สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เมื่อวันที่ 12 ม.ค. ว่านายเยนส์ สโตลเทนเบิร์ก เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ให้การต้อนรับนายอเล็กซานเดอร์ กรุชโค รมช.การต่างประเทศรัสเซีย และ พ.อ.อเล็กซานเดอร์ โฟมิน รมช.กลาโหมของรัสเซีย ที่สำนักงานใหญ่ของนาโต ในกรุงบรัสเซลส์ เมื่อวันพุธ โดยเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีครึ่ง ที่การประชุมแบบนี้เกิดขึ้น
Russia and NATO are heading into talks after Moscow massed forces near Ukraine and sought a range of security concessions.
— TRT World (@trtworld) January 12, 2022
A primer on key Russian demands ? pic.twitter.com/sJ5z9O2UhM
Russia, the world's largest country, has few friends on its western flank and seeks to consolidate influence in ex-USSR regions, which explains why Moscow bristles at NATO's eastward expansion and is keen on keeping Ukraine out of the alliance
— TRT World (@trtworld) January 12, 2022
For more: https://t.co/pf2VIHgqBl pic.twitter.com/0g8fWBtcDG
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลมอสโกยื่นเอกสารข้อเรียกร้อง “หลักประกันด้านความมั่นคง” ต่อที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงนาโต-รัสเซีย โดยรัสเซียยืนยันว่า “ไม่ใช่การยื่นคำขาด” แต่ต้องการ “คำตอบที่เป็นรูปธรรม” จากนาโตซึ่งมีสหรัฐเป็นแกนนำ แต่สถานการณ์ในเวลานี้อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ในบริบทของความมั่นคงยุโรป และผลประโยชน์ของรัสเซีย “ความชัดเจน” ของผลการเจรจา จึงเป็นเรื่องที่ไม่สามารถชะลอได้อีกต่อไป

ความสัมพันธ์ระหว่างนาโตกับรัสเซียกำลังอยู่ใน “จุดตกต่ำที่สุดนับตั้งแต่ยุคสงครามเย็น” เหตุจากบรรยากาศตามแนวพรมแดนฝั่งตะวันออกของยูเครน ที่ติดกับภาคตะวันตกของรัสเซีย ซึ่งทหารของทั้งสองฝ่ายตรึงกำลังประชิดพรมแดนกันมานานหลายเดือน ท่ามกลางข้อครหาของสหรัฐและพันธมิตร ว่าบรรยากาศตึงเครียดที่ปกคลุมพื้นที่ “เป็นเค้าลางของการเตรียมรุกล้ำข้ามพรมแดน”
ขณะที่รัฐบาลมอสโกยืนกรานปฏิเสธข้อครหาทั้งหมด ยืนยันไม่เคยมีแผนใช้มาตรการทางทหารต่อยูเครน ส่วนการซ้อมรบครั้งล่าสุด ซึ่งเกิดขึ้นเพียงวันเดียวก่อนถึงกำหนดการประชุมร่วมระหว่างนาโตกับรัสเซียนั้น “ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน”
สำหรับหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญของรัฐบาลมอสโก คือการที่นาโตต้องไม่รับสมาชิกเพิ่มที่เป็นกลุ่มอดีตสหภาพโซเวียต หรือเคยมีสถานะเป็นรัฐบริวาร และยุติกิจกรรมทางทหารในประเทศยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก ซึ่งเข้าเป็นสมาชิกนาโต หลังปี 2540 เนื่องจากเรื่องนี้ “มีผลกระทบโดยตรง” ต่อเสถียรภาพและความมั่นคงของรัสเซีย
เมื่อมีการซักถามเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการที่ฟินแลนด์จะเข้าเป็นสมาชิกนาโต “ได้หรือไม่” รัสเซียกล่าวว่า “นาโตคือกลไกของการเผชิญหน้า” การเพิ่มจำนวนสมาชิกจึงย่อมก่อให้เกิด “ความวิตกกังวล” กับรัฐบาลมอสโก.
เครดิตภาพ : REUTERS