เรียกได้ว่ากำลังกลายเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่หลายให้ความสนใจกันเป็นจำนวนมาก ภายหลัง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) พร้อมด้วย เครือข่ายภาพยนตร์ ได้จัดเทศกาลภาพยนตร์ “กรุงเทพฯ กลางแปลง” ขึ้นโดยหวังว่าจะนำรอยยิ้ม ความสุข ความหวังกลับมาให้คน กทม. ต่อจากเทศกาลดนตรีในสวน

วันนี้ “เดลินิวส์ออนไลน์” อยากจะพาทุกคนมาย้อนทำความรู้จักกับเรื่องราวของ “หนังกลางแปลง” ที่ในยุคปัจจุบันกำลังจะเลือนหายไปตามกาลเวลา ทำให้เด็กๆ ยุคใหม่อาจจะยังไม่รู้ว่าหนังกลางแปลงนั้น เป็น “มหรสพยามค่ำคืน” ที่ยุคหนึ่งเคยเฟื่องฟูมาก และเป็นที่นิยมในประเทศไทย ว่าแต่เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ตามมาอ่านกันได้เลย

สำหรับ “หนังกลางแปลง” เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของความบันเทิงที่คู่เคียงกับสังคมไทยมานาน โดยเฉพาะชาวบ้านร้านตลาด และชาวชนบทที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ไม่ว่า ณ ที่ใดก็ตาม เมื่อมีการตั้งจอหนังบนลานกว้างและเปิดเพลงดังกระหึ่มในยามเย็น เสียงเพลงที่ดังกังวานนั้น เหมือนจะปลุกให้ผู้คนเกิดความคึกคักมีชีวิตชีวา ก่อนที่จะพากันออกมานั่งหาความสุขสำราญดูหนังกลางแปลงในค่ำคืนนั้น

ก่อนที่จะเอ่ยถึงเรื่องราวของหนังกลางแปลง เราต้องพามาย้อนไปถึงเรื่องวงการ “ภาพยนตร์ไทย” เสียก่อน โดยจุดเริ่มต้นภาพยนตร์เริ่มเข้ามาในสยามตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยคณะละครเร่ชาวฝรั่งนามว่า เอส จี มาร์คอฟสกี (S.G. Marchovsky) ได้นำภาพยนตร์ฝรั่งเข้ามาจัดฉายสู่สายตาสาธารณชนครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2440 ณ โรงละครหม่อมเจ้าอลังการนับตั้งแต่นั้นมาภาพยนตร์ได้กลายเป็นมหรสพใหม่

ภาพยนตร์เรื่อง นางสาวสุวรรณ ถือว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีนักแสดงไทยทั้งหมด

ส่วนภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกถ่ายทำในเมืองไทย คือ เรื่อง “นางสาวสุวรรณ” ผู้สร้าง คือ บริษัทภาพยนตร์ ยูนิเวอร์ซัล ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ผู้แสดงทั้งหมดเป็นคนไทย พ.ศ. 2470 ภาพยนตร์เรื่อง “โชคสองชั้น” เป็นภาพยนตร์ขนาด 35 มิลลิเมตร ขาว-ดำ ไม่มีเสียง และ ต่อมาได้จัดทำ เว็บดูหนังออนไลน์ ได้รับการยอมรับให้เป็นภาพยนตร์ประเภทเรื่องแสดงเพื่อการค้าเรื่องแรกที่สร้างโดยคนไทย

ในช่วงหลัง พ.ศ. 2490 ถือเป็นช่วงยุคเฟื่องฟูของภาพยนตร์ไทย สตูดิโอถ่ายทำและภาพยนตร์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น หลังจากนั้นประเทศไทยเข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถือเป็นช่วงซบเซาของภาพยนตร์ไทย เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง กิจการภาพยนตร์ในประเทศไทยค่อย ๆ ฟื้นคืนกลับมา ได้เปลี่ยนไปสร้างเป็นภาพยนตร์ขนาด 16 มิลลิเมตรแทน

ด้วยความนิยมในการรับชมภาพยนตร์ที่เพิ่มมากขึ้นผนวกกับข้อจำกัดในเรื่องการฉายภาพยนตร์ที่ต้องฉายในสถานที่ปิด อาทิ โรงมหรสพ โรงแรม หรือโรงละครทำให้คณะหนังเร่เริ่มปรับและดัดแปลงรูปแบบการฉายหนังเพื่อให้คนดูเข้าถึงได้มากขึ้น จึงนำมาสู่การฉายหนังกลางแปลงมหรสพบันเทิงยามค่ำคืนของชาวสยาม

