุทธ์ที่ใช้อาจรวมถึง การโจมตีทางอากาศ การยกพลขึ้นบก และการเคลื่อนพลเข้าสู่ยูเครนผ่านเบลารุส ซึ่งยังคงเป็นพันธมิตรเหนียวแน่นกับรัสเซีย
The US State Department is behind a spate of reports that Moscow is planning to order a full-scale invasion of neighboring Ukraine, threatening to plunge the world into a war, Russia's top foreign intelligence agency has insisted.https://t.co/QTxjwXkJWW
— Bryan MacDonald (@27khv) November 22, 2021
ข้อมูลดังกล่าวเรียกเสียงวิจารณ์อย่างหนักจากนายเซอร์เก ลาฟรอฟ รมว.การต่างประเทศรัสเซีย ที่กล่าวว่า “ยิ่งสะท้อนเจตนายั่วยุ” ของยูเครน ขณะที่สำนักข่าวกรองต่างประเทศของรัสเซีย ( เอสวีอาร์ ) ออกแถลงการณ์วิจารณ์กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ “กลายเป็นหน่วยงานเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อ” ว่า “รัสเซียกำลังจะส่งรถถังข้ามแดนไปยังยูเครน” ทั้งที่ตอนนี้ กองทัพยูเครนวางกำลังทหารและสรรพาวุธประชิดติดพรมแดนกับรัสเซียและเบลารุส
อนึ่ง นายแอนโทนี บลิงเคน รมว.การต่างประเทศสหรัฐ กล่าวเมื่อไม่นานมานี้ว่า รัสเซีย “จะใช้สูตรเดิม” นั่นคือ “การรุกรานเพราะถูกยั่วยุ”
Ukrainian Defense minister Oleksiy Reznikov stresses that the decisive actions, including by the U.S., are needed to make Russia withdraw its troops from its border with Ukraine. pic.twitter.com/ZdkZTzU725
— UATV English (@UATV_en) November 22, 2021
ขณะเดียวกัน เอสวีอาร์ยังวิจารณ์รัฐบาลวอชิงตันและสหภาพยุโรป ( อียู ) กำลังพยายามสร้างบรรยากาศให้เหมือนช่วงก่อนสงคราม “ขนาดย่อม” ระหว่างรัสเซียกับจอร์เจีย หรือ “สงคราม 5 วัน” เมื่อเดือน ส.ค. 2551 ซึ่งสงครามครั้งนั้นยุติด้วยความพ่ายแพ้ของจอร์เจีย การสูญเสียการควบคุมสาธารณรัฐปกครองตนเองอับคาเซีย 25% และสาธารณรัฐเซาท์ออสเซเทีย 40%.
เครดิตภาพ : GETTY IMAGES