สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงอาบูจา ประเทศไนจีเรีย เมื่อวันที่ 13 ม.ค. ว่า กระทรวงข่าวสารและวัฒนธรรมของไนจีเรียออกแถลงการณ์เมื่อวันพุธ เรื่องการยุติการปิดกั้นการเข้าถึงทวิตเตอร์ภายในประเทศ ซึ่งมีผลตั้งแต่เดือน มิ.ย.ปีที่แล้ว เนื่องจากหนึ่งในบริษัทด้านเทคโนโลยีรายใหญ่ของสหรัฐ “ให้คำมั่น” กับทางการไนจีเรีย ว่าจะปฏิบัติตามกฎหมาย ที่รวมถึงการแต่งตั้งผู้แทนประจำไนจีเรีย และทำความเข้าใจกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของไนจีเรียให้มากขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญในการบัญญัติกฎหมายของไนจีเรีย
We are pleased that Twitter has been restored for everyone in Nigeria. Our mission in Nigeria & around the world, is to serve the public conversation.
— Twitter Public Policy (@Policy) January 13, 2022
We are deeply committed to Nigeria, where Twitter is used by people for commerce, cultural engagement, and civic participation.
ทั้งนี้ รัฐบาลไนจีเรียปิดกั้นการใช้งานทวิตเตอร์ภายในประเทศ หลังมีการลบข้อความออกจากบัญชีอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีมูฮัมมาดู บูฮารี ซึ่งกล่าวในเชิงว่า “จะใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดระดับสูงสุด” กับกองกำลังติดอาวุธท้องถิ่นที่ก่อเหตุโจมตีอาคารของรัฐบาลกลาง แต่ทวิตเตอร์มองว่า ข้อความดังกล่าวของบูฮารีเข้าข่าย “ส่งเสริม” ความรุนแรง
Nigeria suspended Twitter indefinitely, two days after the platform removed a tweet by President Muhammadu Buhari that threatened to punish regional secessionists in the West African country https://t.co/sD4ZY6nCEG $TWTR pic.twitter.com/OsnOYmGy69
— Reuters (@Reuters) June 5, 2021
ในเวลานั้น รัฐบาลไนจีเรียวิจารณ์ทวิตเตอร์ กลายเป็นแพลตฟอร์มของกิจกรรมที่อาจบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติ และ “น่าสงสัยมาก” ที่ทวิตเตอร์เจาะจงลบข้อความของผู้นำไนจีเรีย ทั้งที่ก่อนหน้านั้นแทบไม่เคยตอบสนองการร้องเรียนของรัฐบาล ซึ่งต้องการให้ทวิตเตอร์จัดการกับบัญชีและข้อความที่ปลุกระดม
ปัจจุบันไนจีเรียเป็นประเทศซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด และมีประชากรมากที่สุดในทวีปแอฟริกา มีสถิติผู้ใช้งานทวิตเตอร์ประมาณ 40 ล้านบัญชี แต่รัฐบาลไนจีเรียกับทวิตเตอร์ “มีเรื่องผิดใจ” กันตั้งแต่เดือน เม.ย.ปีที่แล้ว เมื่อทวิตเตอร์เลือกกานาเป็นสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งแรกในทวีปแอฟริกา ซึ่งไนจีเรียวิจารณ์การตัดสินใจของทวิตเตอร์ว่า เป็นผลจาก “การได้รับข่าวสารบิดเบือน” เกี่ยวกับสถานการณ์ประท้วงเมื่อปี 2563.
เครดิตภาพ : REUTERS