กระแส “แชตจีพีที” (ChatGPT) ถือว่ามาแรงมาในช่วงที่ผ่านมา เรียกว่าจะเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่จะมา “ดิสรัปชั่น” ให้เกิดความเปลี่ยนแปลในหลายวงการ

ซึ่ง “โอเพ่นเอไอ” บริษัทผู้พัฒนา “แชตจีพีที” (ChatGPT) ก็ได้พยายามพัฒนาให้ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์นี้ ออกมาในเวอร์ชั่นใหม่ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์มากที่สุด

ขณะเดียวกัน บริษัทไอทีระดับโลก ต่าวก็พยายาม พัฒนา แชตบอทเอไอ ออกมาแข่ง ไม่ว่าจะเป็น กูกิล, เมตา, อาลีบาบา และ Baidu ฯลฯ

แน่นอนว่าเมื่อบริษัทระดับโลก ทั้งจากตะวันตก และจีน ต่างเร่งพัฒนาเทคโนโลยีนี้ออกมา ต่อไปจะเกิดการใช้งานอย่างแพร่หลายแน่นอน!!

อย่างไรก็ตาม ศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ (AI Governance Clinic) หรือ AIGC ของ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ตด้า ก็ระบุว่า ChatGPT เป็น AI (เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์) ในรูปแบบหนึ่ง ย่อมาจากคำว่า “Chat” และ “Generative Pre-training Transformer”

ถือเป็นโมเดลภาษาที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถใช้ในการตอบคำถามหรือข้อสงสัยได้ครอบคลุมมากขึ้น แต่ก็มีสิ่งที่ “ควร” และ “ไม่ควร” เมื่อต้องใช้  ChatGPT

โดย 5 สิ่งที่ทำได้…เพื่อให้งาน ปังมากขึ้น คือ​

1. ใช้เป็นแนวทางการวิจัย (Research Guidance) ใช้เป็นเหมือนผู้ช่วยในการอ่านและสรุปทบทวนวรรณกรรม ตลอดจนแนวทางหรือโครงสร้างงานวิจัยที่ควรจะนำเสนอ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายหรือตอบโจทย์ปัญหา​

2. ใช้ให้ไอเดีย ช่วยออกความคิดเห็น (Brainstorming) ใช้เพื่อรวมรวมไอเดียและสังเคราะห์ความคิดที่เป็นประโยชน์ประกอบการประชุมระดมความคิดเห็น​

3. ใช้ช่วยอธิบายสิ่งที่ไม่เข้าใจ (Knowledge) ช่วยตอบคำถามหรืออธิบายในสิ่งที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจ หรือหาความเชื่อมโยง และประเด็นที่มีความซับซ้อน ​

4.ใช้ช่วยพิสูจน์อักษรปรับปรุงถ้อยคำ (Proofread) ช่วยปรับปรุงหรือแก้ไขงานเขียนให้มีความเหมาะสม ทางการมากขึ้น​

5. ใช้ช่วยออกแบบและสร้างสรรค์เนื้อหา (Creative Content) ช่วยสนับสนุน สร้างผลงานเชิงสร้างสรรค์อย่างเหมาะสม​

 ส่วน 5 สิ่งที่อย่าทำ หรือ ต้องระวังเมื่อใช้ ChatGPT​ คือ

1. อย่าใช้เพื่อเขียนงานแทนเรา (Copy & Paste) ไม่ควรใช้เพื่อสร้าง หรือเขียนงานแทน แล้วนำงานที่เขียนได้ไปใช้หรืออ้างอิงเป็นงานของตนเอง์ ​

2. อย่าเชื่อข้อมูลแบบสุ่มสี่สุ่มห้า ตรวจสอบก่อนเสมอ (Check) ไม่ควรนำผลลัพท์ที่ได้ไปใช้ โดยไม่ตรวจสอบความถูกต้อง ความเหมาะสม หรือใช้ทั้งๆ ที่ไม่สามารถอ้างอิงข้อมูลหรือแสดงแหล่งที่มาได้​

3. อย่าพิมพ์ข้อมูลสำคัญ ข้อมูลความลับของหน่วยงานลงไป (Restricted/Confidential) ไม่ควรใช้ในการป้อนข้อมูลสำคัญ ข้อมูลที่เป็นความลับ ข้อมูลที่มีความอ่อนไหว และข้อมูลที่จำกัดการเข้าถึงขององค์กรลงไป​

4. อย่าสอบถามหรือให้ข้อมูลที่ผิดจริยธรรม (Ethics) ไม่ควรใช้ในการสอบถามหรือให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องที่ผิดจริยธรรม ศีลธรรม และขัดต่อวัฒนธรรมอันดีของสังคม​

5. อย่าสอบถามหรือให้ข้อมูลในเรื่องที่ผิดกฎหมาย (Regulation) ไม่ควรใช้ในการสอบถามหรือให้ข้อมูล ตลอดจนนำไปใช้เพื่อการหลอกลวง ฉ้อโกง และสิ่งที่ผิดกฎหมาย   ​

เมื่อรู้แล้วว่าควรใช้งาน ChatGPT อย่างไร อะไร ควร-ไม่ควร ก็สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางกันได้ เพื่อให้การใช้งานเทคโนโลยีนี้ ก่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด!!