เมื่อวันที่ 21 ก.ค.ที่ผ่านมา มีการนำเสนอผลงานของกลุ่มผู้รับเข้ารับการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตร ผู้บริหารระดับสูงด้านการสร้างคุณค่า นวัตกรรมสังคม และความรับผิดชอบสังคมอย่างยั่งยืน รุ่นที่ 1 (Kasetsart University Value Creation & Innovation for Professionals and Sustainability : KU VIPS 1)  จัดโดยคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  เรียกสั้น ๆ ว่า KU-VIPS รุ่นที่ 1

หลักสูตรนี้ ผู้เข้าร่วมอบรมมาจากหลากหลายวิชาชีพแต่มีจุดสนใจร่วมกัน คือ การสร้างสังคมให้มีความยั่งยืน ภายใต้การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในมุมมองต่าง ๆ

ตลอดระยะเวลา 4 เดือนที่ผ่านมา ผู้เข้ารับการอบรมได้ร่วมกันสรุปบทเรียนเพื่อสังเคราะห์มุมมองที่หลากหลาย …โดยท้ายที่สุด พวกเราสรุปออกมาได้เป็นบันไดสามขั้นสู่ภาวะผู้นำที่ตอบสนองต่อความยั่งยืน หรือ Sustainable Leadership

♻️Three steps for Sustainable Leadership

♾️ Forum ➡️ VIPS Framework & Sustainovation➡️ Sustainable Leadership

1️⃣ บันไดขั้นที่หนึ่ง…Forum

Forum เป็นการระดมความคิดเห็นที่หลากหลายจากประสบการณ์ที่แตกต่างกันโดยมองในมิติการสร้างความยั่งยืนทั้งจากภาครัฐ เอกชน วิชาการ สื่อมวลชน และประชาสังคม

การทำงานร่วมกันภายใต้ห้าโครงการต้นแบบ (Prototype projects) ได้สังเคราะห์องค์ความรู้เพื่อสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม หรือ Social innovation ทำให้ห้ากลุ่มที่ร่วมกันพัฒนาโครงการต้นแบบสามารถเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ SDGs ทั้ง 17 เป้าหมายได้อย่างลงตัว

“กลุ่มกรันเกรา” นำเสนอ Pure Planet Initiative ที่ว่าด้วยการจัดการขยะภายในครัวเรือนอย่างยั่งยืนโดยนำ Application ที่ชื่อ Recycle day มาใช้ซึ่งตอบสนองกับ SDGs หลายเป้าหมาย เช่น SDG5, 8, 11, 12, 13 และ 17 เช่นเดียวกันเป็นการประยุกต์ใช้ Digital Platform สามารถตอบโจทย์เรื่องความยั่งยืนในการจัดการขยะครัวเรือนได้…โดยนำแนวทางของ Pure Planet ไปใช้ทดลองในพื้นที่แฟลตทหารซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ทั้งนี้ต้นแบบดังกล่าวคล้ายคลึงกับ WasteApp ในโปรตุเกส บราซิล ที่นำ WasteApp มาช่วยจัดการขยะภายในครัวเรือนได้อย่างยั่งยืน

“กลุ่มชัยพฤกษ์” นำเสนอโครงการส่งเสริมความยั่งยืนของระบบนิเวศน์ปะการังในอ่าวแสมสารและป้องกันขยะทะเล สอดคล้องกับ SDG14 โดยลงพื้นที่ทั้งหมดทดลอง 4 ครั้ง เพื่อเข้าใจถึงปัญหาและผลกระทบขยะที่ตกค้างในทะเลและแนวปะการัง…การลงพื้นที่จริงทำให้สามารถ Identify ปัญหาและหาแนวทางนำเสนอที่ยั่งยืน โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมสร้างเมล็ดพันธุ์ในกลุ่มเยาวชนพิทักษ์ทะเลแสมสารและสานต่อโครงการนี้ต่อด้วยการขับเคลื่อนของคณะวิทยาศาสตร์ มก.วิทยาเขตศรีราชา

