วันที่ 19 ก.ค. นายทิม-พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลโพสต์เฟซบุ๊กวิจารณ์หน่วยงานซ้ำซ้อนของกองทัพ โดยเสนอให้ยุบรวมหน่วยงานระหว่างสำนักปลัดกระทรวงกลาโหมและกองบัญชาการกองทัพไทย

โดยนายพิธาโพสต์ข้อความว่า “หน่วยงานซ้ำซ้อน!? ‘พิธา’ เสนอยุบรวมหน่วยงานระหว่างสำนักปลัดกระทรวงกลาโหมและกองบัญชาการกองทัพไทย ที่ทุกอย่างเหมือนกัน ยกเว้นคำต่อท้ายชื่อที่จะเป็น ‘กลาโหม’ หรือ ‘ทหาร’”

โดยในวาระการพิจารณางบประมาณของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมและกองบัญชาการกองทัพไทยกรณีของกองบัญชาการกองทัพไทยและสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ผมได้ตั้งข้อสังเกตต่อหน่วยงานด้านการบริหาร ธุรการ การเงิน กฎหมาย ของกองทัพที่มีความซ้ำซ้อนกันของสำนักปลัดกระทรวงกลาโหมและกองบัญชาการกองทัพไทย (บก.ทท.) เช่น

สำนักปลัดฯ มี ‘กรมการเงินกลาโหม’ กองบัญชาการกองทัพไทยมี ‘กรมการเงินทหาร’สำนักปลัดฯ มี ‘สำนักงานตรวจสอบภายในกลาโหม’ กองบัญชาการกองทัพไทยมี ‘สำนักงานตรวจสอบภายในทหาร’.สำนักปลัดฯ มี ‘กรมพระธรรมนูญ’ กองบัญชาการกองทัพไทยมี ‘สำนักงานพระธรรมนูญทหาร’.สำนักปลัดฯ มี ‘กรมสรรพกำลังกลาโหม’ กองบัญชาการกองทัพไทยมี ‘กรมกำลังพลทหาร’ เป็นต้น

หน่วยงานด้านการบริหาร ธุรการ การเงิน และกฎหมายเหล่านี้ หากว่าแต่ละเหล่าทัพจะมีหน่วยงานของตัวเองก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะมีขอบเขตงานจำนวนมาก แต่เมื่อหน่วยงานด้านการบริหารและธุรการต่างๆ มารวมกันที่ส่วนกลางของกองทัพหรือกระทรวงกลาโหม ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีหน่วยงานในภาพรวมหน่วยงานหนึ่งที่ลงท้ายว่า “กลาโหม” กับอีกหน่วยงานที่ลงท้ายว่า “ทหาร” .สำหรับกองบัญชาการกองทัพไทยโดยภารกิจแล้วถ้าหากเปรียบเทียบกับสหรัฐฯ อเมริกา ก็คงเทียบได้กับ Joint Forces Command ที่มีหน้าที่อำนวยการปฏิบัติการร่วมเช่นเดียวกัน ซึ่งในปี ค.ศ. 2011 หลังจากวิกฤติ Hamburger Crisis สหรัฐอเมริกาก็ได้ปรับลดงบประมาณกระทรวงกลาโหมและได้ยุบ Joint Forces Command ไปด้วยเหตุผลทางงบประมาณ

นี่แสดงให้เห็นว่าการการยุบและควบรวมกองกำลังไม่ใช่เรื่องที่แปลกหรือเกินความเป็นไปได้แต่อย่างใด และหากประเทศไทยยุบกองบัญชาการกองทัพไทยซึ่งมีความซ้ำซ้อนกับสำนักปลัดกระทรวงฯ ก็จะช่วยให้ประเทศประหยัดงบประมาณไปได้ 1.5 หมื่นล้านบาทต่อปี

ดูโพสต์ต้นทางได้ที่นี่