อย่างที่ทราบกันดีว่าการรับประทานน้ำตาลในปริมาณมากจะส่งผลเสียต่อร่างกายมากมาย ไม่ว่าเป็นความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน หัวใจ ความดัน และอื่นๆ อีกมายมาย ที่สำคัญยังมีการค้นพบว่า คนที่ติดความหวานของน้ำตาลนั้น เมื่อทำการแสกนสมอง พบว่าตำแหน่งของการติดน้ำตาล มีลักษณะตำแหน่งเดียวกันของการติดยาเสพติด ชนิดโคเคน และมีตำแหน่งที่มีความใกล้เคียงกับการติดแอมเฟตามีน (ยาบ้า)

โดยจะเห็นได้ว่าการติดน้ำตาลของมนุษย์ สามารถเปรียบเทียบการการติดยาเสพติดก็ว่าได้ จากปัญหาดังกล่าวจึงมีการค้นพบสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเกิดขึ้น เพื่อนำมาใช้ในการทดแทนน้ำตาลและยังส่งผลดีต่อสุขภาพที่มากกว่า

“พี่หมอกุ๊กไก่” จึงจะมาพูดคุยกันถึง “สารให้ความหวานแทนน้ำตาล” กัน โดยปัจจุบันถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นขนม เบเกอรี่ อาหาร เครื่อง เป็นต้น ประกอบกับเทรนสุขภาพที่เป็นที่นิยม ทำให้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และสารให้ความหวานยังมีทางเลือกให้ผู้บริโภคให้เลือกใช้ค่อนข้างหลากหลาย เช่น หญ้าหวาน แอสปาเทม อีริไธทอล น้ำตาลหล่อฮังก้วย เป็นต้น

จากการที่สารหวานแทนน้ำตาลเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น ทำให้เริ่มข้อสงสัยว่าสารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลนี้เอง นอกจากประโยชน์ที่ใช้ทดน้ำตาล ในทางกลับกันโทษของสารให้ความทดแทนน้ำตาลนั้นมีอะไรบ้าง โดยที่หลักๆ แล้วที่มีการพูดถึงผลเสียของสารทดแทนน้ำตาล 2 ชนิด ดังนี้

แอสปาร์เทม (Aspartame) เป็นน้ำตาลเทียมที่สกัดจากสารเคมี มีความหวานกว่าน้ำตาลธรรมชาติถึง 200 เท่า โดยปกติแล้วคนทั่วไปอาจจะไม่คุ้นหูกับชื่อของแอสปาร์เทม มากนัก แต่อาจจะคุ้นหูหากได้ยินในคำโฆษณารูปแบบต่างๆ เช่น เครื่องดื่มพลังงานต่ำ หรือเครื่องดื่มไม่มีน้ำตาล เป็นส่วนใหญ่ที่สามารถพบในร้านสะดวกซื้อทั่วๆ ไป ซึ่งสารแอสปาร์เทม นี้เป็นที่โด่งเมื่อ องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดให้แอสปาร์แตมเป็นสารในกลุ่ม 2B หรือสารที่เป็นไปได้ว่าจะก่อมะเร็ง ถึงอย่างไรก็ตามมีการพูดถึงปริมาณที่ที่รับประทานแอสปาร์แตมที่ปลอดภัยคือ 40 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ดังนั้นหากเราไม่ได้ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอสปาร์เทมแทนน้ำเปล่า ก็หายห่วงที่จะเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้เลย

อิริทริทอล (Erythritol) เป็นสารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลที่มีค่าการให้พลังงานเท่ากับ 0 แคลอรี่ แต่มาเป็นที่โด่งดังเมื่อมีการค้นพบว่าปริมาณสารอิริทริทอลในเลือดมีความสัมพันธ์ที่ส่งผลทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะหัวใจวาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ที่มีปริมาณสารอิริทริทอลเลือดสูง มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจวายหรือเป็นโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มมากขึ้นเป็น 2 เท่า แต่ถึงอย่างไรก็ตามในคนที่มีสุขภาพแข็งแรงสามารถรับประทานสารอิริทริทอล (Erythritol) ได้ปกติเนื่องจากสามารถช่วยเรื่องของการควบคุมน้ำหนัก ลดน้ำตาลในเลือด ดีต่อสุขภาพฟัน และอื่นๆ แต่ที่สำคัญควรใช้ในปริมาณพอเหมาะ

ดังนั้น การรับประทานสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ถึงแม้จะมีข้อมูลที่มีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยในโรคต่างๆ แต่หากรับประทานในประมาณที่พอเหมาะยังไม่มีรายงานถึงผลเสียต่อสุขภาพที่ชัดเจน ทั้งนี้การใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลไม่สามารถแก้พฤติกรรมการติดหวานของผู้บริโภคได้นะคะ

……………………………………………………………………
คอลัมน์ : Ladies Bible
โดย หมอกุ๊กไก่-แพทย์หญิง ณัฐชญา ไมตรีเวช