“กลุ่มไผ่สีสุก” นำเสนอโครงการริเริ่มทหาร GAIN 1000 ดี ภายใต้แนวคิด Good boy➡️ Good soldier➡️ Good man ที่ตอบโจทย์ความยั่งยืนทั้งเรื่อง Need, Skill และ Social impact สอดคล้องกับ SDG 3,4,8 11 และ 17 โดยกลุ่มไผ่สีสุกได้เลือก Prototype area ที่ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี โดยโครงการเน้นกิจกรรมการ Upskill ทางช่างให้ทหารเกณฑ์สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวเองเพื่อช่วยเหลือชุมชนโดยเน้นการซ่อมแซมบ้านผู้สูงอายุ

“กลุ่มทรงบาดาล” นำเสนอ Happy Home For All ซึ่งเป็นอีกโครงการสร้าง Social innovation ให้กับกลุ่มเปราะบางซึ่งการใช้ Application บ้านสร้างสุขมาช่วยจับคู่หาทั้ง Demand และ Supply การช่วยเหลือซึ่งกันและกันทำให้สะท้อนภาพการนำ Digital platform มาช่วยสร้างสังคมที่ยั่งยืนมากขึ้น… โดยพื้นที่ทดลองได้ใช้เทศบาลตำบลดอนขมิ้น อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี ทั้งนี้ Application Happy Home นับเป็น App ที่ออกแบบมาได้อย่าง Users’ friendly กล่าวคือ ตอบโจทย์ทั้งผู้ต้องการความช่วยเหลือ และผู้ต้องการสนับสนุนทั้งบริจาคเงิน สิ่งของ แรงงาน…แนวคิดนี้ตอบโจทย์ SDG 11 เรื่อง Sustainable Cities

“กลุ่มขนุน” นำเสนอนวัตกรรมการบริหารจัดการพื้นที่เหมืองแร่แบบ Sustainable mining ซึ่งนำเสนอโมเดลที่เรียกว่า Naphalarn Model ที่นำแนวคิด 4T มาช่วยสร้างนวัตกรรมการพัฒนาพื้นที่เหมืองแร่ที่นำไปสู่ Transfer➡️ Tranform➡️ Translate➡️ Transition ซึ่งตอบความต้องการของทั้งกองทุนพัฒนาเหมืองแร่ เหมืองแร่เก่า และชุมชน โดย Prototype Area อยู่ที่ ต.หน้าพระลาน จ.ลพบุรี ทั้งนี้กลุ่มขนุนใช้แนวคิด Triprofit หรือ Profit People และ Planet ซึ่งเป็นแนวคิด Social Innovation Village Model ที่ประยุกต์ใช้กับนวัตกรรมกระบวนการบริหารจัดการพื้นที่เหมืองแร่อย่างยั่งยืน

กล่าวโดยสรุปแล้ว จุดยึดโยงที่คล้ายกันของทั้งห้ากลุ่ม คือ การสร้าง Social innovation ที่นำไปสู่ Sustainovation โดยทั้งห้ากลุ่มตอบโจทย์ SDGs ได้หลากหลายเป้าหมาย แต่จุดที่น่าสนใจทุกกลุ่มตอบเรื่อง SDG17 หรือ การบูรณาการความร่วมมือของทุกกลุ่มเข้าด้วยกันเป็น Public Private Partnership

อาจกล่าวได้ว่า บันไดขั้นแรกจาก Forum ที่ทั้งห้ากลุ่มของ KU-VIPS รุ่นที่หนึ่งร่วมกันลงมือทำผ่านนวัตกรรมเพื่อพัฒนาสังคมนำไปสู่บันไดขั้นที่สองที่เรียกว่า VIPS Framework ซึ่งสร้างสิ่งที่เรียกว่า Sustainovation

โปรดติดตามตอนที่สอง

Dr. Sutthi Suntharanurak และทีมวิชาการ KU-VIPS รุ่น