หลังจากที่ทาง Valve ประกาศเเบกรับภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT 7% จากผู้ที่ซื้อเกมบน Steam เเพลตฟอร์มขายเกมออนไลน์ชื่อดังตาม “กฏหมาย พรบ. eService” ก็ยังคงมีหลายคนยังคงสงสัยอยู่ว่าสรุปเเล้ว เรายังคงต้องจ่ายภาษีตัวนี้ หรือยังต้องซื้อเกมบน Steam ในราคาเเพงขึ้นอยู่หรือไม่ ไปหาคำตอบกันครับ

VAT คืออะไร ใครเป็นคนจ่าย เเละทำไมถึงต้องจ่าย?

Value-added tax ที่เเปลเป็นไทยว่า “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” หรือที่คนไทยเรียกกันสั้นๆว่า VAT อธิบายง่ายๆก็คือ ภาษีทางอ้อมที่รัฐต้องการเก็บจากผู้บริโภค โดยกำหนดให้เป็นภาระหน้าที่ของ “ผู้ผลิต“ผู้ประกอบการ” หรือ “ผู้จัดจำหน่าย” เป็นผู้เก็บเเละนำส่ง เพื่อนำภาษีส่วนนี้ไป “พัฒนาประเทศ”

ซึ่งปกติก็จะใช้วิธีการเพิ่ม VAT เข้าไปราคาเดิมของสินค้า สำหรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของไทยนั้นอยู่ที่ 7% เเต่ VAT ที่ปกติเก็บกันอยู่ทุกวันนี้บังคับใช้ได้กับบริษัทที่ทำธุรกิจเเละจดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทยเท่านั้น จุดนี้เลยทำให้รัฐบาลมองเห็นช่องโหว่ของธุรกิจที่ไม่ได้จดทะเบียนในไทยซึ่งส่วนใหญ่เป็นเเพลตฟอร์มที่ให้บริการเป็นเเบบออนไลน์ เช่น Netfix,Spotifly,Epic Games รวมไปถึง Steam ด้วย “พรบ. eService” จึงเกิดขึ้นมาเพื่ออุดช่องโหว่รายได้รั่วไหลตรงนี้ รวมถึงเพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถเเข่งขัน ได้อย่าเท่าเทียมยิ่งขึ้น

สรุปเเล้ว VAT 7% คือสิ่งที่ผู้บริโภคอย่างเราๆต้องจ่ายให้กับรัฐบาลไปพัฒนาประเทศ โดยมี ผู้ประกอบการ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย เป็นตัวกลางในการจัดเก็บเเละนำส่งเท่านั้น

สรุปเเล้วเรายังต้องจ่ายภาษีบน Steam อยู่ไหม?

“เรายังต้องจ่ายอยู่นะครับ” เเต่ที่เห็นว่าราคาเกมไม่เเพงขึ้นเพราะ Valve ใช้ระบบบวกภาษีของเเต่ละประเทศในการตั้งราคาขายเกมบน เเพลตฟอร์ม อยู่เเล้ว ฉะนั้นสิ่งที่จะถูกหักไปเเทนที่คือ รายได้ของ Valve เเละ ผู้พัฒนา ซึ่งคราวนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความปังของเกมที่ผู้พัฒนาเหล่านั้นผลิตออกมาเเล้วว่าจะดังพอที่จะขายได้คืนทุนหรือเปล่า ? (ใครสงสัยสามารถอ่าน นโยบายของ Steam ได้ที่นี่)

หลังจากนี้จะเกิดอะไรขึ้น?

เเน่นอนว่าประกาศคราวนี้ทำให้ Valve เเละ Steam ได้ใจคนไปค่อนข้างเยอะเพราะหลายค่ายก็ต่างขึ้นราคาเกมในเเพลตฟอร์มตัวเองไปกันถ้วนหน้า(เเถมบางค่ายก็เพิ่มเเต่ไม่เเจ้งด้วย) เเต่ในอนาคตหากผู้พัฒนาไม่สามารถเเบกรับความเสี่ยงนี้ได้อีก คือถ้าเกมไม่ปังจนเจ๊ง ก็อาจจะมีการใช้วิธีเพิ่มราคาเกมให้สูงขึ้นทบในส่วนของ VAT ที่ต้องเเบกรับเเทน (โดยเฉพาะเกมเเนวIndies) เเต่อาจจะไม่เยอะมากจนผิดสังเกต

อีกสิ่งนึงที่อาจจะเกิดขึ้นคืออาจจะเห็นการจัดโปรโมชันลดราคาที่บ่อยขึ้น เเต่จะไม่ได้ลดเเบบจัดหนักจัดเต็มเหมือนเเต่ก่อน เพราะการลดราคาก็ยังถือว่าเป็นช่วงที่จะทำรายได้กระตุ้นยอดขายให้กับเกมๆนั้นได้มากที่สุด เเต่จะลดเยอะก็ไม่ได้เพราะไม่งั้นจะกลายเป็น “ขาดทุน” เเทน

เก็บหรือไม่เก็บไม่ใช่ปัญหา” ประเด็นอยู่ที่ว่าเก็บเเล้วจะได้อะไรคืนมา?

จากหลายความเห็น ส่วนใหญ่นั้นเห็นด้วยว่าการเก็บภาษี e-service มีความจำเป็น เเต่ประเด็นที่หลายคนยังตั้งคำถามคือว่า เก็บไปได้เเล้วเราจะได้อะไรกลับคืนมา เเละมาในรูปแบบไหน เพราะหลักการของภาษีคือการจ่ายเงินเพื่อให้รัฐทำงานเเลกสวัสดิการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตกลับคืนมา เเถมยังต่อท้ายด้วยความเห็นเชิงว่า รัฐบาลนี้ยังมีคำครหาเกี่ยวกับการ“บริหารจัดการภาษี” นั้นก็ส่งผลให้ชาวเกมเมอร์นั้นมีความเคลือบเเคลงสงสัยอยู่

หากเงินภาษีที่เก็บไปถูกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเเละคุ้มค่าจริง ๆ จะเก็บ 7 เปอร์เซ็นต์ 17 เปอร์เซ็นต์เเบบในต่างประเทศ หรือมากกว่านั้นคงจะไม่ใช่ปัญหาเเต่อย่างใด – มิตรสหายท่านนึงได้กล่าวไว้

Reference : Steam Taxes FAQ

——————————————–
GAMESTALK BY INSIDE THE GAME
คอลลัมน์โดย Wacther
ติดตามรีวิวเกมส์ เเละ อื่นๆที่น่าสนใจได้ที่ : INSIDE THE GAME