สำนักข่าวซินหัวรายงานจากเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน เมื่อวันที่ 18 มี.ค. ว่าทีมวิจัยสัตว์มีกระดูกสันหลัง จากคณะชีววิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยยูนนาน กล่าวว่า การค้นพบดังกล่าว ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารชีววิทยาอีไลฟ์ (eLife) เมื่อวันพุธที่ผ่านมา โดยอธิบายรายละเอียด เกี่ยวกับการวิจัยโครงกระดูกบางส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงกะโหลกศีรษะ แกน ขา และองค์ประกอบของเกราะหุ้ม


รายงานวิจัยตั้งข้อสังเกตว่า อนุกรมวิธานใหม่ ซึ่งมีชื่อว่าอวี้ซีซอรัส คอปชิกกี (Yuxisaurus kopchicki) ระบุขึ้น โดยอ้างอิงจากลักษณะเฉพาะจำนวนมาก (autapomorphies) บริเวณกระดูกส่วนกะโหลกศีรษะ และส่วนถัดจากกะโหลกศีรษะลงไป ซึ่งแตกต่างจากไดโนเสาร์หุ้มเกราะอื่น ๆ เพราะมีการผสานการเปลี่ยนแปลงลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์


โดยทั่วไปเชื่อกันว่า ไดโนเสาร์หุ้มเกราะมีชีวิตอยู่ ในช่วงยุคจูราสสิกตอนปลาย (Late Jurassic) เมื่อ 150 ล้านปีก่อน


ทั้งนี้ ปี้ ซุ่นตง ผู้ร่วมเขียนรายงานวิจัยนี้ กล่าวว่า ฟอสซิลของไดโนเสาร์ข้างต้น ได้รับการค้นพบครั้งแรก ที่หมู่บ้านเจี่ยวเจียเตี้ยน ของเมืองอวี้ซี โดยฝังอยู่ในชั้นหินยุคจูราสสิกตอนต้น (Lower Jurassic) เมื่อ 190 ล้านปีก่อน และเป็นไดโนเสาร์หุ้มเกราะซึ่งเก่าแก่ที่สุด เท่าที่เคยพบในทวีปเอเชีย.

ข้อมูล-ภาพ : XINHUA