เมื่อวันที่ 18 ก.ค. ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ถึงกรณีศึกษาการแพร่ระบาดของเดลต้า

สามีภรรยาชาวอินเดียคู่หนึ่งเดินทางไปงานแต่งงานที่เท็กซัส สหรัฐอเมริกา ก่อนเดินทางเข้าประเทศมีการตรวจหาเชื้อแล้วได้ผลลบ ก่อนเดินทางมาทั้งคู่ได้รับวัคซีนเชื้อตาย COVAXIN เข็มสองครบมาแล้ว 10 วัน ในงานแต่งงานมีแขกมาร่วมงาน 92 คน จัดงานกลางแจ้ง โดยผู้มาร่วมงานทุกคนต้องได้รับวัคซีนครบโด๊สกันหมด เย็นวันนั้นภรรยาเริ่มบ่นปวดเมื่อยตัวแต่คิดว่าอาจจะเป็นเพราะเหนื่อยจาก jet lag หลังจากนั้น 2-3 วันทั้งสามีและภรรยาเริ่มมีอาการไข้ ไอ จนวันที่ 4 หลังจากงานแต่งงาน ทั้งคู่ตรวจพบว่าติดโควิด สามีอาการหนักขึ้นจนต้องส่งตัวไปรักษาในโรงพยาบาล รักษาตัวอยู่ประมาณ 1 เดือน ก็เสียชีวิต ส่วนภรรยาอาการป่วยหนักเหมือนกันแต่ไม่รุนแรงเท่าสามี

ในงานแต่งมีแขกที่มาร่วมงาน อีก 4 คนที่มีสัมผัสใกล้ชิดกับสามีภรรยาคู่นี้ โดยทั้ง 4 คนได้รับวัคซีน Pfizer หรือ Moderna ครบหมดแล้ว พบว่า ทั้ง 4 คนมีอาการป่วยจากโควิดมากน้อยต่างกัน โดยหนึ่งในนั้นมีอาการปอดอักเสบรุนแรง ต้องรักษาตัวในวันที่ 10 หลังวันแต่งงาน ผู้ป่วยรายนี้ได้รับ Pfizer ครบ

ผลการถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัสจากผู้ป่วยทุกคน พบว่าเป็นไวรัสสายพันธุ์เดลต้า และ มีความใกล้เคียงกันที่บอกได้ว่าน่าจะแพร่มาจากสามี ภรรยาคู่นี้จริงๆ

เคสนี้น่าสนใจครับ เพราะเป็น Breakthrough infection ในกลุ่มคนที่ได้รับวัคซีนครบเป็นจำนวนคลัสเตอร์ค่อนข้างใหญ่ อาการป่วยหนักและเสียชีวิตยังพบได้ในคนที่มีภูมิจากวัคซีนแล้ว และ ไวรัสสามารถแพร่กระจายได้ในพื้นที่เปิด และ อาจจะใช้เวลาอยู่ด้วยกันไม่นาน…***ไม่แน่ใจว่าแขกคนอื่นมีผู้ป่วยแบบไม่มีอาการอีกหรือไม่

เอกสารอ้างอิง
https://www.medrxiv.org/con…/10.1101/2021.06.28.21258780v1