สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. ว่า มูลนิธิฮาล์ฟ-เอิร์ธ โปรเจคท์ เผยแพร่แถลงการณ์ว่า ศาสตราจารย์กิตติคุณ อี.โอ.วิลสัน นักธรรมชาติวิทยาและนักชีววิทยาชื่อดัง ชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งโครงการนี้ ซึ่งดำเนินงานเป็นหลักเพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพบนโลก เสียชีวิตอย่างสงบ ขณะมีอายุได้ 92 ปี
Sad news to share: my colleague Ed Wilson (EO Wilson) of @HarvardOEB & @MCZHarvard passed away this afternoon. He was an inspirational biologist, curator, mentor, writer and advocate for natural history & conservation. He will be greatly missed. pic.twitter.com/THWqYa1CwD
— Hopi Hoekstra (@hopihoekstra) December 27, 2021
ศ.กิตติคุณ อี.โอ.วิลสัน มีชื่อจริงว่า เอ็ดเวิร์ด ออสบอร์น วิลสัน เกิดเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2472 ที่เมืองเบอร์มิงแฮม ในรัฐแอละแบมา มีความสนใจด้านกีฏวิทยา หรือการศึกษาเฉพาะทางเกี่ยวกับแมลง ตั้งแต่อายุเพียง 10 ปี
Edward O. Wilson, a U.S. naturalist dubbed the "modern-day Darwin" died on Sunday at the age 92 in Massachusetts, his foundation said in a statement. https://t.co/JaEtv24mbY
— Reuters Science News (@ReutersScience) December 27, 2021
ตลอด 70 ปีของอาชีพ ศ.กิตติคุณ วิลสัน สอนประจำอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และทุ่มเทศึกษาค้นคว้าจนพบมดมากกว่า 400 ชนิด ทั้งนี้ ศ.กิตติคุณ วิลสัน เคยกล่าวว่า หนึ่งในผลงานสำคัญที่สุด คือการค้นพบว่า มดสื่อสารกันอย่างไรเมื่ออยู่ในยามอันตราย และวิธีการลำเลียงอาหารของมด
ผลงานดังกล่าวส่งผลให้ ศ.กิตติคุณ วิลสัน ได้รับการยกย่องเป็นวงกว้างในแวดวงวิชาการ โดยมีการขนานนามให้เป็น “ชาร์ลส ดาร์วิน ยุคใหม่” “ชาร์ลส ดาร์วิน แห่งศตวรรษที่ 21” และ “บิดาแห่งชีววิทยาสังคม” โดยสหประชาชาติ (ยูเอ็น) กำลังเรียกร้องให้นานาประเทศดำเนินการตามเป้าหมาย “30 ภายใน 30” ที่หมายถึงการรักษาทรัพยากรดินและน้ำภายในประเทศของตัวเอง ให้ได้ 30% ภายในปี 2030 หรือ พ.ศ. 2573.
เครดิตภาพ : GETTY IMAGES