เมื่อหลายๆ คนได้ทานปลาทู คงมีหลายๆ ครั้ง ที่อาจจะสังเกตเห็นกันบ้างว่า มีแมลงบางอย่างอยู่ในหัวปลาทู จนทำให้ใครหลายคนสะอิดสะเอียน อ้วกแทบพุ่ง แต่หลายคนอาจจะสัยว่า แท้ที่จริงแล้วมันคืออะไร มีผลต่อ “ปลาทู” หรือไม่ เช่นเดียวกับแฟนเพจ @ผู้บริโภค ที่ได้ระบุว่า “บางก็ว่าเห็บปลา บ้างก็ว่าแมงกินลิ้น แท้จริงไม่อันตราย…”

โดยทางเพจผู้บริโภค ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแมลงดังกล่าวว่า ส่วนใหญ่มักจะเจอตัวนี้ในหัวปลา แต่ถ้าจะเจอบ่อย ๆ คงต้องเป็นหัวปลาทู ตัวนี้เรียกว่า “ไอโซพอด” เป็นปรสิตในปลาทะเล บางคนก็กิน บางคนก็เขี่ยออก หน้าตาอาจจะดูน่าเกลียด แต่ไม่มีอันตราย

ทั้งนี้ สำหรับ “ไอโซพอด (isopod)” เป็นสัตว์จำพวกครัสเตเชียน กลุ่มที่มีความหลากหลายมากที่สุดชนิดหนึ่ง พบอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมทุกรูปแบบ เป็นสิ่งมีชีวิตที่คอยกินสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้วและย่อยสลายสารอินทรีย์ (Detritivores) จึงเป็นสิ่งมีชีวิตที่สำคัญต่อการย่อยสารอินทรีย์ในระบบนิเวศ รู้จักกันในชื่อว่า “ตัวกัดลิ้น” (Tongue biter) สัตว์ในกลุ่มไอโซพอดจัดว่าเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่พบฟอสซิลตั้งแต่ในยุคคาร์บอนิเฟอรัส ซึ่งแตกต่างเพียงเล็กน้อยไปจากกลุ่ม Phreatoicidean ยุคใหม่ ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทางซีกโลกใต้..

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก @ผู้บริโภค