นอกจากนี้ หนังกลางแปลงเริ่มเฟื่องฟูขึ้นในช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงระยะเวลานั้นสหรัฐอเมริกา มุ่งหวังให้ไทยเป็น “ป้อมปราการต่อต้านคอมมิวนิสต์” จึงให้ความช่วยเหลือทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการทหาร ส่งผลให้หนังกลางแปลงกลายเป็นเครื่องมือชิ้นหนึ่งที่ภาครัฐและภาคเอกชนต่างใช้เพื่อประชาสัมพันธ์ตนเอง โดยจะเห็นได้จาก หน่วยเคลื่อนที่ประชาสัมพันธ์ที่โฆษณาข่าวสารจากรัฐและหนังขายยาที่โฆษณาและขายผลิตภัณฑ์ของบริษัทตามหมู่บ้านและจังหวัดต่างๆ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม มนต์เสน่ห์ของหนังกลางแปลงนอกจากจะมีเครื่องฉายหนังจอภาพและนักพากย์หนังสดแล้ว มนต์เสน่ห์อีกอย่างหนึ่งคือวิธีการรับชมหนังกลางแปลงที่ต้องชมในพื้นที่โล่งกว้างปูเสื่อหรือผ้าไว้สำหรับนั่งสำหรับนอนพร้อมด้วยของขบเคี้ยวอย่างถั่วแระหรืออ้อยควั่น และเสียงพูดคุยกันของครอบครัวเพื่อนหรือคู่รักที่มานั่งตากน้ำค้างเพื่อรับชมหนังกลางแปลง

ในด้านของชื่อที่ใช้เรียกหนังกลางแปลงไม่ว่าจะเป็น “หนังล้อมผ้า/รั้ว หนังเร่ หนังขายยา หน่วยประชาสัมพันธ์” เป็นชื่อเรียกที่แสดงลักษณะเฉพาะ เช่น ลักษณะเด่นของ “หนังล้อมผ้า” คือการฉายหนังโดยล้อมผ้าหรือสังกะสีรอบๆ จอหนัง และเก็บค่าเข้าชมจากคนดู “หนังขายยา” คือ การฉายหนังให้ชมฟรีสลับกับการขายสินค้า เป็นต้น แม้จะมีหลากหลายชื่อเรียก แต่ก็มีอยู่ 3 สิ่งที่เหมือนกันคือ 1.หนังกลางแปลงที่ต้องฉายในเวลากลางคืน 2.อุปกรณ์ที่ใช้ในการฉายหนังได้แก่ จอผ้าสีขาวขนาดยักษ์ ลำโพงกระจายเสียง และเครื่องฉายหนัง และ 3.หนังและนักพากย์หนังอันเป็นของคู่กันกับหนังกลางแปลง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของหนังกลางแปลงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้บางสิ่งบางอย่างจะเริ่มหายไปอย่างการพากย์สด หรือการฉายหนังด้วยเครื่องฉายหนัง 16 มม. หรือ 35 มม. ก็ตาม

ในปัจจุบันหนังกลางแปลง มหรสพบันเทิงยามค่ำคืนหรือมหรสพแห่งท้องทุ่งค่อยๆ หายไป เหลือเพียงไม่กี่หน่วยเท่านั้นที่ยังคงจัดฉายอยู่ กลายเป็นเพียงมหรสพเพื่อใช้ในการแก้บนสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือฉายตามงานวัด

ทั้งนี้ แม้ในวันที่โทรทัศน์เริ่มเข้ามาเป็นความบันเทิงหลักภายในบ้าน รวมไปถึงแผ่น วีซีดี ดีวีดี โรงภาพยนตร์มัลติเพล็กซ์ หรือแม้กระทั่งแต่การดูหนังผ่านช่องทางออนไลน์อย่างที่หลายคนทำอยู่ในทุกวันนี้ ทำให้มีการว่าจ้างหนังกลางแปลงลดน้อยลง และถูกลดบทบาทลงเหลือเพียงไม่กี่หน่วยเท่านั้น ที่ยังคงจัดฉายอยู่ จนบางครั้งกลายเป็นเพียงมหรสพเพื่อใช้ในการแก้บนสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือฉายตามงานวัด

ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมภาพยนตร์ก็มุ่งไปที่ระบบดิจิทัล เนื่องจากข้อกำหนด DCI Compliance (การปฏิบัติตามข้อตกลงขององค์กร DCI) ของกลุ่มผู้ผลิตภาพยนตร์ในประเทศอเมริกา ซึ่งกำหนดมาตรฐานคุณภาพของไฟล์ภาพยนตร์เพื่อฉายในระบบดิจิทัล ส่วนคนฉายหนังกลางแปลงในประเทศไทย พลอยผลกระทบสภาวะ “ขาดแคลนฟิล์มใหม่” กล่าวคือภาพยนตร์ยุคหลัง แทบจะไม่ได้ทำฟิล์มสำหรับฉายกลางแปลงอีกแล้ว..

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ : พิพิธภัณฑ์หนังกลางแปลง (ศูนย์อนุรักษ์ภาพยนตร์ย้อนยุค), silpa-mag,